ลำดับตอนที่ #229
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #229 : เท็นงู (Tengu)
รายละเอียดโดย ทั่วไปของเท็นงู
เท็นงู (天狗) (แปลตามตัวอักษรได้ว่า สุนัขสวรรค์) เป็นจิตวิญญาณหรือทวยเทพชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในงานศิลปะ งานประพันธ์ เรื่องเล่า และตามตำนานพื้นบ้านของประเทศญี่ปุ่น เท็นงูถูกรู้จักว่าเป็น Yokai (สัตว์วิญญาณ) ประเภทหนึ่ง และในหลายครั้งก็ถือว่าเป็นเทพของทางชินโตด้วย ถึงชื่อของเท็นงูจะมาจากอสูรสุนัขของทางจีน แต่ทางญี่ปุ่นจะเชื่อว่าเท็นงูมีรูปร่างแบบมนุษย์นกที่มีลักษณะของนกกับ มนุษย์ผสมผสานกัน เท็นงูในยุคแรก ๆ จะถูกวาดออกมามีจงอยปากแหลมเหมือนอย่างนก ขณะที่ในเวลาต่อมา เท็นงูถูกทำให้มีหน้าตาลักษณะคล้ายมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงใช้ใบหน้าแบบมนุษย์ปกติ แต่ใส่จมูกที่ยาวผิดธรรมชาติเข้าไปแทน ซึ่งรูปแบบเท็นงูจมูกยาวนี้ก็เป็นรูปแบบลักษณะของเท็นงูโดยมาตรฐานที่เป็น ที่นิยมที่สุดจนถึงปัจจุบัน
ในทางพุทธศาสนานั้น เชื่อกันมานานว่าเท็นงูเป็นปีศาจร้ายแห่งความยุ่งเหยิง และเป็นผู้นำพาซึ่งลางแห่งสงคราม ในขณะที่เวลาต่อมา แนวคิดและภาพตรงนี้ถูกเปลี่ยนให้อ่อนลง รุนแรงน้อยลง และในที่สุดจากผู้สร้างความโกลาหลก็กลับกลายเป็นผู้พิทักษ์ และเป็นจิตวิญญาณแห่งป่าเขาลำเนาไพรแทน นอกจากนี้ เท็นงูยังเกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญตนที่เรียกว่า “Shugendo” (วิถีบำเพ็ญเพียรแบบหนึ่งของญี่ปุ่น ที่เน้นให้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ใช้ชีวิตอยู่ตามป่าเขา)
ลักษณะของเท็นงู
เท็นงูในงานศิลปะต่าง ๆ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยทั่วไปของเท็นงูคือมีรูปร่างเป็นมนุษย์นกขนาดใหญ่ มีใบหน้าสีแดงก่ำ และมีจมูกที่ยาวผิดธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากภาพลักษณ์ของเท็นงูในยุคแรก ๆ ที่มีลักษณะแบบนกที่สามารถใช้รูปลักษณ์ของมนุษย์ได้ และยามเป็นมนุษย์ก็มีจงอยปากอย่างนกอยู่ เชื่อกันว่ารูปลักษณ์เท็นงูแบบจมูกยาวเริ่มใช้ในช่วงศตวรรษที่ 14 ในความพยายามให้เท็นงูมีลักษณะเหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจมูกที่ยาวของเท็นงูนั้นก็สอดคล้องกับเทพ Sarutahiko ของทางชินโตด้วย
หนึ่งในผลงานภาพเท็นงูที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏบนแผ่นภาพพับ เช่น Tenguzoshi Emakai วาดขึ้นในปี 1296 ซึ่งวาดเพื่อล้อเลียนบรรดาพระชั้นสูงในสมัยนั้น โดยทำปากเป็นจงอยปากเยี่ยงนก และมีลักษณะแบบเท็นงู (ทำให้เท็นงูมีลักษณะการแต่งกายเยี่ยงนักบวช นักพรตด้วย) นอกจากนี้ เท็นงูในยุคต่อมายังนิยมถือ Hauchiwa หรือพัดขนนกที่ทำจากขนปีกของตัวเองด้วย ซึ่งในตำนานพื้นบ้านในบางพื้นที่ของญี่ปุ่น เชื่อว่าพัดดังกล่าวมีอำนาจทำให้จมูกยืดหรือหดได้ด้วย แต่อำนาจที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คืออำนาจในการควบคุมสายลมได้ดั่งใจนึกนั่นเอง
ที่มาของเท็นงู
