ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Legendary Encyclopedia สารานุกรมสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #3 : มังกรจีน (Dragon of China)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.46K
      6
      28 ต.ค. 52

    มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: ; อักษรจีนตัวย่อ: ; พินอิน: lóng) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่ง จะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง

    เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด ไชโอะ (chiao) หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย

    มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า เชด เม่อ (ch’ih muh) แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้ ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือ สัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร

     

    ตำนานมังกรจีนโบราณ


    ตำนานมังกร จีนโบราณมีอายุยาวนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งลักษณะรูปร่างของมังกรจีนนั้น สุดแล้วแต่นักวาดรูปจะจินตนาการเสริมแต่งออกมา การขายจินตนาการของนักวาดรูปจะเขียนมังกรออกมาโดยยึดลักษณะรูปแบบที่เล่าต่อ ๆ กันมาคือ มังกรจีนจะมีลักษณะลำตัวที่ยาวเหมือนงู มีเกล็ดสีเขียว นัยน์ตาสีแดง มีหนวดและเขาอย่างละคู่ มีขา 4 ขาและกงเล็บที่แข็งแรง มังกรจีนโบราณถูกยกย่องว่าเป็นสัตว์เทพเจ้าซึ่งชาวจีนเคารพนับถือ เป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าในลัทธิเต๋า ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสวรรค์ มังกรจีนที่มีกงเล็บ 5 เล็บ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ของ จีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มังกรบางตัวจะถือไข่มุกเม็ดใหญ่อยู่ที่ขาหน้า ครั้งหนึ่งคนเคยคิดว่าไข่มุกคือไข่ของมังกร มังกรบางชนิดวางไข่ในน้ำไหล

    มังกรจีนในตำนานนั้น สามารถที่จะทำตัวเองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับจักรวาลหรือมีขนาดเล็กเท่ากับหนอนไหมได้ และในบรรดาสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของจีน มังกรจีนถือเป็นสัตว์แห่งเทพเจ้า ได้รับความนับถือมากที่สุด มังกรจีนมีลักษณะนิสัยที่เมตตากรุณา เป็นมิตร ทะเยอทะยาน และมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ยังมีความฉลาด มีปัญญามาก มีความเด็ดขาด และมีพลัง มังกรจีนจึงเป็นที่ปรึกษาของผู้นำในด้านต่าง ๆ แต่มังกรจีนมีทิฐิในตัว จะถือตัวว่าถูกหมิ่นประมาทเมื่อผู้นำไม่ยอมทำตามคำแนะนำของมังกรจีน หรือเมื่อผู้คนไม่ให้เคารพความสำคัญ มังกรจีนจะทำให้ฝนหยุดตก หรือเป่าเมฆดำออกมาซึ่งจะนำพาพายุ และน้ำท่วมมาให้ มังกรตัวเล็กก็ทำเรื่องยุ่งยากเล็ก ๆ เช่นทำหลังคารั่ว หรือทำให้ข้าวเกิดความเหนอะหนะ

    มังกรจริง ๆ ในปัจจุบันก็คือซากของไดโนเสาร์ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งกลายเป็นหิน ไข่ไดโนเสาร์ถูกค้นพบในหลายพื้นที่ในประเทศจีน ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีไดโนเสาร์มากที่สุดในโลกในสมัยโบราณใช้ในการประกอบเป็นยาสมุนไพร เรียกกันว่า "ยากระดูกมังกร" ส่วนไข่ของมังกรจีนนั้นในสมัยเฉียนหลง ถือเอาไข่มังกรจีนเป็นเครื่องรางประจำราชสำนักภายในพระราชวังปักกิ่ง แต่ต่อมาเมื่อพระราชวังปักกิ่งแตก ไข่มังกรจีนก็ตกทอดมาจากประเทศจีนมาอยู่ที่ประเทศไทย

