ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Legendary Encyclopedia สารานุกรมสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #14 : การ์กอยล์ (Gargoyle)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.41K
      3
      28 ต.ค. 52


    ภาพ

    กา ร์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris) มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 อันแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่อันหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ

    ภาพ

    .... นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร

    .... มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุก ปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน

    ภาพ

    .... แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน

    .... จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม) ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา

    ภาพ

    .... ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มี อำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้

    ภาพ

    .... นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์ นี้เช่นกัน หากว่าใครแวะไปเที่ยวที่มหาวิหารที่ผมกล่าวมาเนี่ย ก็แวะไปเยี่ยมเยียน เจ้ามังกรการ์กอยล์กันบ้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำเอาไว้และปฎิบัติตามเคร่งครัดก็คือ อย่าลืมของฝากนะคับ!
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×