ชื่อและภาพพจน์ของเท็นงูได้รับอิทธิพลมาจากปีศาจของทางจีนที่มีชื่อว่า Tiangou ทางจีนเองได้มีการพูดบรรยายลักษณะของปีศาจตัวนี้ไว้มากมายหลายรูปแบบ แต่โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นอสูรกายคล้ายสุนัขที่มีความดุร้ายมาก อสูรกายตัวนี้นำพาสงครามไปยังแห่งหนที่มันดำเนินไป พร้อมกับเสียงร้องที่ดังราวกับเสียงฟ้าร้องของมัน แต่กระนั้นก็ดี Tiangou ของจีน แม้จะเป็นต้นกำเนิดที่มาของเท็นงู ในญี่ปุ่น แต่ลักษณะหลาย ๆ อย่าง กลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
จากผลงานประพันธ์ “Nihon Shoki” บทที่ 23 ในปี 720 มีการระบุกล่าวถึงเท็นงูเป็นครั้งแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น โดยได้กล่าวถึงดาวตกที่พุ่งลงมาจากฟากฟ้าว่าเป็น “สุนัขสวรรค์” ผู้นำพาซึ่งเหตุแห่งสงครามให้เกิดขึ้นตามมา ในขณะที่ความเชื่ออื่น ๆ ของทางญี่ปุ่น เชื่อว่า บางทีเท็นงูของญี่ปุ่นอาจเป็นผลรวมระหว่าง ปีศาจสุนัข Tiangou กับ วิญญาณจิ้งจอก Huli Jing ของจีน ก็เป็นได้
เหตุอันใดจากสุนัขสวรรค์ที่เป็นดาวตก ถึงเปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นมนุษย์นกแทนนั้น เราไม่มีหลักฐานในการให้เหตุผลเพียงพอ ในขณะที่นักวิชาการญี่ปุ่นบางคนเชื่อว่าบางทีอิทธิพลของเท็นงูอาจจะได้รับ อิทธิพลมาจาก Garuda (ครุฑ) ของทางฮินดูด้วยก็เป็นได้ แต่กระนั้นแม้มีรูปร่างภายนอกเยี่ยงมนุษย์นกที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าพูดถึงปัจจัยลักษณะนิสัยอย่างอื่นแล้ว ครุฑ กับ เท็นงู ก็ยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอยู่ดี ในขณะที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่าบางทีเท็นงูอาจจะมาจากปีศาจนกของทาง Shinto ก็เป็นได้ เพราะปีศาจนกตนนี้มีทั้งความเหมือนสอดคล้องกับทั้ง Tiangou ของจีน และ Garuda ของทางอินเดีย (แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้มากนัก)
จากข้อมูลอ้างอิงใน Kujiki หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณ ได้มีการกล่าวถึง Amanozako เทวาที่เกิดมาจาก Susanoo ซึ่งมีความหมายว่า “เทพเท็นงู” (天狗神) ในหนังสือได้บรรยาย Amanazako ไว้ว่าเป็นเทวาที่ดุร้าย มีพลังอำนาจอันน่าเกรงขาม และสามารถบินเหิรไปในท้องฟ้าได้ มีลักษณรูปร่างตัวเยี่ยงมนุษย์ มีหัวเป็นสัตว์ มีจมูกและหูที่ยาว และฟันที่แหลมคมขนาดสามารถเคี้ยวดาบเป็นเสี่ยง ๆ ได้เลย ในศตวรรษที่ 18 มีหนังสือชื่อว่า “Tengu Meigiko” (天狗名義考) ได้แสดงความเห็นว่า บางทีเทวาองค์นี้น่าจะเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงของเท็นงูก็เป็นได้
ปีศาจร้าย เท็นงู
จากหนังสือ Konjaku Monogatari ได้มีการกล่าวถึงตำนานของเท็นงูเอาไว้ในเล่มด้วย โดยได้บรรยายว่าเท็นงูเป็นอสูรกายที่ชั่วร้าย และเป็นศัตรูของพุทธศาสนา ด้วยการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ลักพาตัวพระนักบวชไปปล่อยในที่อันห่างไกล ทำลายขโมยของตามวัด หรือแม้กระทั่งสิงร่างอิสตรีเพื่อไปกระทำการน่าบัดสีกับผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลาย โดยเท็นงูมักปรากฏร่างเป็นพระนักบวชแต่ร่างจริงกลับหาเป็นเช่นนั้นไม่