    ซึ่งไข่มังกรที่ตกทอดมาอยู่ภายในประเทศไทยนั้น มีตำนานเล่าขานกันมาแต่โบราณว่า เมื่อคณะทูตหรือคณะผู้แทนจากประเทศจีนใช้เรือไฮจี่โดยการนำของ ยังชีขี มีผู้ติดตามมาด้วยจำนวน 449 คน มีทหารประจำเรือ 279 คน เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งอภิเศกดุสิต เมื่อเวลาบ่ายโมงของวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยมีพระยาบริบูรณโกษากรเข้า เฝ้าฯ และมอบหมายให้พระยาบริบูรณโกษากร หรือ ฮวด โชติกะพุกกณะ หรือเจ้าคุณกิมจึ๋ง เป็นผู้จัดการประสานงาน และเลี้ยงต้อนรับในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

    ตามลักษณะของไข่มังกรที่สืบทอดกันมาเป็นตำนานนั้น มีลักษณะคล้ายกับลูกแก้วหินผลึกคล้ายคลึงกับลูกแก้วของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดของประเทศไทยแต่ถูกตกแต่งด้วยการเลี่ยมและห่อหุ้มคล้ายกับห่อด้วยแก้วนั่นเอง ทำให้เรื่องของไข่มังกรจีนกลายเป็นเรื่องที่กล่าวขานกันพอสมควรในสมัยนั้น

    กำเนิดมังกรจีน


    ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และมังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง" ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการออกเสียงของในแต่ละท้องถิ่น ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และเพศชาย

    เนื่องจากมังกรจีนเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้าใน สรวงสวรรค์และเป็นตัวแทนของจักรพรรดิ ผู้เป็นโอรสจุติมาจากสวรรค์ ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าหากผู้ที่ได้พบเห็นมังกร จะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองมาก ผู้ที่มีโอกาสจะได้ขี่หลังมังกรจะต้องเป็นคนมีศีล มีสัตย์ มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม ถึงจะมีมังกรมารับไปเป็นเซียนอยู่บนสวรรค์ ในสมัยโบราณนั้นชาวจีนได้มีการจัดทำ ตำรามังกร ขึ้นมา ซึ่งเป็นการรวบรวมในรายละเอียดส่วนของประวัติ เผ่าพันธุ์และลักษณะของมังกรไว้อย่างละเอียดที่สุด แต่เนื่องมาจากตำราเหล่านั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว การศึกษาเรื่องของมังกรจีนในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงแค่การศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจีนเท่านั้น

    ตามตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป

    ตามตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น "โป๊ย-ก่วย" หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีก ด้วย

    ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวกันไว้ว่า มังกรนั้นได้ถือกำเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอึ่งตี่ พระเจ้าอึ่งตี่, อึ้งตี่ หรือหวงตี้ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ที่รวบรวมแผ่นดินจีนไว้เป็นผืนเดียวกัน โดยพระองค์ได้ทรงสร้างจินตนาการรูปมังกรขึ้นมา จากการรวมสัญลักษณ์ของเผ่าต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มังกรกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ว่าเผ่าต่าง ๆ ได้รวมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระเจ้าอึ่งตี่สิ้นอายุไข ก็มีมังกรจากฟ้าลงมารับพระองค์และพระมเหสีขึ้นไปเป็นเซียนบนสวรรค์ โดยบางตำราได้กล่าวว่าพระองค์นั้นเป็นหวงตี้องค์เดียวกับที่ได้เป็นเจ้า สวรรค์ หรือเง็กเซียนฮ่องเต้ในเวลาต่อมา เพราะเหตุนี้ชาวจีนจึงถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์

    มังกรจีนกับปีนักษัตร


    ความเชื่ออย่างแปลกประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับมังกรของคนจีน คือการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้างหมูและม้า ซึ่งถือว่าสัตว์เหล่านี้เป็นเชื้อสายของมังกรเช่นกัน คนจีนใช้มังกรเป็นสัตว์สัญลักษณ์แทนปีมะโรงซึ่งจะแตกต่างกับคนไทยที่ใช้พญานาค การผสมข้ามสายพันธุ์ของมังกรนั้น ลูกหลานของมังกรได้แก่ ม้ามังกรในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณีของไทยและเขมร ส่วนหมูและช้างนั้นภาคเหนือของประเทศไทยนั้น นับเป็นปีนักษัตรคือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ทางภาคเหนือใช้ช้างแทนสัตว์สัญลักษณ์ปีกุน ซึ่งไม่ใช่หมู

