ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #5 : การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม

    • อัปเดตล่าสุด 15 ธ.ค. 54



    1.การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
     (Scientific Revolution)

                       การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการของโลกตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้างแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โลก และจักรวาล ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง  อย่างรวดเร็ว

    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

              - การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในความสามารถของตน มีอิสระทางความคิด หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสตจักร และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น

              - การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันตอนใต้ โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรขอกูเตนเบิร์ก ในปี ..1448 ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

              - การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก ตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่16 เป็นต้นมาทำให้อารยธรรมความรู้ต่าง  จากจีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เชีย เผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น

    นักวิทยาศาสตร์          

              - การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส ชาวโปแลนด์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สาระสำคัญ คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น  โคจรโดยรอบ

    - การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ ชาวอิตาลีในปีค..1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการเคลื่อนไหวของดวงดาว และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์

              - การค้นพบความรู้หรือทฤษฎีใหม่ของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในตอนปลายคริสต์สตวรรษที่ 17 มี 2 ทฤษฏี คือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งความโน้มถ่วง

     

    เซอร์ไอแซค นิวตัน  

     

    กาลิเลโอ กาลิเลอี นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี


                  - การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ ของโจฮันเนส เคปเลอร์ ชาวเยอรมัน ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สรุปได้ว่า เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่หรือรูปวงรี มิใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส

                 - เรอเนส์ เดส์การ์ตส์ ชาวฝรั่งเศส และเซอร์ ฟรานซิส เบคอน ชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันเสนอหลักการใช้เหตุผล วิธีการทางคณิตศาสตร์ และการค้นคว้าวิจัยมาใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

    2.การปฏิวัติอุตสาหกรรม

                คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย  ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

    2.1) สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นครั้งแรก

              - มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงทำให้มีเสถียรภาพทางการเมือง

              - มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่องานอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์ คือ เหล็ก และถ่านหิน

              - มีเงินทุนและระบบการเงินที่มั่นคง

              - มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งและเป็นมหาอำนาจทางทะเล

              - มีอาณานิคมมาก ซึ่งกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดการค้าด้วย

              - ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

    2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

              การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ เกิดจากการนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม ทอมัส นิวโคแมน สร้างเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำ จอห์น เคย์ ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก  ซึ่งช่วยให้ช่างทอสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า จนทำให้ขาดแคลนเส้นด้ายสำหรับการทอผ้า เจมส์ ฮากรีฟส์ สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการสร้างเครื่องปั่นด้าย สปินนิงเจนนี

              อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปริมาณฝ้ายที่ส่งมาจากอารานิคมในทวีปเอเชียไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน จึงต้องหันไปขยายตลาดค้าฝ้ายกับอาณานิคมในทวีปอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เอไล วิตนี สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรกลคอตตันยิน ที่แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใยได้สำเร็จทำให้ราคาต้นทุนของการผลิตฝ้ายมีราคาถูกลง

    2.3) การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

              เฮนรี คอร์ต ได้คิดค้นวิธีการหลอมเหล็ก ให้ได้เหล็กบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยปราศจากโลหะอื่นเจือปน และต่อมาได้พัฒนาวิธีการตัดเหล็ก และวิธีการหลอมเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆได้ ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

              การสร้าง และพัฒนาเรือกลไฟที่ใช้พลังน้ำ ให้เป็นพาหนะสำคัญในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ทั้งในระยะใกล้และไกล โดยเฉพาะยุคม้าเหล็ก เมื่ออังกฤษได้เปิดเส้นทางรถไฟไอน้ำสายแรก ซึ่งวิ่งระหว่างเมืองลิเวอร์พูล และเมืองแมนเชสเตอร์ ต่อมาอีก 10 ปี อังกฤษมีเส้นทางรถไฟ ซึ่งซึ่งเป็นการนำความเจริญจากเมืองเข้าสู่ชนบท

              ความสำเร็จของการปฏิรูปอุตสาหกรรมกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆในแผ่นดินใหญ่ของยุโรป รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ของโลกหันมาสนใจอย่างจริงจังต่อกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนในที่สุด ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาก็สามารถก้าวมาเป็นคู่แข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมกับอังกฤษได้

    2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

    1)ด้านสังคม
              จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ  แก้ปัญหาได้ แนวคิดของระบบสังคมนิยม ของคาร์ล มากซ์ ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกัน เพื่อต่อสู้โค่นล้มระบบทุนนนิยม จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการเมืองของยุโรป เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่มีความเสมอภาค และปราศจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเมือง

                2)ด้านเศรษฐกิจ

              แอดัม สมิท ได้พิมพ์เผยแพร่งานเขียนชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ  เพื่อให้รัฐบาลเห็นด้วยว่า ความมั่น คงของประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี ที่รัฐบาลควรปล่อยให้เอกชนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี โดยปราศจากการควบคุม หลักการของระบบการค้าแบบเสรีดังกล่าว ทำให้ชนชั้นกลางของหลายประเทศในยุโรปมีบท บาทสูงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

    3ด้านการเมือง

              มีการรวมกลุ่มของคนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน และเป็นตัวแทนของประชาชน จนในที่สุด ก็สามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิในการเลือกตั้ง ทำให้ชาวตะวันตกมองโลก และสังคมด้วยทรรศนะที่เป็นจริงมากขึ้น ผลการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมมิได้จำกัดบทบาทแต่ในกลุ่มชาติตะวันตกเท่านั้น แต่ได้หลั่งไหลไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามกระแสของอารยธรรมตะวันตก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วม ในกลุ่มประเทศกึ่งเกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม หรือประเทศอุตสาหกรรม


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×