เกาะอีสเตอร์ - เกาะอีสเตอร์ นิยาย เกาะอีสเตอร์ : Dek-D.com - Writer

    เกาะอีสเตอร์

    เกาะอีสเตอร์เป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกยาวเพียง 25 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางไมล์ มีคนอาศัยราว 150 คน อยู่ห่างจากหมู่เกาะชิลี (Chile) 2,000 ไมล์ และห่างจาก เกาะปีทเชียน

    ผู้เข้าชมรวม

    654

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    654

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 พ.ค. 49 / 15:49 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เกาะอีสเตอร์  

              
      กล่าวกันว่าเกาะอีสเตอร์เป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกยาวเพียง 25 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางไมล์ มีคนอาศัยราว 150 คน อยู่ห่างจากหมู่เกาะชิลี (Chile) 2,000 ไมล์ และห่างจาก เกาะปีทเชียน (Pitcain Island) ประมาณ 1,100 ไมล์ ชาวยุโรปพวกแรกที่มาเยือนเกาะนี้คือ นักเดินเรือพวกดัตช์ และต่อมาก็คือกัปตันเจมส์ คุก มีการบันทึกว่าบนเกาะนี้มีการนับถือรูปปั้นหินขนาดยักษ์ไม่ต่ำกว่า 200 ชิ้น
              
      รูปสลักคนนั่งคุกเข่าจากยุคแรกซึ่งเริ่มประมาณปี ค.. 380 สลักขึ้นจากหิน และกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลต์ รูปสลักหินในยุคถัดมาหรือยุคกลางเริ่มตั้งแต่ปี ค.. 1100 เป็นรูปสลักที่เรียกว่า "โมอาอิ"(Moai) ที่เห็นโดดเด่นทั่วไปบนเกาะนี้ รูปสลักนี้มีลำตัวส่วนบนเหมือนผู้ชาย ส่วนศีรษะหน้าตาเป็นแบบเดียวกัน ดวงตา เป็นวัสดุอื่นฝังอยู่ในเนื้อหิน และติ่งหูยาว สูงตั้งแต่ 6 ฟุตถึง 30 ฟุต บางรูปมีน้ำหนักถึง 50 ตัน รูปสลักโมอาอิจะตั้งอยู่บนฐานหินที่เรียกว่า "อาฮู"(Ahu) แต่ละก้อนซึ่งรองรับรูปสลักได้ถึง 12 รูป ในช่วงหลายร้อยปีของยุคกลางนี้ มีการสร้างรูปสลักขนาดใหญ่โตมโหฬารขึ้นเรื่อย ๆ และต่อมามีการเพิ่มเติมส่วนจุกสีแดง หรือ "พูคาโอ"(Pukao) บนยอดศีรษะด้วย เชื่อกันว่ารูปสลักแปลกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แทน หัวหน้าเผ่าผู้ล่วงลับที่กลายเป็นเทพเจ้าไปแล้ว
              
      ยุคที่สามหรือยุคหลังเริ่มในราวปีค.. 1680 ตรงกับช่วงเวลาที่ชนพื้นเมืองสองเชื้อชาติ ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาอย่างสงบเกิดทะเลาะและทำสงครามกัน การวิวาทอาจเกิดเพราะป่าไม้เริ่มหมด พวกเขาไม่สามารถหาอาหารหาไม้มาต่อเรือได้ สภาพดินก็เริ่มเสื่อมโทรม เมื่อข้าวปลาอาหารลดน้อยลง ชนพื้นเมืองสองเผ่าคือ พวกหูยาว จากอเมริกาใต้ ที่มีอิทธิพลในสังคมมากกว่า และพวกหูสั้น จากเกาะ แถบโพลีนีเซียก็เริ่มต่อสู้กัน แต่พวกหูสั้นกลับได้ชัยชนะ (เล่าสืบกันมาว่าพวกผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน) ในระหว่างการต่อสู้ พวกหูสั้นบุกยึดฐานหินได้และโค่นรูปสลักลงมากมาย ตามที่ผู้มาเยือนเล่าไว้ เกิดสงครามและความอดอยากขึ้นบ่อย ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อประเทศชิลี ผนวกเกาะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.. 1888 ประชากรก็เพิ่มจำนวนขึ้นจนได้อยู่เห็นเกาะนี้ กลายเป็นดินแดนปริศนาอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก

      เรื่องของเกาะอีสเตอร์ อีกมุมหนึ่ง ได้เล่าว่า

            
      เกาะอีสเตอร์ : เกาะแห่งรูปสลักหินขนาดยักษ์ เกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในน่านน้ำกว้างแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกได้เป็นที่ตั้งของรูปสลักหินประหลาดที่มีประวัติเก่าแก่ รูปสลักหินขนาดยักษ์ที่เป็นปริศนายิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกเหล่านี้ชักลากจากหุบภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วมายังที่ตั้งในปัจจุบัน กล่าวกันว่าเกาะอีสเตอร์เป็นสถานที่อันโดดเดียวที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทั้งนี้เพราะเกาะซึ่งอยู่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปถึง 2,000 กม. เกาะเล็ก ๆ ที่ยาวเพียง 25 กม. แห่งนี้เป็นบ่อเกิดคำถามมากมาย เช่น คนรุ่นแรก ๆ บนเกาะนี้มาจากที่ใด พวกเขาค้นพบเกาะนี้ได้อย่างไร พวกเขาสร้างรูปปั้นหินขนาดยักษ์จำนวน กว่า 600 รูป ไว้ทำไมและสร้างได้อย่างไร และเหตุใดจึงทำลายมันลงเกือบหมด ชาวยุโรปพวกแรกที่มาเยือนเกาะนี้คือ นักเดินเรือชาวดัตช์ผู้ขึ้นฝั่งในวันอาทิตย์อีสเตอร์ของปี ค.. 1722 พวกเขาอยู่บนเกาะนี้นานพอที่จะตั้งชื่อให้เกาะ และนานพอที่หัวหน้าของพวกเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีชาวพื้นเมืองสองเชื้อชาติบนเกาะนี้ นอกจากนี้ยังมีบันทึกไว้ด้วยว่าชาวเกาะเหล่านี้นับถือบูชารูปปั้นหินขนาดยักาษ์ (รูปสลักเหล่านี้ตัดแต่งจากหินภูเขาไฟที่สึกกร่อนแล้ว) ต่อมาในปีค..1770 นักเดินเรือชาวสเปนจากเปรูก็คันพบเกาะนี้อีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้เกาะนี้มีประขากรราว 3,000 คน ทว่าเพียงสี่ปีหลังจากนั้น เมื่อกัปตันเจมส์ คุกเดินทางมาสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอง เขาก็พบว่ามีประขากรชายเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และหญิงเพียง 30 คน ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่จำนวนก็ลดลงไปอีกในปีค..1862 เมื่อรัฐบาลเปรูกวาดต้อนแรงงานชายประมาณ 1,000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ ไม่กี่เดือนต่อมาทาส 15 คนที่มีชีวิตรอดอยู่ก็ได้รับการปลดปล่อยให้กลับเกาะ พวกเขานำเชื้อไข้ทรพิษติดตัวมา ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันพลอยติดโรคร้ายไปด้วย การที่ประชากรลดลงเช่นนี้ทำให้การสืบค้นต้นตอของสิ่งต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะบนเกาะไม่มีอะไรที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเลย วัฒนธรรมประเพณีซึ่งสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากก็ค่อย ๆ สูญหายไปพร้อมกับประขากรที่ตายไปทีละคน แม้จะมีการค้นพบแผ่นไม้สลักอักษรภาพบางอย่าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดถอดความสัญลักษณ์อักษรเลย วัฒนธรรมประเพณีซึ่งสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากก็ค่อย ๆ สูญหายไป พร้อมกับประชากรที่ตายไปทีละคน แม้จะมีการค้นพบแผ่นไม้สลักอักษรภาพบางอยาง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดถอดความสัญลักษณ์เหล่านั้นได้ ชาวพื้นเมืองบอกกัปตันคุกว่า พวกเขามีบรรพบุรุษสืบทอดกันลงมาถึง 22 ชั่วคนนับแต่หัวหน้าโอตู มาตูอา (Chief Hotu Matua) นำคนรุ่นแรกมาถึงเกาะแห่งนี้ แต่พวกเขาก็ไม่ทราบว่าบรรพบุรุษมาจากที่ใด มีทฤษฏีซึ่งน่าจะเป็นไปได้ และหากทฤษฏีทั้งสองนี้ถูกต้อง ก็จะสนับสนุนข้อสังเกตุของผู้มาเยือนเกาะนี้นับตั้งแต่หัวหน้าเรือชาวดัตช์เป็นต้นมาที่บันทึกไว้ว่าชาวเกาะดูเป็นคนสองเชื้อชาติแตกต่างกัน ทฤษฏกีแรกที่เสนอโดยอัลเฟร เมอโทรในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 กล่าวว่าบรรพบุรุษของชาวเกาะอีสเตอร์มาจากเกาะโพลีนีเซียจากทางตะวันตก นักโบราณคดีหลายคนก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะวัฒนธรรมประเพณีหลายอย่างของชายเกาะอีสเตอร์คล้ายคลึงกับของชาวเกาะโพลีนีเซีย และระยะทางในการเดินทางก็สั้นกว่าการเดินทางมาจากทิศตะวันออก ทฤษฏีที่สองเป็นของธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาชาวนอร์เวย์ เขาเสนอว่าบรรพบุรุษของชาวเกาะนี้มาจากทวีปอเมริกาใต้ โดยชี้ให้เห็นว่าลักษณะทางกายภาพของส่วนหัวทรงยาวของรูปสลักหลายรูปบนเกาะอีสเตอร์คล้ายกับศีรษะชาวอเมริกาใต้หลายเผ่า นอกจากนี้พืชผลที่ใช้เป็นอาหารหลักคือมันเทศก็น่าจะมาจากทางแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เมล็ดของพันธุ์พืชเหล่านี้จะแพร่กระจายมาเอง แต่จะต้องมีคนนำมา เฮเยอร์ดาห์ลได้ทดลองพายเรือ คอน-ติกิ ซึ่งเป็นแพที่ทำจากขอนไม้บาลซา ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากชายฝั่งอเมริกาใต้มายังแถบโลีนีเซียเพื่อพิสูจน์ว่าการเดินทางเช่นนั้นเป็นสิ่งที่สามาถทำใด้ ไม่ว่าชาวเกาะจะเป็นใครก็ตาม พวกเขาก็ได้สร้างรูปสลักหินที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกไว้ จากการศึกษาซากรูปสลัก ศิลปวัตถุที่หลงเหลือ และเรื่องราวตำนานพื้นบ้านต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมา นักมานุษยวิทยาสามารถแบ่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของชาวเกาะได้เป็นสามช่วงด้วยกัน รูปสลักคนนั่งคุกเข่าจากยุคแรกกกซึ่งเริ่มประมาณปีค..380 สลักขึ้นจากหิน และกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลด์ รูปสลักในยุคถัดมาหรือยุคเกลางเริ่มตั้งแต่ปีค..1100 เป็นรูปสลักที่เรียกว่า โมอาอิ (Moai) ที่เห็นโดดเด่นทั่วไปบนเกาะนี้ รูปสลักนี้มีลำตัวส่วนบนเหมือนผู้ชายส่วนศีรษะหน้าตาเป็นแบบเดียวกัน ดวงตาเป็นวัสดุอื่นฝังอยู่ในเนื้อหิน และดิ่งหูยาว รูปสลักโมอาอิ จะตั้งอยู่บนฐานหินที่เรียกว่า อาฮู(Ahu) แต่ละก้อนซึ่งรองรับรูปสลักได้ถึง 12 รูป ในช่วงหลายร้อยปีของยุคกลางนี้ มีการสร้างรูปสลักขนาดใหญ่โตมโหฬารขึ้นเรื่อย ๆ และต่อมามีการเพิ่มเติมส่วนจุกสีแดง หรือ พูคาโอ(pukao)บนยอดศีรษะด้วย เชื่อกันว่ารูปสลักแปลกหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แทนหัวหน้าเผ่าผู้ล่วงลับที่กลายเป็นเทพเจ้าไปแล้ว ยุคที่สามหรือยุคหลังเริ่มในราว ปี ค.. 1680 ตรงกับช่วงเวลาที่ชนพื้นเมืองสองเชื้อชาติซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาอย่างสงบเกิดทะเลาะและทำสงครามกัน การวิวาทอาจเกิดเพราะป่าไม้เริ่มหมดพวกเขาไม่สามารถหาไม้มาต่อเรือได้ สภาพดินก็เริ่มเสื่อมโทรม เมื่อข้าวปลาอาหารลดน้อยลงชนพื้นเมืองสองเผ่าคือ พวกหูยาว (long ears)จากอเมริกาใต้ทีมีอิทธิพลในสังคมมากกว่า และพวกหูสั้น(short ears) จากเกาะแถบโพลีนีเซียก็เริ่มต่อสู้กัน แต่พวกหูสันกลับได้ชัยชนะ (เล่าสืบกันมาว่าพวกผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน ซึ่งอาจจะเป็นข้อธิบายว่าเหตุใดกัปตันคุกจึงพบว่ามีประชากรหยงน้อยมาก) ในระหว่างการต่อสู้ พวกหูสั้นบุกยึดฐานหินได้และโค่นรูปสลักลงเสียมาก ตามที่ผู้มาเยือนเล่าไว้ เกิดสงครามและความอดอยากขึ้นบ่อย ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อประเทศซิลีผนวกเกาะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปีค.. 1888 ประชากรก็เพิ่มจำนวนจนได้อยู่เห็นเกาะนี้กลายเป็นดินแดนปริศนาอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกปัจจุบัน

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×