    สำหรับลายนักษัตรนั้น จีนคือผู้ที่คิดค้นแรกเริ่มตั้งแต่ราว 2,700 ปีมาแล้ว หรือภายหลังราชวงศ์โจตะวันออกเล็กน้อย หลักฐานที่ยืนยันการคิดริเริ่มของจีนปรากฏอยู่บนแจกันสำริด ที่จัดแสดงอย่างถาวรอยู่ในพิพิธภัณฑสถานพระราชวังแห่งชาติไทเป ประเทศไต้หวัน ภายในห้องแสดงสำริดโบราณ

    และเป็นเจ้าแห่ง สัตว์ทั้งปวง

    วงจรชีวิตของมังกรจีน

    มังกรจีนมีวงจรชีวิตการเกิด 4,000 ปี จึงจะเป็นมังกรตัวโตเต็มวัยไข่มังกรจะมีลักษณะเป็นไข่อัญมณี มังกรจีนจะวางไข่ไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำและฝังไว้ลึกจนไม่ถูกรบกวนโดยใครหรือ อะไร ระยะเวลา 1,000 ปีต่อมาไข่มังกรจีนจะฟักออกมาเป็นตัว ในระหว่างช่วงเวลา 500 ปีต่อมา ลูกมังกรจีนจะเจริญเติบโตขึ้น และจะเรียกลูกมังกรจีนว่า ไคอาส (Kias ,มังกรมีเกล็ด) ลูกมังกรจีนมีลักษณะเหมือนกับงูน้ำและหัวของปลาคาร์พผสมกัน และจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ขั้นนี้เรียกว่า ไคโอะ (Kio)

    ต่อมาเมื่อเวลา 1,000 ถัดไป ลูกมังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะของ หล่ง (lung ,มังกรตามมาตรฐาน) รยางค์และเกล็ดของมังกรเจริญขึ้นแล้ว ความยาวของลูกมังกรจะเพิ่มขึ้น และหน้าเริ่มมีหนวดเครา 500 ปีต่อมา เป็นเวลาที่ใช้ในการงอกงามของเขา ตอนนี้มังกรจีนสามารถได้ยินเสียงได้แล้ว และจะเป็นที่รู้จักในฐานะของ ไคโอ หล่ง (Kioh-Lung ,มีเขา) 1,000 ปีต่อมาใช้ในการเจริญของปีก ตอนนี้มังกรจีนจะถูกรู้จักในฐานะ ยิ่น หลง (มังกรมีปีก) และเจริญเติบโตเป็นมังกรเต็มวัย

    นิ้วของ มังกรจีนในแต่ละเท้าจะมี 4 หรือ 5 นิ้ว ถ้ามี 4 นิ้วเป็นมังกรทั่วไป แต่ถ้ามี 5 นิ้ว เป็นมังกรหลวง ซึ่งในสมัยก่อนจะมีเฉพาะจักรพรรดิเท่านั้น ที่สามารถใช้สิ่งของที่มีรูปมังกรหลวงประดับอยู่ถ้ามีใครอื่นใช้จะถูกประหาร น้ำลายจากมังกรจีนจะทำให้เกิดลูกทรงกลมวิเศษซึ่งเรียกว่า ไข่มุกแห่งพลัง ดวงจันทร์ และ ไข่แห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเลือดของมังกรจีนซึมซาบเข้าไปในแผ่นดินจะเปลี่ยนกลายเป็นอำพัน เมื่อมังกรลอกคราบเป็นเหตุให้เขาเรืองแสงอย่างน่าขนลุกในความมืด

