ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #20 : [ความรู้สึก] เสียใจ, เศร้า, ร้องไห้

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 37.19K
      43
      26 ก.ค. 52


    กำสรวล [-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, คร่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรด
    สงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง
    ทานกัณฑ์). (โบ กําสรวญ).

    ซึมเศร้า ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม
    ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความ
    รู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.

    ต่ำใจ ก. น้อยใจ, เสียใจ, ใช้คู่กับ น้อยเนื้อ เป็น น้อยเนื้อ
    ตํ่าใจ.

    ตีโพยตีพาย ก. แกล้งร้องหรือทําโวยวายเกินสมควร,
    แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ.

    น้ำตาเช็ดหัวเข่า (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.

    น้ำตาตกใน (สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.

    ฟูมฟาย ก. ทําฟองให้มาก, เล่นฟองนํ้า. ว. อาการที่มีนํ้าตานองหน้า เช่น
    ร้องไห้ฟูมฟาย; มากมาย, ล้นเหลือ, สุรุ่ยสุร่าย เช่น ใช้เงินฟูมฟาย
    คือ จับจ่ายใช้สอยเกินสมควร.

    มืออ่อนตีนอ่อน ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ

    ร้องไห้ ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น
    เจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำ
    ร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้.

    ระงม ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น
    ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.

    ระทม ก. เจ็บชํ้าระกําใจ.

    ละห้อย ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความ
    สงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความ
    ผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.

    ล้มทั้งยืน ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน,
    โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวัง
    อย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิด
    มาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.

    วิปโยค, วิประโยค [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย,
    ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค.
    (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).

    โศก ๑, โศก [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ,
    เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย).
    ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า
    เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง.
    (ส.; ป.โสก).

    โศกสลด ว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึง
    มักจะทำให้น้ำตาไหล.

    เศร้าหมอง ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง
    หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.

    เศร้าสร้อย ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง
    หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย
    ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า.

    เศร้าโศก ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตาย
    ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า.

    สลด [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น
    หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยง
    หรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด

    สะเทือนอารมณ์ ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ
    ทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่อง
    เศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.

    หดหู่ ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม
    แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่
    เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.

    หน้าเสีย ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา
    หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×