ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แพทยศาสตร์ ม.บูรพา

    ลำดับตอนที่ #8 : ชีวิตในชั้น คลินิก (ปี4-6) ณ รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.78K
      8
      12 ก.พ. 55

     สวัสดีค่ะ น้องๆที่น่ารักทุกคน และผู้มาเยี่ยมชมทุกท่าน หลังจากที่ผ่านชีวิตในรั้วคณะแพทย์ ม.บูรพามาอย่างยาวนานจากการอัพข้อมูลครั้งสุดท้าย(เมื่อ 2 ปีก่อน) คราวนี้ก็ได้เวลาเล่าความเป็นอยู่ทั่วๆไป กิจกวัตรประจำวัน และหลักสูตรให้น้องๆได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง โดยในบทความนี้จะเน้นเรื่องราวในชั้นคลินิกเป็นหลักนะคะ

    ก่อนอื่นเลยหลังจากที่คณะแพทย์มอบูรับนิสิตเพิ่มเป็น 48 คน จึงทำให้นิสิตอีก 16 คน ไปเรียนที่รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ส่วนอีก 32 คน เรียนที่ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย แต่ในรุ่นพี่นั้นยังไม่มีการเรียนการสอนที่รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร พี่จึงขอเล่าเฉพาะในรั้วรพ.สมเด็จฯก่อนละกันนะจ้ะ


    ปี 4 ในรั้วรพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา..........................







    หัวข้อ  : หลักสูตร...
    หลักจากที่น้องๆจบหลักสูตรชั้นพรีคลินิก(ปี2-3) จากที่มหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว น้องๆก็จะต้องข้ามฟากมาเรียนที่รพ.เป็นหลักแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่าชั้นคลินิก ซึ่งแปลว่าน้องๆจะได้เห็นผู้ป่วยจริงๆแล้ว โดยเมื่อมาถึงที่นี่ กิจกรรมแรกเลยที่น้องปี4ทุกคนต้องผ่านก็คือ "พิธีรับเสื้อกาวน์" เพื่อให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตของคนจริงๆแล้ว ไม่ใช่แค่เด็กมหาลัยธรรมดา แล้ว โดยเสื้อกาวน์ของที่ศุนย์แพทย์ฯรพ.สมเด็จ ในชั้นปี4-5 จะเป็นกาวน์ยาวแขนสั้น ส่วนปี6 จะเป็นเสื้อกาวน์สั้นติดกระดุมตรงกลาง ปักตรากาชาด ซึ่งเป็นตราประจำรพ. (รพ.สมเด็จฯ ณ ศรีราชา อยู่ในเครือสภากาชาดไทยแบบเดียวกับรพ.จุฬาฯค่ะ) และ เรียกน้องว่าที่แพทย์ว่า นิสิตแพทย์ ค่ะ (ตัวย่อคือ นสพ.) เนื่องจากมหาวทิยาลัยบูรพาเรียกว่านิสิต (เดิมมหาวิทยาลัยบูรพาเคยเป็น มศว วิทยาเขตบางแสน มาก่อนค่ะ)



    เนื้อหาแรกที่ต้องเรียนรู้คือ การปูพื้นฐานทางคลินิก น้องๆจะได้เรียนรู้กับหุ่นจำลอง ผู้ป่วยจำลอง ซึ่งสอนโดยอาจารย์แพทย์ของรพ.เราเอง ซึ่งจะทำให้น้องๆมีวิชาแกร่งกล้ามากยิ่งขึ้น เมื่อไปเจอผู้ป่วยจริงๆจะได้ไม่ตื่นเต้นหรือทำอะไรผิดพลาด

    โดยปีสี่น้องๆจะผ่านแผนกใหญ่ๆ 4 แผนกด้วยกัน เรียกสั้นๆติดปากว่า สู ศัลย์ เหม็ด เด็ก (MED=อายุรกรรม)

     โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็นกลุ่มละ 5-6 คน โดยการสุ่ม เพราะฉะนั้นน้องๆจะได้รู้จักกับเพื่อนมากยิ่งขึ้นและเข้าใจนิสัยใจคอกันมากขึ้นเมื่อมาอยู่ชั้นคลินิก 
    โดยสไตล์การเรียนของแต่ละวอร์ด(ward=หอผู้ป่วย,แผนก) จะแตกต่างกันไปแบบปรับตัวกันยกใหญ่เลย ยกตัวอย่างเช่นแผนก อายุกรรมที่จะเน้นเรื่องพยาธิวิทยา กลไกการเกิดโรค การทำงานของร่างกาย การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วย การออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด เรียกได้ว่าวอร์ดมหาโหดเลยเพราะ เนื้อหามันกว้างมากคะ ส่วนแผนกศัลยกรรมก็จะเน้นเรื่องกายวิภาค เพราะงั้นถ้าน้องๆตั้งใจศึกษาความรู้จากอ.ใหญ่มามากเพียงไร น้องก็จะดึงความรู้มาใช้ในแผนกนี้ได้อย่างเต็มที่เลยค่ะ ส่วนเด็กที่เป็นแผนกที่ละเอียดอ่อน มีสุภาษิตที่ว่า เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก การให้ยาจึงต้องเรียกได้ว่าคำนวณกับหัวบวมเลยทีเดียว ส่วนสูติกรรม วอร์ดนี้มีสุภาษิตอีกเช่นกันคือ หลังสู้ฟ้า หน้าสู้..... (ตรงนั้นของผู้หญิงนั่นเอง) น้องๆจะได้ทำคลอดด้วยมือตัวเอง อย่างที่รพ.เราจะมีเคสคลอดลูกเยอะมาก รับรองว่า เมื่อน้องๆได้จับเด็กไว้ในมือได้คลอดด้วยตัวเอง น้องจะภาคภูมิใจมากเลยแหละ ^^ 