ช่วงศตวรรษที่ 12-13 มีการกล่าวถึงเท็นงูว่าเป็นภูตแห่งความเกรี้ยวกราดและความพยาบาท หรือเป็นพระนอกรีตที่หลงผิดเข้าไปในวิถีทางแห่งเท็นงู พวกเท็นงูจะก่อความวุ่นวายในโลก ชอบที่จะสิงร่างคนโดยเฉพาะสตรีเพศ และควบคุมคนที่มันสิงทำสิ่งที่ชั่วร้าย และหลายต่อหลายครั้ง เท็นงูก็ไปยุ่งเกี่ยวกับทางราชวงศ์เพื่อครองอำนาจในประเทศด้วย
ช่วงศตวรรษที่ 13 มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเท็นงูที่ชอบลักพาตัวเด็กผู้ชายและพวกพระไป เด็กผู้ชายมักจะกลับมาได้ ขณะที่พระมักถูกนำไปทิ้งไว้ตามยอดไม้สูง ๆ และเหยื่อที่รอดกลับมาได้มักจะมีอาการทางประสาท อยู่ในสภาพปางตาย ไม่ก็ถูกหลอกให้กินมูลสัตว์มาอาจกล่าวได้ว่าลักษณะของเท็นงูในช่วงยุคนี้ เป็นปีศาจที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดชั่วร้าย และคอยก่อความวุ่นวายให้กับโลก
เท็นงู เทวาผู้พิทักษ์
จากหนังสือ Shasekishu ของทางพุทธศาสนา ได้มีการกล่าวจำแนกระหว่างเท็นงูที่ดี กับเท็นงูที่เลวเอาไว้ ในหนังสือได้อธิบายเอาไว้ว่า จริง ๆ แล้วเท็นงูเป็นผู้พิทักษ์ ผู้ปกป้องพุทธศาสนา หาใช่ผู้ทำลายไม่ มีเพียงเท็นงูบางจำพวกที่หย่งทระนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนจนหลงระเริงตก ในวิถีหนทางของปีศาจ และกลายเป็นเท็นงูที่ชั่วร้ายไป ลักษณะภาพพจน์ของเท็นงูในช่วงศตวรรษที่ 17 ถูกทำให้ดูดุร้ายและน่าเกรงขามน้อยลง ในทางกลับกัน ลักษณะของเท็นงูกลับกลายเป็นเทวาผู้พิทักษ์และทำนุบำรุงพุทธศาสนาแทนเสีย มากกว่า
จากตำนาน Kaidan Toshitoko ในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้กล่าวถึงเท็นงู ว่าเป็นผู้ศรัทธาผู้ทำนุบำรุงศาสนา และจะปลอมมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองอารามทางลัทธิ Zen ทั้งหลาย จนกระทั่งผู้ใต้ปกครองในวัดสามารถจับได้ว่าเขาไม่ใช่มนุษย์ เท็นงูตนนั้นก็จะคืนร่างเดิมเป็นมนุษย์นกที่มีปีกใหญ่ มีจมูกยาว และบินหายกลับไปบนท้องฟ้า แต่ถึงแม้เท็นงูจะลาจากจากอารามนั้น ๆ ไปแล้ว แต่ก็เชื่อว่าแม้ไม่ได้เห็นตัว เท็นงูตนนั้นก็ยังคงช่วยประทานพรอัศจรรย์ช่วยเหลืออารามนั้น ๆ อย่างลับ ๆ อยู่เสมอ
ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 เท็นงูถูกรู้จักว่าเป็นเทพพิทักษ์ป่าเขาลำเนาไพร และในหลาย ๆ ลัทธิในญี่ปุ่น ก็มีการเคารพบูชาเท็นงูเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งด้วย
เรียกได้ว่าภาพลักษณ์ของเท็นงูหลังช่วงศตวรรษที่ 17 มาผลิกจากปีศาจหรือภูตที่ชั่วร้าย กลายเป็นภูตฝ่ายดี หรือเทพเทวาผู้พิทักษ์ไปเลยทีเดียว
เท็นงูในนิทานพื้นบ้าน
เท็นงูปรากฏตามนิทานพื้นบานของญี่ปุ่นหลายต่อหลายเรื่อง และในจำนวนไม่น้อยก็มักถูกทำออกมาเป็นเรื่องตลกโปกฮา ในบรรดานิทานพื้นบ้านดัง ๆ ที่เท็นงูปรากฏตัวอยู่มีดังนี้
