วิธีเดาคำตอบ
เทคนิคการสังเกตตัวเลือกข้อสอบทั่วๆไปค่ะ ไม่ถึงกับแม่นมาก..แต่ก็พอใช้ได้นะคะ
ผู้เข้าชมรวม
977
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ก่อนอื่นนะคะ
บางทีก็มีเพื่อนมาถามเอ๋อๆเล็กๆว่า..
ปรนัย กับ อัตนัย เนี่ย
มันคืออะไร ??
แลมึนๆเล็กน้อย แต่มีสิทธิ์หลงลืมกันได้ค่ะ
เพราะเราจะชินกับภาษาบ้านๆอย่าง
ช้อยส์ และ เขียนตอบ
มากกว่า
๐๐๐
อัตนัย - เขียนตอบค่ะ
เพราะเราต้องเขียนไงคะ
เราก็เลยต้องเอาความรู้ที่มี
อัดๆ มันลงไป
ส่วนปรนัย - ช้อยส์ค่ะ
เพราะส่วนใหญ่เราจะมั่วในส่วนนี้
(ทำไม่ทันบ้าง ทำไม่ได้บ้าง
ก็จ้ำจี้เอา)
ก็เลยปล่อยๆมันไปละกัน
ก็ลองจำเล่นๆแบบนี้
มันจะได้ไม่สับสนไงคะ หุๆ
๐๐๐
สำหรับปรนัย ที่เราปล่อยๆมันไปเนี่ย
ถ้าทำได้ก็กาฉลุย
แต่ถ้าจะมั่ว ขอให้วิเคราะห์กันนิดนึง
โดยทั่วไปแล้ว จะมีช้อยส์ 4 แบบ
1. หลุดโลก
อันนี้เห็นปุ๊บ จะต้องตัดทิ้งไปเป็นอันแรกเลย
เพราะมันผิดชัวร์ๆ
2. ไปไหนมา สามวาสองศอก
อันนี้เป็นพวกตอบไม่ตรงคำถาม
ตัดทิ้งได้เหมือนกันค่ะ
ส่วนที่ลำบากใจที่สุด
จะเป็นอีก 2 ข้อที่เหลือ
เราจะตกอยู่ในภาวะ
รักพี่เสียดายน้อง
เพราะจริงๆแล้ว ข้อนึงมันจะถูก
อีกข้อจะ ถูกกว่า
แต่เราจะมองทั้งสองข้อว่า..
ถูกมั้ง ทั้งคู่เลย
...
อันนี้ต้อง
ตรองให้จงหนักค่ะ
คำนวนความน่าจะเป็น
แล้วก็
ไม่ได้อยู่ดี
แหะๆ
ถ้างั้นก็ต้องพึ่งดวงแล้วมั้งคะ
แต่ส่วนมากเนี่ย
จะเลือกช้อยส์ที่ยาวกว่า
เพราะนึกซะว่า
คนคิดช้อยส์ที่ผิดเนี่ย
คงไม่นั่งคิดอะไรให้มันยาวยืดได้ทุกข้อหรอกค่ะ
ก็ใช้เป็นหลักการเดาสักหน่อย
เผื่อร้อยละการแม่นจะมากขึ้นนะคะ
๐๐๐
อย่างไรก็ตามค่ะ
ถ้าเรามีความรู้แน่นปึ้กซะอย่าง
แล้วก็มีการคิดที่เป็นระบบ
อาศัยการวิเคราะห์เสียหน่อย
คงไม่ต้องมานั่งเดาให้ปวดขมอง
และก็..
ก็คว้า A ได้ไม่ไกลเกินมือแน่ค่ะ
.๐•••๐.
ผลงานอื่นๆ ของ รอยทาง* ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ รอยทาง*
ความคิดเห็น