    มังกรจีนชอบกินนกนางแอ่นย่าง จึงมีการถวายให้ก่อนเดินทางข้ามน้ำ เพื่อที่จะเอาใจมังกรและเพื่อให้การเดินทางปลอดภัย ว่ากันว่ามังกรจีนกลัวใบของต้น แว่ง (wang) ,ใบของต้น ลีน (lien) ,ด้ายไหม 5 สี ,สีผึ้ง ,เหล็ก และตะขาบ ว่ากันว่าบางครั้งในยุคโบราณ มังกรจีนเพศผู้จะแต่งงานกับสัตว์ชนิดอื่น มังกรจะเป็นพ่อของช้างเมื่อแต่งงานกับหมู และเมื่อแต่งงานกับม้าจะได้ลูกเป็นม้าแข่ง การที่มังกรจีนจะนำฝนตกลงสู่พื้นดิน ขึ้นอยู่กับบุคคลสง่างามแห่งหยก หรือจักรพรรดิหยก ผู้ซึ่งมังกรจะรับคำสั่งว่า จะส่งน้ำจากท้องฟ้าเท่าไร จากนั้นพวกมังกรจะต่อสู้กับตัวอื่นอย่างมุ่งร้ายในอากาศ ฝนจะตกลงมาในจังหวะที่มังกรม้วนตัว และชักดิ้นชักงอ

    นอกจากนี้มังกรมีความสามารถที่จะอยู่ในทะเล บินขึ้นไปยังสวรรค์ และขดตัวบนพื้นในรูปของภูเขา มังกรจีนสามารถปัดเป่าวิญญาณพเนจรชั่วร้าย ปกป้องผู้บริสุทธิ์ และให้ความปลอดภัยกับทุกคนที่ถือสัญลักษณ์ของเขามังกรจีนเป็นเครื่องหมาย แห่งอำนาจและคุณงามความดี ความองอาจและความกล้าหาญ ความเป็นวีรบุรุษและความอุตสาหะ และความสูงส่งและความศักดิ์สิทธิ์ และนอกจากนี้ มังกรจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความเป็นมงคล และความมั่งคั่งอีกด้วย

     

    ชนิดของมังกรจีน

    คนจีนมีคติความเชื่อว่ามังกรของจีนแต่สมัยโบราณนั้นสามารถแบ่งแยกออกเป็น 9 ชนิด การแบ่งชนิดของมังกรนั้นในแต่ละตำราก็มีการแบ่งที่แตกต่างกันออกไป บางตำราบอกว่าแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

    มังกรแท้ ชิวเล้ง เป็นมังกรขนาดใหญ่ มีเขาและปีก เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด เป็นใหญ่เหนือมังกรทั้งปวง อาศัยอยู่บนฟ้าหรือบนสวรรค์

    มังกร หลี่ หรือ ลี่ เป็นมังกรไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร

    มังกร เจี่ยว หรือ เฉียว เป็นพวกมังกรมีเกล็ด อาศัยตามลุ่มหนองหรือถ้ำตามภูเขา มีขนาดตัวเล็กกว่ามังกรที่อยู่บนท้องฟ้า มีหัวและลำคอเล็ก ไม่มีเขา หน้าอกเป็นสีเลือดหมูหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านข้างลำตัวและสันหลังมีลายแถบเป็นสีเขียวและสีเหลือง มี 4 ขา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับงู มีลำตัวยาวประมาณ 13 ฟุต บางตำราบ่งบอกไว้ชัดเจนว่า หลง เป็นมังกรแห่งสวรรค์ หลี่ เป็นมังกรแห่งทะเล และเจี่ยว เป็นมังกรแห่งภูเขาและที่ลุ่ม

    บางตำราได้เพิ่มลักษณะของมังกรจีนพื้นถิ่นเดิม ก่วย เป็นมังกรที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายมังกรแท้ บุคลิกดูใจดี กล่าวกันว่ามันมีอำนาจที่เข้มแข็งในการต่อต้านกับความโลภและกิเลสทั้งปวง ชาวจีนนิยมนำมาเขียนเป็นลวดลายบนภาชนะสำริดยุคโบราณต่าง ๆ มังกรจีนทั้ง 9 ชนิดนั้นมีการผูกลายกันอย่างมากมายหลากหลายชนิด ตั้งแต่พระราชวังที่ประทับของฮ่องเต้ วัดและเคหสถานของขุนนางชั้น ผู้ใหญ่ ตลอดไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ มังกรจีนเป็นมังกรที่มีศักดิ์ศรี มีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างชัดเจน ได้แก่

