ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #1 : การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 973
      2
      16 ธ.ค. 54

    1. การสำรวจเส้นทางเดินเรือ

                       ยุคแห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือระหว่าง ค.. 1450 - 1750 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีป และการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดน่านน้ำนี้ ทำให้เหล่าพ่อค้าชาติตะวันตก สามารถติดต่อกับชาติอื่น ๆ ได้โดยตรง และแพร่หลายมากขึ้น และมีการจัดตั้งสถานีการค้าขึ้น ในบริเวณอ่าวเปอร์เซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนควบคุมเส้นทางการค้าเครื่องเทศในบริเวณช่องแคบมะละกา และสำคัญที่สุดต่อมาคือ การเดินเรือครั้งนี้ยังทำให้พบทวีปอเมริกาอีกด้วย

    2. สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

                        สาเหตุที่กระตุ้นการริเริ่มการสำรวจเกิดขึ้นหลังจากการยึดคอนสแตนติโนเปิลโดยชนเตอร์กในปี ค.ศ. 1453 จากนั้นจักรวรรดิออตโตมันก็มีอำนาจควบคุมการค้าขายในบริเวณนั้น และกีดกันชาวยุโรปจากการใช้เส้นทางเส้นทางสายไหม หรือ การค้าขายไหมและการค้าเครื่องเทศ และเส้นทางการค้าขายผ่านทางแอฟริกาเหนือที่มีความสำคัญสำหรับยุโรปในการเป็นเส้นทางการค้าผสมระหว่างทางบกและทางทะเลผ่านทางทะเลแดงไปยังเอเชีย ทั้งเครื่องเทศและไหมเป็นธุรกิจใหญ่ในยุคนั้น และรวมทั้งเครื่องเทศที่ใช้ประโยชน์ทั้งในการถนอมอาหารและปรุงรสซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างน้อยก็สำหรับผู้มีฐานะดีหรือผู้มีอันจะกิน

    สาเหตุอื่นๆในการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

                      -   ความรู้ใหม่ทางภูมิศาสตร์โดย ปโตเลมี ได้จัดทำแผนที่ ทำให้ผู้คนได้เห็นแผ่นดินที่กว้างใหญ่จากตะวันตกสู่ตะวันออก


    คลอเดียส ทอเลเมอุส หรือ ปโตเลมี

      
    แผนที่โลกที่ปโตเลมีเขียนไว้




                       - ความรู้ในการใช้เข็มทิศ ซึ่งมีประวัติว่าชาวจีนเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาก่อน แล้วชาวยุโรปนำมาปรับปรุงใช้ได้ดี รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงเรือให้มีความเหมาะสมมั่นคงทนทาน เรือสามารถแล่นในมหาสมุทรได้ดีขึ้น ทำให้การสำรวจทางทะเลมีมากขึ้น

     
        เรือคาร์แร็คของโปรตุเกสที่นะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น คริสต์ศตวรรษที่ 17

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×