ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #39 : ว่าด้วย... หนังสือ : คลังคำ ของ ดร.นววรรณ พันธุเมธา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.91K
      18
      23 เม.ย. 54


     

             ชื่อหนังสือ : คลังคำ
             ผู้แต่ง : ดร. นววรรณ พันธุเมธา
             ประเภทหนังสือ : อรรถาภิธาน, อ้างอิง
             สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์
             ISBN : ๙๗๔-๒๗๒-๒๗๑-๔
             ราคา : ๖๐๐ บาท

             สัดส่วน : ๑๕*๒๑.๗*๖.๒ cm (กว้าง*สูง*หนา), ๑๑๓๔ หน้า
             น้ำหนัก : อาจทำให้ K.O. เมื่อโดนกระแทกหัว
             ระดับความเยอะ : จำนวนคำ > ๒๐,๐๐๐ คำ แบ่งเป็นหมวดหมู่ > ๒,๖๐๐ หมวด



    ความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของ

             หนัก! โชคดีที่สั่งซื้อทางเนต ถ้าไปแบกจากงานหนังสือกล้ามคงขึ้น ได้มาตอนแรกๆ ก็เห่อเปิดเล่นอยู่สองสามวัน


    แล้วหลังจากนั้นล่ะใช้บ่อยไหม

             ไม่บ่อย เพราะมันเป็นหนังสืออ้างอิงไง ติดขัดนึกคำไม่ออกจริงๆ ค่อยเปิด แล้วส่วนใหญ่ก็จะใช้พจนานุกรมออนไลน์ก่อน ถ้ายังไม่เจอคำที่ถูกใจก็ค่อยหาดูในคลังคำ


    ใช้ไม่ค่อยคุ้มสินะ

             อืม... ไม่รู้สิ ถ้าแต่งนิยายธรรมดาๆ ไม่ได้ใช้คำศัพท์เลิศหรูอลังการแค่พจนานุกรมออนไลน์แล้วค้นคำจากความหมายก็น่าจะเพียงพอ หรือไปใช้ "คลังคำ" ห้องสมุดก็ได้ไม่จำเป็นต้องซื้อ แต่ถ้าใครคิดว่า ฉันจะเขียนๆๆ ไปตลอดชีวิต จะซื้อหามาใช้ก็ไม่ว่ากัน


    แล้วหนังสือเล่มนี้ใช้ยังไง

             ดูจากสารบัญจะแยกตามหมวดหมู่ เช่น หมวดที่ ๑ มนุษย์ ก็จะแยกย่อยออกมาเป็น หมวด ก-ฉ แล้วก็จะมีตัวเลขกำกับตามหลังอีกที เช่น ฉ ๑ การกิน แต่การหาตามหมวดหมู่ค่อนข้างยาก เพราะเรายังไม่ชินกับการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ ดังนั้นจึงมีตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งคือการค้นตามดัชนีท้ายเล่ม

             สมมติว่า เราจะค้นคำศัพท์เกี่ยวกับการกิน(เพราะเรื่องกินคือเรื่องสำคัญ!) เราก็หาคำว่า "กิน" จากดัชนีท้ายเล่ม ก็จะเจอแบบในรูป

     


             แล้วทีนี้ เราก็เปิดหา หมวด ฉ ๑, ฉ ๒ หน้า ๑๖๕, ฉ ๑๘๖ หน้า ๒๐๔ และ น ๒๒๓ หน้า ๕๗๒ ว่า "กิน" คำไหนที่เราต้องการใช้





             "กิน" ใช้ในเรื่องการพนันก็ได้ คำที่อยู่ด้านล่าง เป็นคำกริยา ส่วนคำนามก็มีเช่น สลากกินรวบ(ซึ่งหมายถึงหวยใต้ดินที่ไม่ว่ายังไงเจ้ามือก็เป็นฝ่ายได้กำไร เรียกว่า ได้กินแน่ๆ)

     

             บางที ในหมวดที่เราหาอาจจะมีการอ้างอิงถึงหมวดอื่นด้วย อยากจะค้นต่อก็ตามสะดวก

     


    ได้อะไรจาก "คลังคำ"

             คำศัพท์ที่หลากหลายในแต่ละหมวดหมู่ ทำให้เลือกใช้คำได้เหมาะสมกับงานเขียนของเรา นอกจากนี้ เราจะได้เห็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันอยู่ในหมวดข้างเคียงด้วย จากตัวอย่างข้างบน เราเจอคำในหมวด "การกิน" แล้วเราก็ยังเห็น "การกลืน" และ "การเอาของออกจากปาก" อยู่ใกล้ๆด้วย การเปิดหาคำแต่ละครั้ง จึงไม่เพียงได้แค่คำที่เราต้องการเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มพูนคำศัพท์ในคลังสมองของเราอีกด้วย


    ทิ้งท้ายอะไรไว้หน่อย

             ขอให้ทุกคนสนุกกับการใช้ภาษาไทย(ให้ถูกต้องและสละสลวย)นะคะ ^^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×