-Tengu no Kakuremino (ผ้าคลุมเวทย์ของเท็นงู) : เป็นเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งที่มองผ่านกระบอกไม้ไผ่ธรรมดา แต่แกล้งทำเป็นว่าสามารถมองเห็นสถานที่ไกล ๆ ได้ เท็นงูที่เห็นเข้าดังนั้นจึงเกิดความสนใจ มาเสนอขอแลกกระบอกไม้ไผ่ดังกล่าวกับผ้าคลุมเวทย์ของตนที่ทำให้ผู้สวมใส่ ล่องหนได้ เด็กชายดังกล่าวหลอกเท็นงูได้สำเร็จ ก็นำผ้าคลุมนั้นไปใช่ก่อพฤติกรรมที่ชั่วร้ายของตนต่อไป
-Kobu-tori Jiisan (ก้อนปูดคุณตาหายไป) : คุณตาคนหนึ่งมีก้อนปูดบวมบนหน้าผาก เขาได้เดินทางไปในภูเขาและพบกับกลุ่มเท็นงูกำลังจัดงานฉลองรื่นเริงอยู่ คุณตาคนนั้นจึงเข้าร่วมงานฉลองและร่วมเต้นรำด้วย เท็นงูดูเหมือนจะพอใจคุณตาคนนั้นเป็นพิเศษ จึงเอาก้อนปูดออกจาหน้าของคุณตา ด้วยความเข้าใจว่าเขาจะต้องการเอามันคืน และมาร่วมเต้นรำกับพวกตนในคืนวันรุ่งขึ้นอีก แต่แน่นอนคุณตาคนนั้นก็กลับไปที่หมู่บ้านด้วยความดีใจและไม่กลับมาอีกเลย เพื่อนบ้านของคุณตาที่มีก้อนปูดที่หน้าเหมือนกันได้ยินเรื่องนี้เข้า ก็ตั้งใจจะทำตามนั้น จึงออกเดินทางไปหาเท็นงูและเข้าร่วมเต้นรำในงานฉลองด้วย แต่กลายเป็นว่าแทนที่จะได้เอาก้อนปูดออก เขากลับได้รับก้อนปูดของคุณตาคนแรกมาเพิ่มอีกก้อนแทน
-Tengu no Haushiwa (พัดของเท็นงู) : ชายคนหนึ่งได้พัดเวทมนต์ของเท็นงูมา เขาจึงเอามันไปทำให้ธิดาของเศรษฐีมีจมูกยืดยาวขึ้น ก่อนจะใช้อีกทีให้หดกลับ พร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนให้แต่งงานกับตน จนกระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างเขากำลังเคลิ้มจะหลับอยู่ เขาได้เผลอหยิบพัดดังกล่าวมาพัดโบกกับตน ส่งผลให้จมูกของเขายืดยาวขึ้นฟ้า ทะลุผ่านเมฆไปถึงสวรรค์เลยทีเดียว
-Tengu no Hyotan (น้ำเต้าของเท็นงู) : เท็นงูพบกับนักพนันคนหนึ่ง และได้ถามเขาว่าเขากลัวสิ่งใดมากที่สุด นักพนันคนนั้นโกหกตอบกลับไปว่า สิ่งที่เขากลัวที่สุดคือ ทอง และ โมจิ แต่เท็นงูที่รู้ว่านักพนันคนนี้หาทางเล่นตลกร้ายด้วย จึงแก้เผ็ดด้วยการเสกทองและก้อนข้าวโมจิให้ตกลงมาจากฟ้าใส่นักพนันคนนั้น หากแต่เมื่อเท็นงูไปแล้ว เท็นงูกลับทิ้งน้ำเต้าวิเศษเอาไว้ด้วย
ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา เชื่อว่าเท็นงูมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม และวิชาศิลปะการต่อสู้มากขึ้น ต้นกำเนิดแนวคิดนี้เชื่อว่ามาจากเรื่องของยอดนักรบนาม Minamoto no Yoshitsune ที่ไปพบกับเท็นงูในภูเขา และได้เรียนรู้วิชาดาบ วิชาการต่อสู้ต่าง ๆ มาจากเท็นงู การกระทำของเท็นงูนี้ แท้จริงแล้วเชื่อว่าต้องการทำให้โลกวุ่นวายไปด้วยสงครามมากยิ่งขึ้น โดยการสอนให้วิชาการต่อสู้ฆ่าฟันให้มนุษย์ไปเข่นฆ่ากันเอง หากแต่เพราะวีรกรรมความกล้าหาญของ Yoshitsune นี่เอง ทำให้เท็นงูจากอสูรกายที่ชั่วร้าย ทำให้ถูกมองเป็นอาจารย์ผู้เรืองปัญญาผู้จุดประกายแห่งแสงสว่างเรื่องวิชาการ ต่อสู้ให้กับมนุษย์แทน
ในช่วงศตวรรษที่ 19 แนวคิดดังกล่าวก็ยังสืบทอดต่อมา ทั้งเรื่องของเด็กชายที่ถูกเท็นงูลักพาตัวไป แล้ว 3 ปีให้หลังกลับมาพร้อมกับปืนเวทมนตร์ที่ยิงไม่มีวันพลาดเป้า หรือเรื่องของเด็กสาวที่ถูกเท็นงูสิง แล้วกลายเป็นนักดาบชั้นยอด
เช่นเดียวกับเรื่องของ นินจา ที่เชื่อกันว่าเป็นเท็นงูเองที่สั่งสอนวิชาการต่อสู้และศาสตร์ลับต่าง ๆ ให้กับนินจา
