ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : [กริยา] นอน
นอน | ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน |
เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา | |
นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ | |
ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง | |
เช่น แนวนอน แปนอน |
ขี้เซา | ว. นอนปลุกให้ตื่นยาก. |
คุดคู้ | ว. ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น นอนคุดคู้. |
เค้เก้ | (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น |
หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้. |
ง่วง | ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน. |
ง่วงเหงาหาวนอน | ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก. |
งูบ | ก. ก้มหัวฟุบลงเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น. |
โงเง | ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, |
ยังงัวเงียอยู่. |
จำวัด | ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร). |
จำศีล | ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่ง |
ไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล. |
ซม | ว. อาการอย่างเป็นไข้ในระยะรุนแรงถึงกับนอนจนไม่อยาก |
ลืมตา เรียกว่า นอนซม. |
แซ่ว | ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่ |
หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า. |
ดิ้น ๑ | ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น |
ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, | |
ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, | |
ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด. |
ตะแคง | ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป. |
ทอดตัว | ก. เอนตัวลงนอน. |
นอนเอือก | ก. นอนอืดอย่างเกียจคร้าน. |
นอนเล่น | ก. นอนพักผ่อนโดยไม่คิดว่าจะหลับ. |
นอนตาไม่หลับ | ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย. |
บรรทม | [บัน-] (ราชา) ก. นอน, ประทม หรือ ผทม ก็ว่า. (ข. ผทม). |
แบ็บ | ว. อาการที่นอนอยู่กับที่ ลุกไม่ไหว ในลักษณะที่หมดกําลัง |
หรือเจ็บป่วย มีอาการเพียบเป็นต้น ในคําว่า นอนแบ็บ. |
แบ | ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้. |
ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น | |
นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้. |
แบหลา | [แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคําว่า นอนแบหลา. |
(กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้า | |
ในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลา | |
ครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา). |
ผทม | [ผะทม] ก. นอน (ใช้แก่เจ้านาย), ประทม หรือ บรรทม ก็ใช้. (ข. ผฺทํ). |
แผ่กระจาด | (ปาก) ก. นอนแผ่เต็มที่ เช่น ลงไปแผ่กระจาดอยู่บนร้านข้างโรง |
ยี่เกแล้ว. (รัตนทวารา). |
ผวา | [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว |
เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด | |
สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, | |
อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, | |
อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่. |
พลิกตัว | ก. เปลี่ยนท่านอนจากท่าหนึ่งเป็นอีกท่าหนึ่งเช่นจากนอนหงาย |
เป็นนอนตะแคง. |
พริ้ม | ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, |
เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม. |
พลิก | [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา |
พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา. |
ฟี่, ฟี้ | ว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อย |
ลมดังฟี้ นอนกรนฟี้. |
ม่อย | ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า |
เสียใจว่า หน้าม่อย. |
ม่อยกระรอก | (ปาก) ก. หลับ; ตาย. |
ไม่เป็นอัน | ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น |
ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน. |
แรมรอน | ก. หยุดพัก นอน. |
ระโหย | ก. อิดโรยเพราะหิวหรืออดนอนเป็นต้น. |
ลักหลับ | ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ. |
เลียแผล | (ปาก) ก. พักฟื้น เช่น ไปนอนเลียแผลเสียหลายวัน. |
สลบ | [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ |
เป็นลมล้มสลบ. |
สลบไสล | ก. อาการที่แน่นิ่งไม่ไหวติง, อาการที่หลับใหลจนไม่รู้สึกตัว, |
เช่น อดนอนมาหลายวัน วันนี้เลยนอนสลบไสล. |
สลบเหมือด | (ปาก) ก. สลบไสล. |
ไสยา | น. การนอน, ที่นอน. (ป. เสยฺยา; ส. ศยฺยา). |
สับเงา | ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน. |
สัปหงก | [สับปะหฺงก] ว. อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน. |
หงุบ, หงุบ ๆ | ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ. |
เอนกาย, เอนตัว, เอนหลัง | ก. นอน |
อดตาหลับขับตานอน | ก. สู้ทนอดนอน. |
เอ้เต | ว. นั่งหรือนอนปล่อยตัวตามสบายมีท่าสง่าผ่าเผย. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น