ลำดับตอนที่ #20
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : [ความรู้สึก] เสียใจ, เศร้า, ร้องไห้
กำสรวล | [-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, คร่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรด |
สงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง | |
ทานกัณฑ์). (โบ กําสรวญ). |
ซึมเศร้า | ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม |
ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความ | |
รู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น. |
ต่ำใจ | ก. น้อยใจ, เสียใจ, ใช้คู่กับ น้อยเนื้อ เป็น น้อยเนื้อ |
ตํ่าใจ. |
ตีโพยตีพาย | ก. แกล้งร้องหรือทําโวยวายเกินสมควร, |
แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ. |
น้ำตาเช็ดหัวเข่า | (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก. |
น้ำตาตกใน | (สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ. |
ฟูมฟาย | ก. ทําฟองให้มาก, เล่นฟองนํ้า. ว. อาการที่มีนํ้าตานองหน้า เช่น |
ร้องไห้ฟูมฟาย; มากมาย, ล้นเหลือ, สุรุ่ยสุร่าย เช่น ใช้เงินฟูมฟาย | |
คือ จับจ่ายใช้สอยเกินสมควร. |
มืออ่อนตีนอ่อน | ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ |
ร้องไห้ | ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น |
เจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำ | |
ร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้. |
ระงม | ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น |
ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม. |
ระทม | ก. เจ็บชํ้าระกําใจ. |
ละห้อย | ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความ |
สงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความ | |
ผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย. |
ล้มทั้งยืน | ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, |
โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวัง | |
อย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิด | |
มาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน. |
วิปโยค, วิประโยค | [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, |
ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. | |
(ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค). |
โศก ๑, โศก | [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, |
เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). | |
ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า | |
เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. | |
(ส.; ป.โสก). |
โศกสลด | ว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึง |
มักจะทำให้น้ำตาไหล. |
เศร้าหมอง | ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง |
หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง. |
เศร้าสร้อย | ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง |
หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย | |
ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. |
เศร้าโศก | ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตาย |
ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า. |
สลด | [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น |
หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยง | |
หรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด |
สะเทือนอารมณ์ | ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ |
ทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่อง | |
เศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์. |
หดหู่ | ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม |
แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ | |
เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่. |
หน้าเสีย | ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา |
หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น