เท็นงู (天狗) (แปลตามตัวอักษรได้ว่า สุนัขสวรรค์) เป็นจิตวิญญาณหรือทวยเทพชนิดหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในงานศิลปะ งานประพันธ์ เรื่องเล่า และตามตำนานพื้นบ้านของประเทศญี่ปุ่น เท็นงูถูกรู้จักว่าเป็น Yokai (สัตว์วิญญาณ) ประเภทหนึ่ง และในหลายครั้งก็ถือว่าเป็นเทพของทางชินโตด้วย ถึงชื่อของเท็นงูจะมาจากอสูรสุนัขของทางจีน แต่ทางญี่ปุ่นจะเชื่อว่าเท็นงูมีรูปร่างแบบมนุษย์นกที่มีลักษณะของนกกับ มนุษย์ผสมผสานกัน เท็นงูในยุคแรก ๆ จะถูกวาดออกมามีจงอยปากแหลมเหมือนอย่างนก ขณะที่ในเวลาต่อมา เท็นงูถูกทำให้มีหน้าตาลักษณะคล้ายมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงใช้ใบหน้าแบบมนุษย์ปกติ แต่ใส่จมูกที่ยาวผิดธรรมชาติเข้าไปแทน ซึ่งรูปแบบเท็นงูจมูกยาวนี้ก็เป็นรูปแบบลักษณะของเท็นงูโดยมาตรฐานที่เป็น ที่นิยมที่สุดจนถึงปัจจุบัน
ในทางพุทธศาสนานั้น เชื่อกันมานานว่าเท็นงูเป็นปีศาจร้ายแห่งความยุ่งเหยิง และเป็นผู้นำพาซึ่งลางแห่งสงคราม ในขณะที่เวลาต่อมา แนวคิดและภาพตรงนี้ถูกเปลี่ยนให้อ่อนลง รุนแรงน้อยลง และในที่สุดจากผู้สร้างความโกลาหลก็กลับกลายเป็นผู้พิทักษ์ และเป็นจิตวิญญาณแห่งป่าเขาลำเนาไพรแทน นอกจากนี้ เท็นงูยังเกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญตนที่เรียกว่า “Shugendo” (วิถีบำเพ็ญเพียรแบบหนึ่งของญี่ปุ่น ที่เน้นให้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ใช้ชีวิตอยู่ตามป่าเขา)
ลักษณะของเท็นงู
เท็นงูในงานศิลปะต่าง ๆ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยทั่วไปของเท็นงูคือมีรูปร่างเป็นมนุษย์นกขนาดใหญ่ มีใบหน้าสีแดงก่ำ และมีจมูกที่ยาวผิดธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากภาพลักษณ์ของเท็นงูในยุคแรก ๆ ที่มีลักษณะแบบนกที่สามารถใช้รูปลักษณ์ของมนุษย์ได้ และยามเป็นมนุษย์ก็มีจงอยปากอย่างนกอยู่ เชื่อกันว่ารูปลักษณ์เท็นงูแบบจมูกยาวเริ่มใช้ในช่วงศตวรรษที่ 14 ในความพยายามให้เท็นงูมีลักษณะเหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจมูกที่ยาวของเท็นงูนั้นก็สอดคล้องกับเทพ Sarutahiko ของทางชินโตด้วย
หนึ่งในผลงานภาพเท็นงูที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏบนแผ่นภาพพับ เช่น Tenguzoshi Emakai วาดขึ้นในปี 1296 ซึ่งวาดเพื่อล้อเลียนบรรดาพระชั้นสูงในสมัยนั้น โดยทำปากเป็นจงอยปากเยี่ยงนก และมีลักษณะแบบเท็นงู (ทำให้เท็นงูมีลักษณะการแต่งกายเยี่ยงนักบวช นักพรตด้วย) นอกจากนี้ เท็นงูในยุคต่อมายังนิยมถือ Hauchiwa หรือพัดขนนกที่ทำจากขนปีกของตัวเองด้วย ซึ่งในตำนานพื้นบ้านในบางพื้นที่ของญี่ปุ่น เชื่อว่าพัดดังกล่าวมีอำนาจทำให้จมูกยืดหรือหดได้ด้วย แต่อำนาจที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คืออำนาจในการควบคุมสายลมได้ดั่งใจนึกนั่นเอง
ที่มาของเท็นงู
