ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #6 : ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย

    • อัปเดตล่าสุด 16 ธ.ค. 54


     
                   นับตั้งแต่สังคมยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นต้นมา ได้ปรากฏให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการก่อตัวของรัฐสมัยใหม่ การขยายตัวทางการค้าและชนชั้นกลางที่สัมพันธ์กับการค้า รวมถึงความก้าวหน้าทางความคิดแบบเหตุผลนิยม มนุษย์นิยม

            ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นมิได้หยุดนิ่ง หากแต่มีพัฒนาการหรือทวีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางความคิดและวิทยาศาสตร์ อันนำมาสู่การขยายตัวของการแสวงหาความจริงด้วยเหตุผลและการแสวงหาความรู้จากการสังเกตและประสบการณ์ ตัวอย่างของความเจริญทางปัญญาสะท้อนเด่นชัดผ่านคำกล่าวของนิวตันที่ว่า “ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถค้นหาได้ โดยอาศัยที่รู้จักคิด” ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจแต่ประการใดที่จะมีการเรียกขานศตวรรษที่ 18 – 19 ว่าเป็น ยุคภูมิธรรม หรือยุครู้แจ้ง 

    1. นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย

    ทอมัส  ฮอปส์ (ค.ศ.1588 - 1679)



    1
    เสนอว่าอำนาจการปกครองต้องรวมอยู่ที่บุคคลคนเดียวเพื่อมิให้มนุษย์กลับไปสู่สภาพธรรมชาติของตนที่เลวร้าย กษัตริย์มีอำนาจการปกครองสูงสุด มนุษย์ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่กษัตริย์บัญญัติขึ้น

    2เน้นว่าอำนาจของกษัตริย์มาจากความยินยอมของประขาชนมิได้มาจาสกลัทธิเทวสิทธิ์
    3เสนอว่ามนุษย์ควรเชื่อด้วยเหตุผลและวิธีทางวิทยาศาสตร์ เขายอมรับพระเจ้าแต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา
    ผลงาน หนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan
    จอห์น  ล็อค (ค.ศ.1632-1704)

     

    1. ประชาชนทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ คือ สิทธิในชีวิตเสรีภาพ และทรัพย์สิน

    2. ไม่เห็นด้วยกับโทมัส ฮอบส์ที่ว่าให้รวมอำนาจปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น
    3. มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคม ประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้
    4. เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดแบ่งแยกอำนาจ
    5. อำนาจอธิปไตยยังเป็นของประชาชนส่วนใหญ่อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงมาจากประชาชน ทุกคนมีความเสมอภาคทางงกฎหมายรัฐมีหน้าที่หลักคือรักษาสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์
    6. แนวคิดของเขาเป็นทั้งทฤษฎีประชาธิปไตยและทฤษฎีการปฏิวัติและมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักปฏิวัติชาวอเมริกันและชาวฝรั่งเศส
    ผลงานหนังสือ Two Treaties of Government
    มองเตสกิเออร์ (ค.ศ.1689-1755)

     

    1. ทฤษฎีแบ่งอำนาจการเมือง 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ

    2. ระบบการปกครองต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและประวัติศาสต์ของแต่ละสังคม
    3. การปกครองที่ดีที่สุดคือให้กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

    ผลงาน The Spirit of Laws  
    วอลแตร์ (ค.ศ.1694-1778)

     

    1. เน้นเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและนับถือศาสนาแนวคิดของเขามีอิทธิพลต่อความคิดของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชในการพัฒนาและปฏิรูป ปรัสเซีย ให้เข้าสู่ยุคภูมิธรรม

    2. “แม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับที่ท่านพูดมาแม้แต่น้อย แต้ข้าพเจ้าจะปกป้องสิทธิ์ในการพูดของท่านอย่างสุดชีวิต

    ผลงาน จดหมายปรัชญา  (The Philo-sophical Letters) หรืออีกชื่อคือ จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letters on the English) 
    ชอง-ชาคส์ รูโซ (ค.ศ.1712-1778)

     

    1. เจ้าทฤษฎี อำนาจอธิปไตยของประชาชน” 

