ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #18 : [ความรู้สึก] โกรธ

    • อัปเดตล่าสุด 26 ก.ค. 52



    โกรธา [โกฺร-] (กลอน) ก. โกรธ.

    โกรธเกรี้ยว ก. โกรธจัด, เกรี้ยวโกรธ ก็ว่า.

    โกรธขึ้ง ก. โกรธเอาจริงเอาจัง, โกรธมาก, ขึ้งโกรธ ก็ว่า.

    กระเง้ากระงอด ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, เง้างอด หรือ เง้า ๆ งอด ๆ
    ก็ว่า.

    ขึ้งเคียด ก. โกรธอย่างชิงชัง.

    ขุ่นแค้น ก. โกรธอย่างเจ็บใจ.

    ขัดแค้น ก. โกรธเจ็บใจอยู่ไม่หาย.

    ขัดเคือง ก. โกรธเพราะถูกขัดใจเป็นต้น.

    ขุ่นเคือง ก. โกรธกรุ่น ๆ อยู่ในใจ, เคืองขุ่น ก็ว่า.

    เคียด ก. เคือง, โกรธ.

    คั่งแค้น ก. โกรธอัดอั้นอยู่ในใจ.

    เคียดแค้น ก. โกรธแค้น, เคืองแค้น.

    งุ่นง่าน ก. โกรธฮึดฮัด, กระวนกระวายผุดลุกผุดนั่ง, ง่าน.

    เง้างอด, เง้า ๆ งอด ๆ ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า.

    ใจน้อย ว. โกรธง่าย.

    ฉุนเฉียว ว. ฉุนจัด, โกรธง่าย, โกรธเร็ว, เฉียวฉุน ก็ว่า.

    เดือดดาล ก. โกรธมาก, โกรธพลุ่งพล่าน, ดาลเดือด ก็ใช้.

    ตงิด [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก)
    เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.

    ตีวัวกระทบคราด (สํา) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทําอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไป
    รังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถ
    ทําได้.

    บาดหมาง ก. โกรธเคืองกัน, หมองใจกัน, ผิดใจกัน.

    ป่อง ๓, ป่อง ๆ ว. อาการของคนโกรธแกมงอน ในคําว่า โกรธป่อง ๆ.

    พื้นเสีย ก. โกรธ.

    พิโรธ (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ใช้ว่า ทรงพระพิโรธ. (ป., ส. วิโรธ ว่า
    การขัดขวาง).

    ไฟสุมขอน น. ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึง
    อารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ.

    เมิน ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.

    มึนตึง ก. แสดงอาการออกจะโกรธ ๆ ไม่พูดด้วย ไม่มองหน้า.

    โมโห ก. โกรธ.

    มีหน้า ว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น),
    มักใช้กับคํา ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก

    มุทะลุ ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ
    ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ
    โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.

    ร้าวฉาน ว. แตกร้าว, แตกร้าวกัน, โกรธเคืองกัน, เช่น การทะเลาะ
    เบาะแว้งทำให้เกิดร้าวฉานกัน.

    เร่า, เร่า ๆ ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ
    โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.

    เลือดร้อน ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.

    เลือดขึ้นหน้า (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.

    ลุแก่โทสะ, ลุโทสะ ก. บันดาลโทสะ, โกรธมาก, เช่น เขาทำร้ายผู้อื่นด้วยลุ
    แก่โทสะ.

    หันหลังให้กัน (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.

    หัวเสีย ว. หงุดหงิด, มีอารมณ์โกรธค้างอยู่.

    หน้าตูม ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม
    เชียว.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×