ชื่อและภาพพจน์ของเท็นงูได้รับอิทธิพลมาจากปีศาจของทางจีนที่มีชื่อว่า Tiangou ทางจีนเองได้มีการพูดบรรยายลักษณะของปีศาจตัวนี้ไว้มากมายหลายรูปแบบ แต่โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นอสูรกายคล้ายสุนัขที่มีความดุร้ายมาก อสูรกายตัวนี้นำพาสงครามไปยังแห่งหนที่มันดำเนินไป พร้อมกับเสียงร้องที่ดังราวกับเสียงฟ้าร้องของมัน แต่กระนั้นก็ดี Tiangou ของจีน แม้จะเป็นต้นกำเนิดที่มาของเท็นงู ในญี่ปุ่น แต่ลักษณะหลาย ๆ อย่าง กลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
จากผลงานประพันธ์ “Nihon Shoki” บทที่ 23 ในปี 720 มีการระบุกล่าวถึงเท็นงูเป็นครั้งแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น โดยได้กล่าวถึงดาวตกที่พุ่งลงมาจากฟากฟ้าว่าเป็น “สุนัขสวรรค์” ผู้นำพาซึ่งเหตุแห่งสงครามให้เกิดขึ้นตามมา ในขณะที่ความเชื่ออื่น ๆ ของทางญี่ปุ่น เชื่อว่า บางทีเท็นงูของญี่ปุ่นอาจเป็นผลรวมระหว่าง ปีศาจสุนัข Tiangou กับ วิญญาณจิ้งจอก Huli Jing ของจีน ก็เป็นได้
เหตุอันใดจากสุนัขสวรรค์ที่เป็นดาวตก ถึงเปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นมนุษย์นกแทนนั้น เราไม่มีหลักฐานในการให้เหตุผลเพียงพอ ในขณะที่นักวิชาการญี่ปุ่นบางคนเชื่อว่าบางทีอิทธิพลของเท็นงูอาจจะได้รับ อิทธิพลมาจาก Garuda (ครุฑ) ของทางฮินดูด้วยก็เป็นได้ แต่กระนั้นแม้มีรูปร่างภายนอกเยี่ยงมนุษย์นกที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าพูดถึงปัจจัยลักษณะนิสัยอย่างอื่นแล้ว ครุฑ กับ เท็นงู ก็ยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอยู่ดี ในขณะที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่าบางทีเท็นงูอาจจะมาจากปีศาจนกของทาง Shinto ก็เป็นได้ เพราะปีศาจนกตนนี้มีทั้งความเหมือนสอดคล้องกับทั้ง Tiangou ของจีน และ Garuda ของทางอินเดีย (แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้มากนัก)
จากข้อมูลอ้างอิงใน Kujiki หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณ ได้มีการกล่าวถึง Amanozako เทวาที่เกิดมาจาก Susanoo ซึ่งมีความหมายว่า “เทพเท็นงู” (天狗神) ในหนังสือได้บรรยาย Amanazako ไว้ว่าเป็นเทวาที่ดุร้าย มีพลังอำนาจอันน่าเกรงขาม และสามารถบินเหิรไปในท้องฟ้าได้ มีลักษณรูปร่างตัวเยี่ยงมนุษย์ มีหัวเป็นสัตว์ มีจมูกและหูที่ยาว และฟันที่แหลมคมขนาดสามารถเคี้ยวดาบเป็นเสี่ยง ๆ ได้เลย ในศตวรรษที่ 18 มีหนังสือชื่อว่า “Tengu Meigiko” (天狗名義考) ได้แสดงความเห็นว่า บางทีเทวาองค์นี้น่าจะเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงของเท็นงูก็เป็นได้
ปีศาจร้าย เท็นงู
จากหนังสือ Konjaku Monogatari ได้มีการกล่าวถึงตำนานของเท็นงูเอาไว้ในเล่มด้วย โดยได้บรรยายว่าเท็นงูเป็นอสูรกายที่ชั่วร้าย และเป็นศัตรูของพุทธศาสนา ด้วยการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า ลักพาตัวพระนักบวชไปปล่อยในที่อันห่างไกล ทำลายขโมยของตามวัด หรือแม้กระทั่งสิงร่างอิสตรีเพื่อไปกระทำการน่าบัดสีกับผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลาย โดยเท็นงูมักปรากฏร่างเป็นพระนักบวชแต่ร่างจริงกลับหาเป็นเช่นนั้นไม่
