ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #6 : [กริยา] นอน

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.พ. 52



    นอนก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน
    เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา
    นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ
    ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง
    เช่น แนวนอน แปนอน

    ขี้เซา ว. นอนปลุกให้ตื่นยาก.

    คุดคู้ ว. ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น นอนคุดคู้.

    เค้เก้ (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น
    หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้.

    ง่วง ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน.

    ง่วงเหงาหาวนอน ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก.

    งูบ ก. ก้มหัวฟุบลงเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.

    โงเง ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่,
    ยังงัวเงียอยู่.

    จำวัด ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).

    จำศีล ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่ง
    ไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล.

    ซม ว. อาการอย่างเป็นไข้ในระยะรุนแรงถึงกับนอนจนไม่อยาก
    ลืมตา เรียกว่า นอนซม.

    แซ่ว ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่
    หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.

    ดิ้น ๑ ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น
    ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้,
    ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา,
    ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.

    ตะแคง ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป.

    ทอดตัว ก. เอนตัวลงนอน.

    นอนเอือก ก. นอนอืดอย่างเกียจคร้าน.

    นอนเล่น ก. นอนพักผ่อนโดยไม่คิดว่าจะหลับ.

    นอนตาไม่หลับ ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย.

    บรรทม [บัน-] (ราชา) ก. นอน, ประทม หรือ ผทม ก็ว่า. (ข. ผทม).

    แบ็บ ว. อาการที่นอนอยู่กับที่ ลุกไม่ไหว ในลักษณะที่หมดกําลัง
    หรือเจ็บป่วย มีอาการเพียบเป็นต้น ในคําว่า นอนแบ็บ.

    แบ ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้.
    ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น
    นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.

    แบหลา [แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคําว่า นอนแบหลา.
    (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้า
    ในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลา
    ครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).

    ผทม [ผะทม] ก. นอน (ใช้แก่เจ้านาย), ประทม หรือ บรรทม ก็ใช้. (ข. ผฺทํ).

    แผ่กระจาด (ปาก) ก. นอนแผ่เต็มที่ เช่น ลงไปแผ่กระจาดอยู่บนร้านข้างโรง
    ยี่เกแล้ว. (รัตนทวารา).

    ผวา [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว
    เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด
    สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น,
    อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา,
    อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.

    พลิกตัว ก. เปลี่ยนท่านอนจากท่าหนึ่งเป็นอีกท่าหนึ่งเช่นจากนอนหงาย
    เป็นนอนตะแคง.

    พริ้ม ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า,
    เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.

    พลิก [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา
    พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา.

    ฟี่, ฟี้ ว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อย
    ลมดังฟี้ นอนกรนฟี้.

    ม่อย ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า
    เสียใจว่า หน้าม่อย.

    ม่อยกระรอก (ปาก) ก. หลับ; ตาย.

    ไม่เป็นอัน ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น
    ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.

    แรมรอน ก. หยุดพัก นอน.

    ระโหย ก. อิดโรยเพราะหิวหรืออดนอนเป็นต้น.

    ลักหลับ ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ.

    เลียแผล (ปาก) ก. พักฟื้น เช่น ไปนอนเลียแผลเสียหลายวัน.

    สลบ [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ
    เป็นลมล้มสลบ.

    สลบไสล ก. อาการที่แน่นิ่งไม่ไหวติง, อาการที่หลับใหลจนไม่รู้สึกตัว,
    เช่น อดนอนมาหลายวัน วันนี้เลยนอนสลบไสล.

    สลบเหมือด (ปาก) ก. สลบไสล.

    ไสยา น. การนอน, ที่นอน. (ป. เสยฺยา; ส. ศยฺยา).

    สับเงา ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.

    สัปหงก [สับปะหฺงก] ว. อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.

    หงุบ, หงุบ ๆ ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.

    เอนกาย, เอนตัว, เอนหลัง ก. นอน

    อดตาหลับขับตานอน ก. สู้ทนอดนอน.

    เอ้เต ว. นั่งหรือนอนปล่อยตัวตามสบายมีท่าสง่าผ่าเผย.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×