ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : [กริยา] กิน, ดื่ม
กิน | ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, |
ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่า | |
เปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน | |
หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ | |
โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง. |
กระเดือก ๒ | (ปาก) ก. กลืนอย่างลําบาก เช่น กระเดือกไม่ลงคอ |
เต็มกระเดือก. |
ก๊ง | (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้น |
ตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. |
กลั้วคอ | ก. ดื่มน้ำแต่น้อย ๆ พอให้ชุ่มคอ. |
ของค้าง | น. ของกินที่เหลือข้ามคืน. |
ของขบเคี้ยว | น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม. |
เครื่องเซ่น | น. ของกินของไหว้ผี. |
คอสูง | ว. ชอบกินหรือใช้ของดีราคาแพง. |
แค้นคอ | ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอกลืน |
ไม่สะดวก. |
เครื่องว่าง | (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกิน |
ในเวลาบ่าย. |
ง่ำ, ง่ำ ๆ | ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง. |
จิบ ๑ | ก. ลิ้ม, ดื่มทีละนิด. |
จุบจิบ | ว. อาการที่กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กิน |
เป็น กินจุบกินจิบ, โบราณใช้ว่า กระจุบกระจิบ ก็มี. |
ฉัน ๒ | ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร). |
ซด | ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด. |
ซี้ด | ว. เสียงอย่างเสียงสูดปากเช่นกินอาหารเผ็ดเป็นต้น. |
ดื่ม | ก. กินของเหลวเช่นนํ้า. |
ดื่มด่ำ ว. ซาบซึ้ง. |
เดน | น. ของเหลือที่ไม่ต้องการแล้ว เช่น คนกินเดน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ |
เหลือเลือกแล้ว ทิ้งแล้ว ไม่ต้องการแล้วเป็นต้น เช่น ผลไม้เดนเลือก. |
แดก ๑ | ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่าง |
เกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยา | |
อย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่ง | |
ที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ. |
ดวด ๑ | น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง. |
(ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก) | |
ทีเดียว. |
ตะบันน้ำกิน | (สำ) ว. แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว. |
เต็มคราบ | (ปาก) ว. เต็มแทบจะล้นกระเพาะ (ใช้แก่กริยา |
กินหรืออิ่ม). |
ตำข้าวสารกรอกหม้อ | (สํา) ก. หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ, ทําพอให้ |
เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ. |
ถุน | (ปาก) ก. กินหรือเสพพอแก้ขัด เช่น ถุนขี้ยา. |
ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา | ก. ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกสั้น ๆ ว่า ถือนํ้า ก็มี |
ผิดน้ำ | ก. ดื่มนํ้าจากแหล่งที่ไม่เคยกินจนทำให้ไม่สบาย; ทำผิดจากคำ |
ปฏิญาณเมื่อดื่มน้ำสาบาน ทำให้ได้รับผลร้าย; อาการที่ปลา | |
หายใจไม่สะดวกเมื่อปล่อยลงไปในแหล่งน้ำที่แปลกไป ในคำว่า | |
ปลาผิดน้ำ. |
ท้องยุ้งพุงกระสอบ | (สํา) น. คนกินจุ. (ปาก) ว. ที่กินจุผิดปรกติ. |
น้ำลายสอ | (ปาก) ว. อาการที่อยากมาก ในความเช่น อยากกินจนนํ้าลายสอ. |
บาดคอ | ก. รู้สึกคล้ายระคายคอเนื่องจากกินของที่มีรสหวานจัดเย็นจัดเป็นต้น. |
ปริภุญช์ | [ปะริพุน] ก. กิน. (ป., ส.). |
ปะลอม | ก. กิน, กินมูมมาม, กินโดยตะกละตะกลาม |
ปาม | ก. ขยุ้มด้วยมือ, ซุ่มซ่ามเข้าไป, กินอย่างตะกละ. |
ผิดสําแดง, ผิดสำแลง | ก. กินอาหารแสลงไข้ ทําให้โรคกําเริบ. |
ฝากท้อง | (ปาก) ก. อาศัยกินด้วย, ขอกินด้วย; ฝากครรภ์. |
ฟาด | ก. หวด, เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว ฟาดผ้า จระเข้ฟาดหาง; |
(ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย ๓ ชาม. |
ภัตกิจ | น. การกินอาหาร. |
ภุช ๒, ภุชะ | [พุด, พุชะ] ก. กิน. (ป., ส.). |
มันเขี้ยว | ก. อยากกัดอยากกินอยู่เรื่อย ๆ. |
ไม่หวาดไม่ไหว | ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว. |
รองท้อง | ก. กินพอกันหิวไปก่อน. |
รับประทาน | ก. กิน เช่น รับประทานอาหาร; (ราชา) รับของจากเจ้านาย เช่น |
รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจาก | |
พระองค์เจ้า. |
ร่ำสุรา | (ปาก) ก. ดื่มสุราแล้วดื่มสุราเล่า. |
รวดเดียว | น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียว |
จบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียว | |
เช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด. |
ล้างคอ | ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ |
ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อ | |
ล้างรสขื่นของเหล้า. |
เลี้ยงโต๊ะ | ก. เลี้ยงแขกอย่างกินโต๊ะ. |
ล้มโต๊ะ | ก. กินแล้วหาเรื่องไม่จ่ายทรัพย์. |
ลาภปาก | น. ของกินที่มักได้มาโดยไม่คาดคิด. |
สวาปาม | [สะหฺวา] ก. ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, (ปาก) |
กินอย่างตะกละ. |
เสวย ๑ | [สะเหฺวย] (ราชา) ก. กิน, เสพ, เช่น เสวยพระกระยาหาร |
เสวยพระสุธารส; ครอง เช่น เสวยราชย์. (ข. โสฺวย). |
หม่ำ | (ปาก) ก. กิน (มักใช้แก่เด็กทารก). |
เอาน้ำลูบท้อง | (สํา) ก. อดทนในยามยากโดยกินน้ำแทนข้าว. |
อด ๆ อยาก ๆ | ก. กินอยู่อย่างฝืดเคือง, มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง. |
โฮก | ว. อาการคำรามของเสือ, อาการเห่ากระโชกของหมา; เสียงซดอาหาร |
ที่เป็นนํ้าดัง ๆ. | |
โฮกอือ น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้ปลาแห้งหรือหัวปลาแห้งเป็นต้น | |
ต้มกับหัวหอม ส้มมะขามหรือใบมะขามอ่อน แล้วเติมเกลือให้ออก | |
รสเปรี้ยวเค็ม, ต้มโคล้ง ก็เรียก. | |
โฮกฮาก ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง, | |
มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกโฮกฮาก. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น