ช่วงศตวรรษที่ 12-13 มีการกล่าวถึงเท็นงูว่าเป็นภูตแห่งความเกรี้ยวกราดและความพยาบาท หรือเป็นพระนอกรีตที่หลงผิดเข้าไปในวิถีทางแห่งเท็นงู พวกเท็นงูจะก่อความวุ่นวายในโลก ชอบที่จะสิงร่างคนโดยเฉพาะสตรีเพศ และควบคุมคนที่มันสิงทำสิ่งที่ชั่วร้าย และหลายต่อหลายครั้ง เท็นงูก็ไปยุ่งเกี่ยวกับทางราชวงศ์เพื่อครองอำนาจในประเทศด้วย
ช่วงศตวรรษที่ 13 มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเท็นงูที่ชอบลักพาตัวเด็กผู้ชายและพวกพระไป เด็กผู้ชายมักจะกลับมาได้ ขณะที่พระมักถูกนำไปทิ้งไว้ตามยอดไม้สูง ๆ และเหยื่อที่รอดกลับมาได้มักจะมีอาการทางประสาท อยู่ในสภาพปางตาย ไม่ก็ถูกหลอกให้กินมูลสัตว์มาอาจกล่าวได้ว่าลักษณะของเท็นงูในช่วงยุคนี้ เป็นปีศาจที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดชั่วร้าย และคอยก่อความวุ่นวายให้กับโลก
เท็นงู เทวาผู้พิทักษ์
จากหนังสือ Shasekishu ของทางพุทธศาสนา ได้มีการกล่าวจำแนกระหว่างเท็นงูที่ดี กับเท็นงูที่เลวเอาไว้ ในหนังสือได้อธิบายเอาไว้ว่า จริง ๆ แล้วเท็นงูเป็นผู้พิทักษ์ ผู้ปกป้องพุทธศาสนา หาใช่ผู้ทำลายไม่ มีเพียงเท็นงูบางจำพวกที่หย่งทระนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนจนหลงระเริงตก ในวิถีหนทางของปีศาจ และกลายเป็นเท็นงูที่ชั่วร้ายไป ลักษณะภาพพจน์ของเท็นงูในช่วงศตวรรษที่ 17 ถูกทำให้ดูดุร้ายและน่าเกรงขามน้อยลง ในทางกลับกัน ลักษณะของเท็นงูกลับกลายเป็นเทวาผู้พิทักษ์และทำนุบำรุงพุทธศาสนาแทนเสีย มากกว่า
จากตำนาน Kaidan Toshitoko ในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้กล่าวถึงเท็นงู ว่าเป็นผู้ศรัทธาผู้ทำนุบำรุงศาสนา และจะปลอมมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองอารามทางลัทธิ Zen ทั้งหลาย จนกระทั่งผู้ใต้ปกครองในวัดสามารถจับได้ว่าเขาไม่ใช่มนุษย์ เท็นงูตนนั้นก็จะคืนร่างเดิมเป็นมนุษย์นกที่มีปีกใหญ่ มีจมูกยาว และบินหายกลับไปบนท้องฟ้า แต่ถึงแม้เท็นงูจะลาจากจากอารามนั้น ๆ ไปแล้ว แต่ก็เชื่อว่าแม้ไม่ได้เห็นตัว เท็นงูตนนั้นก็ยังคงช่วยประทานพรอัศจรรย์ช่วยเหลืออารามนั้น ๆ อย่างลับ ๆ อยู่เสมอ
ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 เท็นงูถูกรู้จักว่าเป็นเทพพิทักษ์ป่าเขาลำเนาไพร และในหลาย ๆ ลัทธิในญี่ปุ่น ก็มีการเคารพบูชาเท็นงูเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งด้วย
เรียกได้ว่าภาพลักษณ์ของเท็นงูหลังช่วงศตวรรษที่ 17 มาผลิกจากปีศาจหรือภูตที่ชั่วร้าย กลายเป็นภูตฝ่ายดี หรือเทพเทวาผู้พิทักษ์ไปเลยทีเดียว
เท็นงูในนิทานพื้นบ้าน
เท็นงูปรากฏตามนิทานพื้นบานของญี่ปุ่นหลายต่อหลายเรื่อง และในจำนวนไม่น้อยก็มักถูกทำออกมาเป็นเรื่องตลกโปกฮา ในบรรดานิทานพื้นบ้านดัง ๆ ที่เท็นงูปรากฏตัวอยู่มีดังนี้
-Tengu no Kakuremino (ผ้าคลุมเวทย์ของเท็นงู) : เป็นเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งที่มองผ่านกระบอกไม้ไผ่ธรรมดา แต่แกล้งทำเป็นว่าสามารถมองเห็นสถานที่ไกล ๆ ได้ เท็นงูที่เห็นเข้าดังนั้นจึงเกิดความสนใจ มาเสนอขอแลกกระบอกไม้ไผ่ดังกล่าวกับผ้าคลุมเวทย์ของตนที่ทำให้ผู้สวมใส่ ล่องหนได้ เด็กชายดังกล่าวหลอกเท็นงูได้สำเร็จ ก็นำผ้าคลุมนั้นไปใช่ก่อพฤติกรรมที่ชั่วร้ายของตนต่อไป
