ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    น้ำตาสีเลือด ภาค อวสานอยุธยา

    ลำดับตอนที่ #2 : เกริ่นนำ (แก้ไขเรียบร้อยแล้ว 100%)

    • อัปเดตล่าสุด 26 มี.ค. 52


    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า 'สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา

    กาลเวลาผ่านไป แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เต็มไปด้วยความสงบสุข บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ทั้งการค้าและวรรณคดี รุ่งเรืองมาก ในยุคนี้ บุคคลสำคัญในรัชสมัยนี้ อันได้แก่ โกษาเหล็ก แม่ทัพผู้กล้า โกษาปาน ราชทูตลิ้นทอง ผู้เจริญไมตรีกับฝรั่งเศส ในสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และ ศรีปราชญ์ พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 31 ปี พระชนม์มายุได้ 56 พรรษา

    ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย พระองค์ทรงสวรรคต ขณะที่ทงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า กรมหลวงโยธาเทพ พระเพทราชาราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา องค์ที่ 28 พระนามว่า สมเด็จพะเพทราชา หรือ พระนามเต็มว่า  พระบาทสมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม  

    เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงประหารผู้ที่เป็นศัตรูกับพระองค์ จนหมดสิ้น 

    เรื่องราวต่อจากนี้ คือ เรื่องราวในจินตนาการของผู้เขียน แต่อาจจะมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แฝงอยู่ และจะเขียนเป็นตัวดำ แสดงถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

    เวลาเดียวกันนั้น ขุนนางชั้นสูงผู้หนึ่ง หลบหนีออกมาได้ และอพยพครอบครัว และ วงศ์ตระกูล ออกไปจากราชธานี เมื่อสิ้นแผ่นดินพระเทราชาแล้ว เขาก็กลับมา ตังรกรากในราชธานีเช่นเดิม และใช้ชีวิตอย่างสงบ พร้อมกับส่งลูกหลานเข้ารับราชการ 


    รัชกาลสมเด็จพระจ้าเสือ กษัตริย์องค์ที่ 29 ได้เกิด บุคคลสำคัญ คือ พันท้ายนรสิงห์ ผู้ซึ่งรับโทษอาญาแผ่นดิน เพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎหมาอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องด้วย  พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่ง และเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือ จะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตน แทนและขอรับโทษตามราชประเพณีพระองค์จึงมีรับสั่งให้ ปลูกศาลเพียงตาแล้ว ประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วย

    ทรงครองราชย์ได้ 22 ปี พระชนม์มายุ 47 พรรษา

    รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กษัตริย์องค์ที่ 30 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ โดยพระนามที่เป็นที่รู้จักกันคือ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ นั้นมาจาก
    พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งเป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง มีเรื่องราวที่น่าสนใจคือ มีการแต่งเรือสำเภาบรรทุกสินค้าไปค้าขายที่เมืองท่ามะริด ไปจรดถึงทวีปแอฟริกาตอนเหนือ มีการขุดคลองสำคัญอันเป็นเส้นทางคมนาคม คือ " คลองมหาไชย " และ " คลองเกร็ดน้อย " มีการแข่งกันสร้างวัด ระหว่างพระองค์กับพระอนุชา คือ " วัดมเหยงค์ " และ " วัดกุฏีดาว " มีการเคลื่อนย้ายพระนอนองค์ใหญ่ของ"วัดป่าโมก" เพื่อให้พ้นจากการถูกน้ำเซาะตลิ่ง เป็นต้น

    พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดเสวย ปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษ คือ ปรับเป็นเงิน ๕ ตำลึง หรือ ๒o บาท

    ปลายรัชสมัย มีการแย่งชิงราชสมบัติอย่างรุนแรง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๑ ปี ระหว่างพระราชโอรส ๒ พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคมะเร็งที่พระชิวหาและพระศอ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๖ 

    รวมระยะเวลาครองราชย์ ๒๕ ปี 


    และแล้ว ก็มาถึง สมัยแผ่นดินกษัตริย์องค์ที่ 31 สมเด็จพระจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระบาทสมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ
    หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3


    ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมือง แม่ทัพกรุงศรีอยุธยา ยศหลวงพิชัยสนธยา มีเรื่องมีราวกับ เปล่ง หลวงนคราพิเชษฐ์ เนื่องด้วยคนทั้งคู่ ไม่ถูกกัน มาตั้งแต่เด็ก พอมาเป็นแม่ทัพรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ก็จ้องหมายจะเล่นงานกันตลอดเวลา เมื่อ เมือง หมดความอดทน  จึงนัดวันตัดสินแพ้ชนะกัน โดยที่เมือง ท้าต่อสู้ตัวต่อตัว กับ เปล่ง แต่หารู้ไหมว่า เปล่ง ได้ซ่อนกลอุบายไว้

     จนกระทั่ง หลวงพิชัยสนธยา หรือ เมือง เพลี่ยงพล้ำ ถึงแก่ความตายในที่สุด เหตุเพราะ ความเจ้าเล่ห์ ของ เปล่ง นั่นเอง
     
    เจ็ดปีต่อมา ให้หลังจากนั้น..............

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×