ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : [กริยา] กระโดด
กระโดด | ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยาย |
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์ | |
กระโดด. |
กระโจน | ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า. |
เขย่งเก็งกอย | ก. กระโดดตีนเดียว. น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง. |
โขยก | [ขะโหฺยก] ก. เดินหรือวิ่งด้วยอาการคล้ายกระโดด. |
เข่าลอย | น. ท่าต่อสู้ของกีฬามวยไทยโดยกระโดดให้ตัวลอยแล้วใช้เข่า |
กระแทกคู่ต่อสู้. |
โจม ๒ | ก. โถมเข้าไป, กระโดดเข้าไป, เช่น โจมจับ โจมฟัน. |
โจน | ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, |
กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น | |
นํ้าโจน. |
โดด ๑ | ก. กระโดด, กระโจน. |
แดะ | ก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้น |
ก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น. |
ดิ่งพสุธา | น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน |
เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก | |
ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา. |
เต้นแร้งเต้นกา, เต้นแร้งเต้นแฉ่ง | (สำ) ก. แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วย |
การกระโดดโลดเต้น. |
โพล่ง | [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า |
พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า. |
โลดเต้น | ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอก |
ดีใจเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น. |
ลิงโลด | ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความ |
ดีอกดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอล | |
ได้เขาก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. |
หย็อย, หย็อย ๆ | ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหว |
น้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ. |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ |
ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง | |
กระโดดหย็องแหย็ง ๆ. |
เหยง, เหยง ๆ | [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) |
ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี. |
ออกโขน | ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและ |
ออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ | |
เป็น ออกยักษ์ ออกโขน. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น