    2. เน้นเรื่อง เจตจำนงร่วมของประชาชน” (General Will) คืออำนาจสูงสุดในการปกครอง
    3. เสนอว่ามนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นองค์อธิปัตย์คือองกรที่มีอำนาจสูงสุดดังนั้นรัฐบาลต้องยอมรับเจตจำนงทั่วไปของประขาขนรัฐบาลต้องสร้างความเสมอภาคให้การศึกษาจัดระบบกิจการคลังที่ดี มีระบบการเก็บภาษีมรดกและสิ่งฟุ่มเฟือย
    4. มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาสลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคมประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้
    5. มีผลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเสรีภาพ เสมอภาพ ภารดรภาพ” 
    6.“มนุษย์เกิดมาอิสระแต่ทุกหนทุกแห่งเขาตกอยู่ในพันธนาการ

    ผลงาน สัญญาประชาคม


    2.  การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ

              หลังจากสงครามกลางเมือง (Civil War) ค.ศ.1642-1649 กษัตริย์อังกฤษพระเจ้าชาร์ลสที่ ถูกสำเร็จโทษ อังกฤษปกครองระบอบสาธารณรัฐชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีการปราบผู้ที่ไม่เห็นด้วย  ถือว่าเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว  เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม  เกิดการสู้รบนองเลือดจนมีการประกาศยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษยุบสภาโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เสียชีวิตลงรัฐสภาได้ฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยเชิญกษัตริย์ในราชวงศ์สจ๊วตมาปกครอง  
              การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างถาวรเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1688 เนื่องจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ไม่ยอมรับอำนาจรัฐสภา  รัฐสภาร่วมมือกับประชาชนต่อต้านจนพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ต้องสละราชสมบัติและมีการสถาปนาพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งฮอนแลนด์ ร่วมกับพระนางแมรีที่ 2 การปฏิวัติในครั้งนี้ได้มีการประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ(Bill of Rights) ที่ย้ำถึงสิทธิและเสรีภาพที่ชาวอังกฤษควรมีได้รับเท่าเทียมกันและอำนาจของรัฐสภามีเหนือสถาบันกษัตริย์ ซึ่งท้ายที่สุดได้เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

    3.การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ค.ศ. 1776          

                การปฏิวัติอเมริกา คือช่วงระยะเวลาครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ที่มีการลุกฮือเพื่อประกาศเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษของประชาชนชาวอเมริกา จึ่งได้มีการสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมาหลังจากได้รับชัยชนะในการปฏิวัติในครั้งนี้

               สาเหตุในการปฏิวัติ

                       อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมากแล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือ จอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่    ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา จนในที่สุด ทำให้อเมริกาสามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองฟิลาเดเฟีย (วอชิงตัน ดี.ซี. ในปัจจุบัน) เกิดประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาคือ จอร์จ วอชิงตัน และการที่ฝรั่งเศสเข้าช่วยอเมริกานี้เอง ทำให้ทหารที่เข้ามาร่วมรบในสงครามปฏิวัติอเมริกา ได้ซึบซับแนวคิดและความต้องการอิสรภาพของชาวอเมริกันทั้งมวลเข้าไว้ และกลายเป็นพลังผลักดันที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสและประกอบกับสภาพการณ์ ในขณะนั้นฝรั่งเศสกำลังย่ำแย่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอ ทำให้ฝรั่งเศสเข้าสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสและกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิวัติไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมาอีกด้วย

    4. การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789

                การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป

    สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

              1) สาเหตุที่ฝังรากลึก ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

                - สภาพทางสังคม แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ นักบวช ขุนนาง ฐานันดรที่สาม ได้แก่ ชนชั้นกลางและชาวนา

              สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

    - การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย

                       ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งการพนันบ้าง พระนางทรงเป็นผู้ล้ำหน้าในเรื่องของทรงผมและการแต่งกายมากๆ และ ฉลองพระองค์ กับ ทรงพระเกศา จะต้องเข้ากันได้กับ ผลไม้ และเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั้นๆ พระนางจึงจะพอใจ โดยเฉพาะกรณี สร้อยพระศอของพระนางแมรี่อังตัวเนต ซึ่ง พระนางได้ซื้อสร้อยมาแล้ว ปรากฏว่า    มีคนมาทวงเงินค่าสร้อยพระศอ แล้วพระนางไม่จ่ายเงิน สุดท้ายเรื่องถึงศาล และในที่สุด คนที่มาทวงเงินค่าสร้อยพระศอตกเป็นจำเลยในที่สุด ทำให้เรื่องดังกล่าว ถูกนำมาพูดต่อๆ กันมานอกพระราชสำนัก

              - การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

              ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางความคิดในเรื่องของ สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ การฟังแล้วคิดวิเคราะห์ ซึ่งเมื่อก่อนประชาชนในฝรั่งเศสต้องฟังข่าวสารจากพระ และขุนนาง และนักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซ มีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ที่ได้รับแนวคิดจากหนังสือที่ชื่อ เดอะ ปริ๊นต์ (เจ้าผู้ครองนคร) โดย นิโคโล แมคเคียววี่ ซึ่งเขียนใน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และผลของการศึกษาวรรณกรรมนี้เอง ทำให้ประชาชนเริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะว่า มีแนวคิดที่ว่า อำนาจการเมืองซึ่งเคยเป็นของพระเจ้า ซึ่งส่งผ่านมาไว้ที่ พระสันตปาปา ตามด้วย กษัตริย์ สุดท้ายก็ตกมาอยู่กับประชาชน และผู้ได้ศึกษาวรรณกรรมชิ้นนี้ บางคนได้ซาบซึ้ง และได้เกิดแนวคิด สาธารณะรัฐขึ้น ทำให้ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ตอนต้นนั้นก็เคยได้เกิดการลุกขึ้นสู้ของประชาชน ซึ่งร่วมมือกับ ขุนนางที่เสียผลประโยชน์ให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเนื่องมาจากการปฏิรูปการปกครองให้กลายเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช จากระบอบศักดินา ผลที่ได้ฝ่ายประชาชนและขุนนางที่เป็นแกนนำได้ถูกปราบปรามโดย สังฆราชที่ชื่อ มาซาแรง และแกนนำได้ถูกขังตลอดชีวิต ส่วนประชาชนที่เป็นมวลชน ไม่ได้รับโทษ ถึงแม้ว่าประชาชนจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ในอีก 158 ปีถัดมา ก็ได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส

    2. สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว

              สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจาก

              1. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น

              2. ภูมิอากาศในฝรั่งเศสในช่วงนั้นได้หนาวมาก จนกระทั่งชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยมาก

              3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ส่งกองกำลังทหารไปที่ทวีปอเมริกา เพื่อไปทำสงครามกับอังกฤษ เพื่อปลดปล่อยชาวอาณานิคมในสมัยนั้นให้เป็นเอกราช ทั้งนี้ก็เพราะว่าในสมัยพระหลุยส์ที่ 15 ได้ถูกกษัตริย์จอร์จแห่งอังกฤษ ได้ขับไล่กองทัพฝรั่งเศสออกไปจากอาณานิคมที่ทวีปอเมริกาจนหมดสิ้น ดังนั้นพอถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระองค์จึงต้องการทำสงครามปลดปล่อยอาณานิคมที่ทวีปอเมริกา เพื่อเป็นการแก้แค้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องออกค่าใช้จ่าย ไป 2000 ล้านลีฟว์ (ซึ่งเป็นเงินที่กู้มาจากต่างประเทศ) ในปี พ.ศ. 2319

              4.การสร้างพระราชวังแวร์ซายในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

              5.การทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสไปทางสเปน ในปลายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

              สาเหตุดังกล่าวทำให้ไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้วพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้ง ชาค เนคเกร์ ซึ่งเนคเกร์ได้มีนโยบายเก็บภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ เพื่อไปจุนเจือ ฐานันดรที่ 3 ทำให้ขุนนาง และพระเหล่านั้นไปร้องเรียนต่อพระนางแมรี่อังตัวเนต และพระนางเองก็ได้ไปกดดันพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ให้ปลด ชาค เนคเกร์ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม

              การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321

              ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324

              ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ

              ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330

              ความขัดแย้งระหว่างสภา และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้นเพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์

    การปฏิวัติ

              ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภาฐานันดรซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

              สภาฐานันดร ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ใน พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่าสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

    สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภาขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ

     

     

    เปิดฉากการปฏิวัติ

    หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

    -          การยึดคุกบาสตีย์

              แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม

    หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
              หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งท่านผู้นี้เคยร่วมรบในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐอเมริกามาก่อน เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×