    มังกรสวนนิ

    เป็นมังกรที่ใช้สลักบนบัลลังก์ขององค์พระประติมากรรม และใช้แทนฐานรูปสิงโต

    มังกรเฉาฟง

    เป็นมังกรที่ใช้สลักบนสถาปัตยกรรมชายคา โบสถ์

    มังกรฟูเหลา

    เป็นมังกรที่ใช้ประดับบนยอดระฆังและกลอง ซึ่งเป็นเครื่องเสียงที่ใช้สำหรับต่อสู้หรือใช้ในการประกอบพิธีการที่สำคัญ

    มังกรไยสู

    เป็นมังกรที่ใช้สลักบนฝักดาบ บนกระบังดาบ และบริเวณใบดาบ รวมทั้งใบง้าว

    มังกรฉีเหวิน

    เป็น มังกรที่ใช้ประดับบนชื่อสะพาน เพราะมังกรฉีเหวินเป็นมังกรน้ำและยังใช้สลักบนบริเวณหลังคาอาคารสถาปัตยกรรม เพื่อปัองกันไฟอีกด้วย แต่บางครั้งก็จะย่อให้เหลือแต่ส่วนหางเท่านั้น จึงกลายเป็นปลามังกร หางปลา

    มังกรปาเซียน

    เป็นมังกรที่ใช้สลักที่บริเวณส่วนล่างของสถาปัตยกรรม เชื่อกันว่ามังกรปาเซียนนั้นจะสามารถช่วยพยุงน้ำหนักได้ ซึ่งเหมือนกันคนไทยที่มักจะใช้ยักษ์และคนแคระ ในการช่วยพยุงน้ำหนัก หรือบางครั้งก็จะใช้สิงห์แบกแทน

     

    มังกรฉิวนิว

    เป็นมังกรที่ใช้สลักบนลูกปิดของ"ซอ"เพราะมังกรฉิวนิวนั้นชอบฟังเพลง

    มังกรปิกัน

    เป็นมังกรที่ใช้สำหรับสลักบนประตูคุก เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของเหล่านักโทษ มังกรปิกันเป็นมังกรที่รักในการใช้พละกำลัง เป็นการแสดงความดุร้าย ซึ่งนักเลงมักจะนิยมสักมังกรชนิดนี้ไว้ที่บริเวณแขน หน้าอกและบริเวณกลางหลัง บางคนก็สักไว้ที่หน้าขาและที่อื่น ๆ นักเลงพวกนี้มักจะสักมังกร "คุก" และเรียกขานกันว่า พวก ตั้วหลักเล้ง จะใช้เป็นสัญลักษณ์

    พญามังกร

    เป็น มังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น่ำ) ,ตะวันตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต

    ลักษณะของมังกรจีน


    คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของ มังกรจีนในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน คือ

    ลักษณะหัวของมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้

    ลักษณะหนวดของมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์

    ลักษณะเขาของมังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง

    ลักษณะตาของมังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต

    ลักษณะหูของมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น

    ลักษณะคอของมังกร คล้ายกับคองู

    ลักษณะท้องของมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์

    ลักษณะเกล็ดของมังกร คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ

    ลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ

    ลักษณะฝ่าเท้าของมังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ

    ลักษณะ ของมังกรจีน สัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่จีนให้ความเคารพนับถือ ลักษณะของมังกรเกิดจากจินตนาการโดยการรวมเอาลักษณะของสัญลักษณ์เผ่าต่างๆมา รวมกัน มีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อถือและการประดิษฐ์ของช่าง มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้

    มังกรมีเขา หรือหลง เป็นลักษณะของมังกรที่มีเขาเหมือนกับกวางดาว ซึ่งคนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากฟากฟ้าแดนสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ซึ่งจะชำแหละเนื้อไว้กินและหนังจะส่งขายให้กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปทำเป็นซับในของเสื้อเกราะญี่ปุ่นซึ่งหนังกวางนั้นเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    มังกร มีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรฝรั่งที่สามารถพ่นไฟ ได้ คนฝรั่งนิยมที่จะนำมังกรมีปีกนี้มาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัว แทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยข้าวต้ม

    มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า คน จีนมีความเชื่อกันว่า มังกรเทียนหลงนี้เป็นมังกรที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของ เทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย

    มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง เป็นมังกรที่บันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและมนุษยชาติของชาวจีน แต่โบราณ มังกรหลีเฉี่ยวหลงนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย

    มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง "มังกรบาดาล" เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก

    มังกรขด ไม่มีฝอย เป็นมังกร "หด" ธรรมดา

    มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน

    มังกร บ้าน หรือลี่หลง เป็นมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น

    พญามังกร คือมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น้ำ) ,ตะวัน ตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต

    มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของ ประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มี ลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ"

     

    ลวดลายของมังกรจีน


    ลูกหลานของมังกรจีนทั้ง 9 ชนิด คือ เล้งแซเก้าจื้อ ตามตำนานได้บอกไว้ว่า มังกรได้ให้กำเนิดลูกหลานไว้ 9 ชนิด ซึ่งสัตว์ทั้ง 9 ชนิด นี้มีรูปร่างลักษณะที่พิเศษแตกต่างกันออกไป แต่เนื่องจากหลังฐานได้สูญหายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวใดเป็นลูกของตัวใด ตัวใดเป็นตัวผู้หรือตัวใดเป็นตัวเมีย อย่างไรก็ตามต่อมาชาวจีนได้นำสัตว์ทั้ง 9 ชนิดมาวาดเป็นลวดลายไว้ในสิ่งของต่างๆเพื่อเสริมความเป็นมงคลตามลักษณะพิเศษ ของสัตว์ชนิดนั้นๆ ซึ่งลวดลายลูกหลานมังกรทั้ง 9 ชนิด คือ

    ลายรูปปู่เหลา ชาวจีนมักปั้นเป็นหูของระฆัง หรือทำเป็นลายสลักอยู่บนยอดสุดของฆ้องหรือระฆัง สื่อให้เห็นลักษณะที่ชอบร้องเสียงดังของมังกรจีน เวลาที่ถูกปลาวาฬจู่โจม อันเป็นศัตรูตัวสำคัญ

    ลายรูปจิวหนิว เป็นลายที่สลักอยู่บนก้านบิดของซอสำหรับทดสอบเสียง

    ลายรูปปาเซีย เป็นรูปสลักบนยอดหินจารึก แสดงถึงว่ามังกรจีนชนิดนี้ชอบในวรรณคดี เป็นเครื่องหมายแสดงแทนเต่าทั้ง เพศผู้และเพศเมีย ซึ่งก้มหัวลงต่ำแสดงถึงความเศร้าโศก และยังถูกนำไปทำเป็นฐานของเสาหิน หรือรูปสลักสำหรับหลุมฝังศพ เป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ เป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความเข้มแข็งอดทน

    ลายรูปปู-เซีย เป็นรูปสลักที่อยู่ก้นของอนุสาวรีย์หิน มีความหมายถึงให้ช่วยแบกรับน้ำหนักที่มากไว้

    ลายรูปเจ้าเฟิง เป็นรูปลักษณะที่อยู่บนชายคาโบสถ์วิหาร เพื่อสะท้อนความที่มังกรจีนนั้นพอใจต่ออันตรายทั้งหลาย

    ลายรูปฉี-เหวิน เป็นลายรูปที่สลักอยู่บนคานสะพาน เนื่อง จากเป็นมังกรที่ชอบน้ำ จึงถูกสลักไว้บนยอดจั่วของอาคารเพื่อป้องกันไฟ มังกรจีนชนิดนี้ชอบจ้องมองออกไปข้างนอก ดังนั้นสัญลักษณ์ของมังกรจึงเป็นรูปปลายกหางขึ้นฟ้า

    ลายรูปส้วน-นี่ เป็นลายรูปที่อยู่บนยอดอาสนะของพระพุทธรูป มีนิสัยชอบพักผ่อน ตำราบอกไว้ว่าเป็นพวกเดียวกับซีจู หรือสัญลักษณ์รูปสิงโต

    ลายรูปไย่จู เป็นรูปลายที่สลักอยู่บนด้ามดาบ เพราะเป็นมังกรที่ชอบการฆ่าฟัน

    ลาย รูปปี๋-กัน เป็นลายรูปที่สลักอยู่ตามประตูคุก เพราะเป็นมังกรที่ชอบขึ้นศาลต่อสู้คดี ทะเลาะวิวาท มีพละกำลัง ความเข้มแข็ง และดุร้ายมาก เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดและมีเขาหนึ่งเขา