-Kobu-tori Jiisan (ก้อนปูดคุณตาหายไป) : คุณตาคนหนึ่งมีก้อนปูดบวมบนหน้าผาก เขาได้เดินทางไปในภูเขาและพบกับกลุ่มเท็นงูกำลังจัดงานฉลองรื่นเริงอยู่ คุณตาคนนั้นจึงเข้าร่วมงานฉลองและร่วมเต้นรำด้วย เท็นงูดูเหมือนจะพอใจคุณตาคนนั้นเป็นพิเศษ จึงเอาก้อนปูดออกจาหน้าของคุณตา ด้วยความเข้าใจว่าเขาจะต้องการเอามันคืน และมาร่วมเต้นรำกับพวกตนในคืนวันรุ่งขึ้นอีก แต่แน่นอนคุณตาคนนั้นก็กลับไปที่หมู่บ้านด้วยความดีใจและไม่กลับมาอีกเลย เพื่อนบ้านของคุณตาที่มีก้อนปูดที่หน้าเหมือนกันได้ยินเรื่องนี้เข้า ก็ตั้งใจจะทำตามนั้น จึงออกเดินทางไปหาเท็นงูและเข้าร่วมเต้นรำในงานฉลองด้วย แต่กลายเป็นว่าแทนที่จะได้เอาก้อนปูดออก เขากลับได้รับก้อนปูดของคุณตาคนแรกมาเพิ่มอีกก้อนแทน
-Tengu no Haushiwa (พัดของเท็นงู) : ชายคนหนึ่งได้พัดเวทมนต์ของเท็นงูมา เขาจึงเอามันไปทำให้ธิดาของเศรษฐีมีจมูกยืดยาวขึ้น ก่อนจะใช้อีกทีให้หดกลับ พร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนให้แต่งงานกับตน จนกระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างเขากำลังเคลิ้มจะหลับอยู่ เขาได้เผลอหยิบพัดดังกล่าวมาพัดโบกกับตน ส่งผลให้จมูกของเขายืดยาวขึ้นฟ้า ทะลุผ่านเมฆไปถึงสวรรค์เลยทีเดียว
-Tengu no Hyotan (น้ำเต้าของเท็นงู) : เท็นงูพบกับนักพนันคนหนึ่ง และได้ถามเขาว่าเขากลัวสิ่งใดมากที่สุด นักพนันคนนั้นโกหกตอบกลับไปว่า สิ่งที่เขากลัวที่สุดคือ ทอง และ โมจิ แต่เท็นงูที่รู้ว่านักพนันคนนี้หาทางเล่นตลกร้ายด้วย จึงแก้เผ็ดด้วยการเสกทองและก้อนข้าวโมจิให้ตกลงมาจากฟ้าใส่นักพนันคนนั้น หากแต่เมื่อเท็นงูไปแล้ว เท็นงูกลับทิ้งน้ำเต้าวิเศษเอาไว้ด้วย
ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา เชื่อว่าเท็นงูมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม และวิชาศิลปะการต่อสู้มากขึ้น ต้นกำเนิดแนวคิดนี้เชื่อว่ามาจากเรื่องของยอดนักรบนาม Minamoto no Yoshitsune ที่ไปพบกับเท็นงูในภูเขา และได้เรียนรู้วิชาดาบ วิชาการต่อสู้ต่าง ๆ มาจากเท็นงู การกระทำของเท็นงูนี้ แท้จริงแล้วเชื่อว่าต้องการทำให้โลกวุ่นวายไปด้วยสงครามมากยิ่งขึ้น โดยการสอนให้วิชาการต่อสู้ฆ่าฟันให้มนุษย์ไปเข่นฆ่ากันเอง หากแต่เพราะวีรกรรมความกล้าหาญของ Yoshitsune นี่เอง ทำให้เท็นงูจากอสูรกายที่ชั่วร้าย ทำให้ถูกมองเป็นอาจารย์ผู้เรืองปัญญาผู้จุดประกายแห่งแสงสว่างเรื่องวิชาการ ต่อสู้ให้กับมนุษย์แทน
ในช่วงศตวรรษที่ 19 แนวคิดดังกล่าวก็ยังสืบทอดต่อมา ทั้งเรื่องของเด็กชายที่ถูกเท็นงูลักพาตัวไป แล้ว 3 ปีให้หลังกลับมาพร้อมกับปืนเวทมนตร์ที่ยิงไม่มีวันพลาดเป้า หรือเรื่องของเด็กสาวที่ถูกเท็นงูสิง แล้วกลายเป็นนักดาบชั้นยอด
เช่นเดียวกับเรื่องของ นินจา ที่เชื่อกันว่าเป็นเท็นงูเองที่สั่งสอนวิชาการต่อสู้และศาสตร์ลับต่าง ๆ ให้กับนินจา
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น