ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #4 : การกำเนิดรัฐชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 15 ธ.ค. 54


    1.ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ

    1.1)การขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้า

              การเปิดเส้นทางเดินเรือ ทำให้เครือข่ายการค้าขยายตัวขึ้น โดยเพิ่มทั้งด้านระดับการค้า ปริมาณและชนิดของสินค้า พวกพ่อค้าและนายทุนซึ่งเป็นพวกที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางด้านการค้ากลายเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในสังคม ชนกลุ่มนี้เองที่ให้การสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ด้านการเงิน เพื่อไปสร้างฐานอำนาจทางการเมืองและทหารในการรวมชาติ ส่วนกษัตริย์ก็ให้ความสะดวกและความคุ้มครองแก่เหล่าพ่อค้าให้ปลอดภัยจากโจรสลัดที่คอยดักปล้นสินค้า

    1.2)  ความเสื่อมของขุนนาง

                       ช่วงต้นสมัย ขุนนางในระบบฟิวดัลอ่อนแอลงจากการรบในสงครามครูเสด ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อทำให้ขุนนางต้องขายทรัพย์สินแก่พ่อค้า ขุนนางจึงยากจนลง จนไม่สามารถสะสมกำลังในการสร้างความวุ่นวายกับกษัตริย์ได้อีกต่อไป แต่กลับต้องพึ่งการอุปถัมภ์จากกษัตริย์แทน และได้กลายเป็นข้าราชบริพารของกษัตริย์ เท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์มากขึ้น

    1.3) ความสำนึกในความเป็นชาติ

                       ความสำนึกในความเป็นชาติได้เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ภาษาของตนในดินแดนต่าง ๆ แทนภาษาละตินซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม โดยก่อใช้ภาษานี้ก่อให้เกิดความภูมิใจและจงรักภักดีต่อชาติของตนในเวลาต่อมา

    2.กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                       ประเทศฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน และอังกฤษ เกิดการล่มสลายของระบบฟิวดัล มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีระบบการบริหารที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และประชาชนก็ยอมรับรวมถึงภักดีต่อกษัตริย์ โดยองค์ประกอบที่ทำให้ระบบนี้เติบโตขึ้นมาได้มีสาเหตุจาก การพัฒนาด้านการค้า การแสวงหาอาณานิคม และนโยบายการค้าแบบพาณิชยนิยม พวกพ่อค้านายทุนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการค้า ทำให้พวกนี้สนับสนุนรัฐบาลที่เข็มแข็งที่มีอำนาจในการคุ้มครองกิจการของพวกตน สาเหตุเหล่านี้ทำให้ฐานะขอกษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้การปฏิรูปทางศาสนายังทำให้คริสตจักรแตกแยกและอ่อนแอลง ประชาชนจึงหันมาจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์เพิ่มอำนาจมากขึ้น 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×