ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #3 : การปฏิรูปศาสนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.84K
      1
      16 ธ.ค. 54

    1. สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา มีหลายประการดังนี้

    สาเหตุทางการศาสนา
    ž1.ความเสื่อมของศาสนจักรในปลาย ศตวรรษที่ 14 ถึงตอนต้นศตวรรษที่ 15
    ž2.พระมีความมั่งคั่งร่ำรวย มีที่ดินมากเกินไป พระประพฤติผิดศีลธรรมไม่เคร่งครัด
    ž3.การไม่พอใจในการซื้อตำแหน่งของพระ พระที่ได้รับตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์
    ž4.มุ่งพิธีกรรมมากเกินไป พระเรียกเก็บเงินที่ได้จากการประกอบพิธีทางศาสนามากเกินไป
    ž5.การขายใบไถ่บาปเพื่อนำเงินมาก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นการค้ามากกว่าศรัทธา
    สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ที่ให้มีการขายใบไถ่บาป

    สาเหตุทางการเมือง
    ž1. สันตะปาปาสนใจเรื่องทางโลกมากกว่าทางศาสนา เข้าไปมีส่วนรวมในการเมืองของยุโรป
    žสาเหตุทางเศรษฐกิจ
    ž1.ชนชั้นกลางให้การสนับสนุนการปฏิรูปศาสนา เพื่อยกเลิกระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสมัยใหม่ เนื่องจากที่ประชาชนมีการศึกษามากขึ้นจึงเริ่มที่จะไม่เชื่อคำสั่งสอนของศาสนจักรอย่างงมงาย
    ž2.สันตะปาปาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย อีกทั้งพระยังมีการเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในคริสตจักรที่กรุงโรม ทำให้ประชาชนไม่พอใจ

    2. การเริ่มปฏิรูปศาสนา
    žการเรียกเก็บเงินจากสันตะปาปาลีโอที่ 10 โดยการขายใบบุญไถ่บาปเพื่อนำไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ทำให้นักชวชชาวเยอรมัน มาร์ติน ลูเทอร์ ไม่พอใจ เขียนคำประท้วง 95 ข้อ (Ninety-fiveTheses) เพื่อชี้ให้เห็นว่า ไม่ควรนำเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี และสันตะปาปาไม่ได้เป็นบุคคลเพียงผู้เดียวที่นำพามนุษย์ไปสู่พระเจ้า ประกาศดังกล่าวถือเป็นการประท้วง (protest) ที่มีต่อศาสนจักร จึงเป็นที่มาของนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestants)
    žการเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้พระสันตะปาปาและฝ่ายสังฆราชไม่พอใจ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1520 ลูเทอร์ได้รับหมายบัพพาชนียกรรม ”ขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร” (Excommunication) โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง
    žหลังจากนั้นกลุ่มเจ้านายในเยอรมันได้แตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางเหนือสนับสนุนมาร์ติน ลูเทอร์ ส่วนฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางใต้สนับสนุนคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่กรุงโรม ทำให้เกิดจนสงครามกลางเมืองขึ้นในค.ศ.1546 ในที่สุดก็มีการสงบศึก โดยการทำสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเอากส์บูร์ก (The peace of Augsburg) ในค.ศ.1555


    žผลของการปฏิรูปทางศาสนาก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ โดยแบ่งเป็น
    ž1. นิกายลูเทอร์ ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบใน ความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น พระหรือนักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนา
    ž2. นิกายคาลวิน ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน สนใจแนวคิดทางศาสนาของลูเทอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง คำสอนของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรีย
    ž3. นิกายอังกฤษหรือแองกลิคัน กำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่า เชิร์ชออฟอิงแลนด์ ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม
    3. การปฏิรูปของศาสนจักร
    ž1.การจัดตั้งสมาคมเยซูอิทซ์ ให้ศึกษาให้แก่บุตรหลานชาวคาธอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนท์
    ž2.การจัดตั้งศาลพิเศษทางศาสนา เพื่อต่อต้านการกระทำของพวกนอกรีต มีการลงโทษอย่างรุนแรง เช่นการเผาทั้งเป็น
    ž3.การประชุมทางศาสนาที่เมืองเทรนท์ มีผลดังนี้คือ
    ž- สันตะปาปาคือประมุขของศาสนา
    ž- คำภีร์ไบเบิลต้องเขียนเป็นภาษาละติน
    ž- ห้ามขายตำแหน่งทางศาสนาและห้ามขายใบไถ่บาป
    ž- ไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้มารับตำแหน่งราชาคณะ
    ž- ขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้ามซึ่งเป็นของพวกนอกศาสนา หนังสือต้องห้ามจะถูกทำลาย ผู้แต่งจะถูกเผาทั้งเป็น
    ž4. ผลของการปฏิรูปศาสนา
    ž-คริสตจักรตะวันตกแตกแยกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิด มีสันตะปาปาเป็นประมุข กับนิกายโปรเตสแตนต์
    ž- เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆ ความเป็นเอกภาพทางศาสนาของยุโรปสิ้นสุดลง
    ž-เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายต่างๆ มีการปรับปรุงสิ่งบกพร่องเพื่อเรียกศรัทธา
    ž-สภาพสังคมเปลี่ยนไป นิกายโปรเตสแตนต์ได้สนับสนุนการประกอบอาชีพด้านการค้าและอุตสาหกรรม ระบบทุนนิยมในยุโรปจึงเจริญเติบโต
    - ระบบรัฐชาติแข็งแกร่งขึ้น การเกิดนิกายโปรเตสแตนต์ส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
    - เกิดสงครามศาสนาขึ้นหลายครั้ง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักร เพราะสันตะปาปาต้องอาศัยอำนาจกษัตริย์ที่นับถือคาทอลิกทำการต่อต้านกษัตริย์ ที่นับถือโปรเตสแตนต์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×