ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #7 : ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

    • อัปเดตล่าสุด 16 ธ.ค. 54


     
     ศิลปะแบบบารอก

         1. ศิลปะแบบบารอก (Baroque) พัฒนามาจากศิลปะแบบเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) ผลงานที่ปรากฎมักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน
         2. ศิลปะแบบบารอกในความหมายทางวรรณกรรม หมายถึง การเขียนที่มุ่งพัฒนาสติปัญญา เน้นความรู้ และวิธีการสืบสวนตามหลักวิทยาศาสตร์ และสะท้อนถึงความปรารถนาที่จะมอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม แต่ให้ความสำคัญแก่อารมณ์และใช้พฤติกรรมของมนุายืเป็นโครงเรื่องสำคัญ
         3. ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป้นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

    งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบารอก
              1. งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบและเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา จิตรกรที่มีชื่อเสียง คือ เรมบรานด์ (Rembarndt) และรูเบนส์ (Rubens)
               2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวซายส์ (Versailles) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส


     
    พระราชวังแวซายส์

              3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่


               โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

              4. งานด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น

    ลัทธิคลาสสิกใหม่

                   ได้รับความนิยมในยุโรปประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนความรู้สึก ความเชื่อ และทัศนคติอย่างสิ้นเชิง เพราะจากความสำเร็จในการปฏิวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล มีความสามารถ เฉลียวฉลาด รู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เรียกว่าเป็นสมัยแห่งภูมิธรรม
                         1. สถาปัตยกรรม มีการฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัย นั้น มีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลได้สัดส่วน 
                         2. ประติมากรรม และจิตรกรรม ประติมากรรมคลาสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบ
                         3. ประติมากรรมของกรีก-โรมัน ส่วนจิตรกรรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย คล้ายกับผลงานของกรีกโบราณ
                        4. นาฏกรรม ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลินฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก

    ลัทธิจินตนิยม

                ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณื และความ รู้สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และต้องการกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลก แตกต่างออกไปจากดินแดนต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล

                             1. สถาปัตยกรรม มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตกรรมแบบกอทิก

                            2. ประติมากรรม ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิดประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว รูเด(Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติมากรรมนูนสูงมาร์ซายแยส(Marseillaise) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย(Arch of Triumph)ในกรุงปารีส


    ประตูชัยที่กรุงปารีส (Arc de triomphe de l'Étoile)

                              3. จิตรกรรม มีการจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์(Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863) ผู้เขียนภาพเสรีนำประชาชน(Liberty leading the people) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830

     

    ภาพเสรีนำประชาชน

                             4.  ดนตรี ดนตรีแนวจินตนิยมไม่ได้แต่งเพื่อฟังเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจด้วย เช่น ความรู้สึกชาตินิยม โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตาม นักแต่งเพลงจินตนิยมที่มีชื่อเสียงได้แก่ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven ค.ศ.1770-1827) ฟรานซ์ ชูเบิร์ต(Franz Schubert ค.ศ.1797-1828) เป็นต้น

                            5. การละคร นิยมแสดงเรื่องที่ตัวเอกประสบปัญหาอุปสรรค หรือมีข้อขัดแย้งในชีวิตอย่างสาหัส ซึ่งจะดึงอารมณ์ของผู้ชมให้เอาใจช่วยตัวเอก การเขียนบทไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนอย่างละครคลาสสิก ละครแนวจินตนิยมกำเนิดในเยอรมนี บทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เรื่องเฟาสต์(Faust)ของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ(Johanne Wolfgang von Goethe ค.ศ.1749-1832)
                           6. วรรณกรรม เน้นจินตนาการ และอารมณ์ และถือว่าควมต้องการของผู้ประพันธ์สำคัญกว่าความต้องการของคนในสังคม บทร้อยกรองประเภทคีตกานต์(lyric) ซึ่งเป็นโคลงสั้นๆแสดงอารมณ์ของกวีได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนี้ กวีคนสำคัญของอังกฤษ คือ วิลเลียม เวิดส์เวิร์ท(William wordsworth ค.ศ.1770-1850) และ แซมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์(Samuel Taylor Colridge ค.ศ.1772-1834) กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก(Victor Marie Hugo ค.ศ.1802-1885) นอกจาแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยาย นวนิยายที่มีชื่เสียงมาก คือ เหยื่ออธรรม (Les Miserables) 

    ลัทธิสัจนิยม (Realisticism)

                     ตั้งแต่ปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เป็นสมัยแห่งความเจริญทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สังคมของยุโรปเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การใช้ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบทุนนิยม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกรรมกรกับนายทุน ขณะเดียวกันก็เกิดแนวความคิดแบบสังคมนิยม ซึง่ต่อต้านระบบนายทุน ต้องการให้ชนชั้นแรงงานเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจทางสังคมและการ เมือง อย่างไรก็ตามชนชั้นกลางหรือนายทุนก็ยังสามารถรักษาสถานภาพและอำนาจในสังคม ของตนไว้ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้แนวความคิดทางศิลปะหันเหจากแนวจินตนิยมมาเป็น แนวสัจนิยม ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิต โดยต้องการให้เห็นว่าโลกที่แท้จริงไม่ได้งดงามตามแบบที่พวกจินตนิยมเชื่อถือ กัน ชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู้ มีการเอารัดเอาเปรียบและการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นในสังคม

                    ลักษณะ เด่นของสัจนิยม คือ การแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสังคม เปิดโปงความชั่วร้ายของพวกนายทุน และความไม่ยุติธรรมที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้รับ มักจะเน้นชีวิตของพวกกรรมกรที่ทุกข์ยาก ชุมชนแออัด ความสับสนวุ่นวายในเมือง สภาพของคนที่ยากไร้ การเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มคนที่มีฐานะดีกว่า ส่วนมากจะเป็นรายละเอียดของชีวิตประจำวันทุกด้านตามความเป็นจริง พวกสัจนิยมไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวกจินตนิยม นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลาง
                1.
    ด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ แทนอิฐ ไม้ เหมือนแต่ก่อน อาคาร ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดในเนื้อที่จำกัด การออกแบบจึงต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความงามทางศิลปะด้วย
                2.
    ประติมากรรม นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวรูปปั้นหยาบ ไม่เรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง (August Rodin ค.ศ.1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The Thinker) หล่อด้วยสำริด

      

    นักคิด (The Thinker) รูปหล่อสำริด


                3. จิตรกรรม มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชนบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ (Gustave Courbet ค.ศ. 1819-1877) ซึ่งยึดหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาแลเห็น

     

    ภาพร่อนข้าวโพด (
    The Corn Sifters) โดย  กุสตาฟว์ กูร์แบ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×