ลำดับตอนที่ #31
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #31 : [นาม] อาวุธ + กริยาที่เกี่ยวข้อง(กำลังเขียน)
[ดาบ]
[มีด]
[ธนู]
[ปืน]
[กริยา]
จุรี | (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ. (ข. จรี ว่า มีด, หอก, ดาบ). |
จรี | [จะ-] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา |
สองแขงขันหาก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.). |
ดาบ ๑ | น. มีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้ |
เป็นอาวุธสําหรับฟันแทง. |
ดาบปลายปืน | น. ดาบสั้นตรงสําหรับติดปลายปืน. |
ตาว ๑ | (โบ) น. ดาบ, มีดยาว. |
มีดดาบ | น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน |
ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก | |
ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก | |
ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า | |
มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, | |
ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง | |
ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้. |
แวง ๒ | น. ดาบ. |
แสง ๒ | น. อาวุธ, ศัสตรา, เครื่องมีคม, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระแสง เช่น |
พระแสงดาบ พระแสงปืน. |
อสิธารา | น. คมดาบ, คมศัสตรา. (ป., ส.). |
อสิ | น. ดาบ, มีด, กระบี่. (ป., ส.). |
[มีด]
กริช | [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรง |
ก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู. |
กำบิด | (โบ) น. กรรบิด, มีด. (ข. กําบิต). |
กรรบิด | [กัน-] น. มีด, ราชาศัพท์ว่า พระกรรบิด. (ข. กำบิต ว่า มีด). |
กั้นหยั่น | น. มีดปลายแหลม มีคม ๒ ข้าง ส่วนของใบมีดตั้งแต่กั่นถึงปลาย |
ใหญ่เท่ากัน เป็นอาวุธ ใช้เหน็บเอว, จีนใช้เป็นเครื่องหมายกันจัญไร | |
เช่นในรูปสิงโตคาบกั้นหยั่น. |
ซุย ๑ | น. มีดชนิดหนึ่ง รูปเรียวแหลม. |
โต้ ๑ | น. ชื่อมีดชนิดหนึ่ง สันหนา หัวโต, อีโต้ ก็เรียก. |
มีดโอ | น. มีดกราย. |
มีดอีเหน็บ | น. มีดเหน็บ. |
มีดอีเหลียน | น. มีดเหลียน. |
มีดเสียม | น. มีดหัวเสียม. |
มีดสั้น | น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่สันบางกว่า. |
วาสี ๒ | น. มีด, พร้า. (ป., ส.). |
เสน่า | [สะเหฺน่า] น. มีดสั้นสำหรับเหน็บประจำตัว. |
สัตถ ๓ | (แบบ) น. อาวุธ, มีด, หอก. (ป.; ส. ศสฺตฺร). |
เหลียน | [เหฺลียน] น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนา |
และโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถาง | |
ป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, อีเหลียน ก็เรียก. (จ.). |
อสิ | น. ดาบ, มีด, กระบี่. (ป., ส.). |
[ธนู]
ธนู | ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง |
และลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู | |
เป็นราศีที่ ๘ ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ). |
กุทัณฑ์ | น. เกาทัณฑ์, ธนู. |
เกาทัณฑ์ | น. ธนู, กุทัณฑ์ ก็ใช้. (ป., ส. โกทณฺฑ). |
จาป ๑ | [จาบ, จาปะ] (แบบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วย |
ลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.). |
ธนุ, ธนุรญ | (แบบ) น. ธนู. (ป.). |
อุสุ | น. ธนู, หน้าไม้, เครื่องยิง. (ป.; ส. อิษ). |
สินาด | น. หน้าไม้, ปืน. |
ศร | [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร |
กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, | |
เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.). |
หน้าไม้ | น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ |
ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้. |
[ปืน]
กำเพลิง | [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง). |
ขานกยาง ๑ | น. ปืนโบราณที่ตั้งยิงบนขาคํ้า; เรียกตรวนที่มีลูกย่าง ๒ อันว่า |
ตรวนขานกยาง. |
คำเพลิง | [-เพฺลิง] น. ปืน. (ข. กําเภลิง). |
เต้าปืน | น. ฐานชนวนปืนโบราณที่มีลักษณะนูนขึ้น สําหรับ |
โรยดินหู. |
ท้ายสังข์ | น. ท้ายสุดของปืนใหญ่แบบไทย มีลักษณะงอนคล้ายก้นของหอยสังข์. |
ทองปราย | (โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปรายทุกคน. |
(รามเกียรติ์ ร. ๑). |
นมหนู | น. ส่วนของปืนที่สวมแก๊ปเพื่อให้ประกายเข้าไปเผาดินปืนข้างใน; ส่วน |
ของเครื่องใช้เป็นปุ่มมีรูเพื่อให้ฉีดนํ้ามันออกมา เช่น นมหนูตะเกียง | |
นมหนูเครื่องยนต์. |