     

    มังกรจีนสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ


    มังกรจีนโดยเฉพาะมังกร 5 เล็บ จะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิหรือฮ่องเต้แห่งประเทศจีน โดยมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดินี เนื่องมาจากตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า หงส์เป็นพาหนะของพระแม่ซิหวั่งหมู่ ซึ่งเป็นเจ้าแม่ผู้ปกครองภูเขาคุนหลุน ซึ่งถ้าเทียบตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เขาคุนหลุนก็คือเขาพระสุเมรของ ไทย ตามนิทานแล้วเจ้าแม่ซิหวั่งหมู่เป็นผู้ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันตกคู่กับเง็ก เซียนฮ่องเต้ที่ปกครองสวรรค์ฝั่งตะวันออก เหมือนกับที่องค์จักรพรรดิเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองแต่องค์ฮองเฮาเป็นผู้ ปกครองวังหลัง คอยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ

    มังกร เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิจีน แต่การใช้มังกรเป็นลวดลายประดับบนเสื้อนั้นเป็นการแสดงถึงความสูงต่ำของ ตำแหน่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

    รูปมังกร 5 เล็บ เป็นมังกรหลวงที่ใช้กับสมเด็จพระจักรพรรดิและองค์ชายในลำดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น

    รูปมังกร 4 เล็บ เป็นมังกรทั่วไปที่ใช้กับองค์ชายในลำดับที่ 3 และ 4 องค์ชายลำดับที่ 5 เป็นต้นไปรวมถึงข้าราชการชั้นธรรมดาใช้รูปคล้ายงูที่มีเล็บ 5 เล็บได้ บางตำราก็บอกว่าเป็นรูปมังกร 3 เล็บ

    หลังปี ค.ศ. 1759 ได้ มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้อย่างแน่ชัด คือ จักรพรรดิ ขุนนางชั้นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดี และราชบุตรเขยพระองค์แรก เจ้าชายพระองค์แรก รูปมังกรจะมี 4 เล็บ อัครมหาเสนาบดีที่โปรดปรานจะได้รับการพิจารณาเพิ่มเล็บมังกรเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการกำหนดชั้นฐานะก็มีเรื่องของสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวด้วย สีของเสื้อที่จะใช้กับลายมังกรมีอยู่ 3 สีคือ

    สีแดง

    สีเหลือง

    สีน้ำเงิน

    สี แดงนั้นใช้ในงานพิธีมีความหมายถึงความสุข สีเหลืองใช้เฉพาะจักรพรรดิและพระมเหสี (สีเหลืองเป็นสีของราชวงศ์ชิง แต่หลายความเห็บบอกว่าจีนน่าจะใช้สีเหลืองเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่ ยุคโบราณ เนื่องมาจากจีนมีความเกี่ยวข้องกับสีเหลืองมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหลือง แม่น้ำเหลือง ฯลฯ) สีน้ำเงินหมายถึงราชสมบัติและประเทศ

    ฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจีนตอนพิธีราชาภิเษก เป็นผ้าปักไหมสีสันต่าง ๆ เป็นรูปมังกร 5 เล็บอยู่ตรงกลางด้านหน้า ข้างบนตัวมังกรเป็นกลุ่มดาว 3 ดวง ที่ฮ่องเต้ต้องบวงสรวง ข้างขวาของตัวมังกรเป็นอักษรคำว่า "ฮก" หมายถึงความสุข ข้างซ้ายของตัวมังกรเป็นรูปขวานโบราณหมายถึงอำนาจ ในความเป็นจริงแล้ว องค์จักรพรรดิของจีนนอกจากจะเป็นผู้นำของประเทศแล้ว ยังเป็นผู้นำในทางศาสนาอีกด้วย ดังจะเห็นจากที่พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้นำในการทำพิธีต่าง ๆ ซึ่งตามคติโบราณที่ว่าแต่เดิมมังกรนั้นก็คือมนุษย์หรือเกิดมาจากมนุษย์(ดัง ที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการกำเนิดมังกร) และรูปลักษณ์ของเทพเจ้าโบราณก็มีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งมังกร มังกรจึงถูกนำมาเปรียบให้เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์จีนนั่นเอง



    ใน ความเชื่อของชาวเอเชีย มังกรทองยังรวมไปถึงมังกรสีเหลืองด้วย มังกรทองเอเชียมักจะอยู่อย่างสันโดษไม่ค่อยสุงสิงกับใครและจะปรากฎให้ตัวให้ คนเห็นเมื่อฤกษ์งามยามดีเท่านั้น
    ทัศนคติเรื่องมังกรของชาวจีน
    ในความเชื่อของชาวจีนนั้นมังกรเป็นสัตว์เทพเจ้า ซึ่งแบ่งมังกรออกได้ดังนี้
    - มังกรเจ้าที่ ซึ่งมังกรประเภทนี้จะมี 5 นิ้ว
    - มังกรเทพเจ้า ซึ่งสามารถควบคุมลมและฝน
    - มังกรบาดาลหรือมังกรน้ำ สามารถควบคุมกระแสน้ำ
    - มังกรใต้บาดาลหรือใต้พิภพ เป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติซึ่งเชื่อกันว่าก็คือไข่มุกนั่นเอง
    ชาว จีนเชื่อว่าสามารถสังเกตอายุและความแข็งแกร่งของมังกรได้จากสีของตัวมัน มังกรสีดำหรือสีแดงจะมีลักษณะที่ดุร้าย แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่าสีเหลือง เชื่อกันว่ามังกรเกิดมาจากไข่ของงูพันปี หรือ ไข่ของงูน้ำที่ได้กลายร่างเป็นมังกรมาแล้ว 500 ปี พอมังกรมีอายุครบพันปี ก็จะมีขา 4 ขา และก็เครามังกร หลังจากนั้นอีก 500 ปี มังกรก็จะมีเขางอกออกมา แล้วพอครบ 3000ปี มันก็จะกลายเป็นมังกรผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้

    ส่วน มังกรของญี่ปุ่นและเกาหลีก็มีลักษณะโดยทั่วๆ ไปเหมือนกับของจีน แต่ต่างกันตรงที่นิ้วเท้าของมังกร ที่ของจีนอาจจะมี 4 หรือ 5 นิ้ว ในขณะที่ของญี่ปุ่นมีเพียงแค่ 3 นิ้ว

    สีของมังกรจีน

    สี ดำ  เป็นมังกรวัยเด็ก อายุไม่เกิน 1,000 ปี ลักษณะตัวจะเป็นสีทอง-ดำ สัญลักษณ์ประจำทิศเหนือ เชื่อกันว่ามังกรชนิดนี้เป็นตัวทำให้เกิดพายุ (เคยพูดไปแล้วในสีกับมังกรตะวันตก)

    สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน  เป็นมังกรเด็กอายุประมาณ 800 ปี ลำตัวเป็นสีฟ้าใส และเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ เป็นสัญลักษณ์ประจำทิศตะวันออก

    สี เหลือง เป็นมังกรที่เกิดมังกรสีเหลืองทองที่มีอายุตั้งแต่ 1,000 ปีขึ้นไป ชอบอยู่อย่างสันโดษและท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ อยู่ตัวเดียว มังกรชนิดนี้จะปรากฎตัวให้คนเห็นเมื่อถึงเวลาที่เรียกว่า "ฤกษ์งามยามดี"

    สี แดง  เป็นมังกรที่เกิดจากมังกรสีแดงทองที่มีอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันตก และเชื่อว่าเป็นมังกรอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดพายุนอกจากมังกรดำ


    สี ขาว  เป็นมังกรที่มีอายุ 1,000 ปี เป็นสัญลักษณ์ของทิศใต้ ซึ่งสีขาวของคนจีนหมายถึงการไว้ทุกข์ มังกรขาวจึงเป็นมังกรที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความตายด้วยแต่ไม่ใช่มังกรปีศาจ อย่างแน่นอ
    น (ตามที่เคยพูดไปแล้วในสีกับมังกรตะวันตก)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×