บาเรียม | น. ปืนใหญ่โบราณชนิดหนึ่ง. |
ปืนกล | น. ปืนที่มีกลไกยิงได้เร็วมาก. |
ปืนพก | น. ปืนขนาดเล็ก สำหรับพกพาติดตัวไปได้. |
ปืนครก | น. ปืนใหญ่ที่มีลำกล้องสั้นลักษณะคล้ายครก |
ปืนเล็กยาว | น. ปืนเล็กที่มีลำกล้องยาวติดดาบปลายปืนได้. |
ปืนเล็ก | น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างต่ำกว่า ๒๐ มิลลิเมตร ลงมา. |
มณฑก ๒ | [-ทก] (โบ) น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook). |
รังเพลิง | น. ส่วนท้ายของลํากล้องปืนเป็นที่บรรจุลูกปืนในตําแหน่ง |
พร้อมที่จะจุดชนวน. |
รังปืนกล | น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ |
ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป. |
รางปืน | น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท |
ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ | |
เป็นต้น. |
ลำบุ | (โบ) น. ปืนใหญ่, เขียนเป็น ละบู ก็มี. |
ลำกล้อง | น. ส่วนของปืนที่มีลักษณะยาวกลวง, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ |
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลํากล้องกล้องโทรทรรศน์. |
ลูกโม่ | น. วัตถุทําด้วยหิน เหล็ก ทองเหลือง เป็นต้น ให้มีรูปกลม ๆ |
ใช้โม่หรือบดสิ่งของ; ส่วนของปืนที่บรรจุกระสุน เมื่อลั่นไก | |
แล้วหมุนได้เพื่อให้ลูกปืนตรงกับลํากล้อง. |
ลูกปราย | น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้องปืน |
ครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน | |
ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่ | |
กับดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซอง | |
ใช้กระสุนลูกปราย. |
ศิลาปากนก | น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืน |
โบราณบางชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, หินปากนก | |
ก็เรียก. |
อาฏานา | น. เรียกชื่อพิธียิงปืนเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจตามประเพณีความเชื่อ |
ในระหว่างพระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตรในวันทําพิธีตรุษว่า ยิง | |
ปืนอาฏานา, อัฏนา ก็ว่า. |
[กริยา]
กวัด | [กฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา, ใช้เข้าคู่กับคํา |
แกว่ง เป็น กวัดแกว่ง หรือ แกว่งกวัด หรือใช้เข้าคู่กับคำ ไกว เป็น | |
กวัดไกว. |
กระวัด | [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. |
(สรรพสิทธิ์). |
จำทวย ๒ | (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรํา, เช่น จําทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ). |
ควง | ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ |
ร่อน | ก. อาการของสิ่งมีลักษณะแบนเลื่อนลอยไปหรือมาในอากาศ, ทำให้ |
สิ่งแบน ๆ เคลื่อนไปในอากาศหรือบนผิวน้ำ เช่น ร่อนรูป ร่อนกระเบื้อง | |
ไปบนผิวน้ำ; กางปีกแผ่ถาไปมาหรือถาลง เช่น นกร่อน เครื่องบินร่อน | |
ลง; แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่ง | |
เป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว, | |
แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ; เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หิน | |
ในคําว่า ร่อนมีด. |
ลงดาบ | ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น |
เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ. |
คล่องมือ | ว. ถนัดมือ, เหมาะกับมือ, เช่น มีดเล่มนี้ใช้คล่องมือ; สะดวก, |
ไม่ขาดแคลน, เช่น เขามีเงินใช้คล่องมืออยู่เสมอ. |
ควั่น | [คฺวั่น] น. ที่ต่อขั้วผลไม้หรือดอกที่เป็นรอยรอบเช่นที่ก้านผลขนุนหรือ |
ทุเรียนเป็นต้น. ก. ทําให้เป็นรอยด้วยคมมีดโดยรอบ. ว. เรียกอ้อยที่ | |
ควั่นให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น. |
ผ่า | ก. ทําให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน, |
โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทําให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า; | |
แหวกเข้าไป เช่น ผ่าเข้าไป; ฟาดฟันลงไป; (ปาก) ทำสิ่งที่ไม่น่า | |
จะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไป | |
กลางวงแทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้. |
พลิ้ว | [พฺลิ้ว] ก. บิด, เบี้ยว, เช่น คมมีดพลิ้ว; สะบัดเป็นคลื่นไปตามลม |
เช่น ธงพลิ้ว. |
ลงมีด | ก. จดมีด คือ เริ่มฟัน. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น