    เนื้อหาก็จะมีทั้งภาคบรรยาย(เลคเชอร์)และภาคปฏิบัติ โดยคะแนนก็อิงกลุ่มเช่นเดิม ส่วนการสอบที่เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชั้นคลินิกก็ว่าได้คือ การสอบ ออส-กี้ (OSCE) เป็นคล้ายการสอบแล็บกริ้งสมัยพรีคลินิก แต่ต่างตรงที่ให้เวลาสอบมากขึ้นประมาณข้อละ 4 นาที แต่เนื้อหาก็เยอะขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ให้อ่านฟิล์มเอ็กซเรย์พร้อมการวินิจฉัย  ให้ซักประวัติผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง ให้เย็บแผลสองเข็มโดยให้มือเปล่าผูกเชือก  ให้ฉีดวัคซีนในเด็ก(มีแขนจำลองให้) ให้สาธิตวิธีการตรวจภายใน(ของแผนกสูตินารีเวช) เป็นต้น 


    เรียกได้ว่าถ้าไม่พร้อม ไม่ได้เตรียมตัวมาให้ดี มีได้เต้นไก่ย่างโชว์อาจารย์เพื่อรอเวลาหมดแน่นอน 55

    ส่วนการสอบอีกวิธีหนึ่งซึ่งตื่นเต้นไม่แพ้กันคือการสอบ MEQ เป็นการสอบแบบคล้ายกับแล็บกริ้งอีกเช่นกัน เพราะมีการจับเวลาในแต่ละข้อ แต่จะเป็นตัวอย่างผู้ป่วย1ผู้ป่วยก็จะมีหลายข้อย่อยมาให้เราเป็นกระดาษซ้อนกันหลายๆใบ ความตื่นเต้นมันอยู่ตรงที่ว่า เราจะเปิดได้เพียงทีละ 1หน้าเท่านั้น และทำในเวลาที่กำหนดเช่น 4 นาที 2นาที 10 นาที แล้วแต่ความสั้นยาวของคำตอบที่อ.กำหนด พอกริ้งหนึ่งทีเราต้องเปลี่ยนกระดาษทันที โดยเหตุการณ์ในแต่ละข้อจะต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น หน้าแรกให้ประวัติผู้ป่วยมาสั้นๆถามว่า เราอยากซักประวัติอะไรเพิ่ม เมื่อหมดเวลา พอเราเปลี่ยนหน้าจะมีคำตอบที่เราถามไว้มาให้ ซึ่งอาจจะตรงบ้างไม่ตรงบ้าง ดังนั้นเราแถบจะรู้เลยว่า ตัวเองตอบไปนั้นถูกต้องหรือไม่ พอสอบเสร็จมันแทบจะรู้คะแนนตัวเองได้เลย 

    เป็นไงละคะ ก็สอบแบบนี้สนุกไหม เหอๆๆ

    แต่การสอบแบบมีช้อยท์เลือก 5 ช้อยท์(MCQ)ก็ยังคงมีอยู่ซึ่งใช้สำหรับเนื้อหาอย่างเลคเชอร์ค่ะ

    ****************************************************************************************
    ด้าน การใช้ชีวิต.....

    ปีสี่เรียกได้ว่าปรับตัวครั้งใหญ่เลยคะ เพราะการตื่นเช้ามันจะต้องกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับนิสิตแพทย์ไปเลยคะ (แม้ในวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ) รวมทั้งน้องๆจะได้กลับบ้านน้อยลง หากใครบ้านอยู่ไกล พ่อแม่อาจลืมหน้าลูกไปเลย 55555 

    กิจวัตรในแต่ละวันก็คือ การดูแลผู้ป่วยเป็นหลักคะ
    โดยเวลาในแต่ละวอร์ดจะเริ่มไปเหมือนกัน อย่างอายุรกรรมใครที่อยู่เวรเมื่อคืน ก็ต้องตื่นไปให้ทันเจาะเลือดตอนตีห้า แต่ถ้าไม่มีเวรก็ต้องไปราวน์ผู้ป่วยก่อนประมาณ6.00 โมงเช้าเพื่อให้เสร็จทันพี่แพทย์ใช้ทุนมาราวน์ตอนประมาณ 7.00 น.หลักจากนั้นจะมีอาจารย์แพทย์มาราวน์ตอน 8.00 น. เรียกได้ว่าทำงานแข่งกันเวลาจริง
    (ราวน์ = round แปลว่า การดูแลผู้ป่วย ติดตามอาการผู้ป่วยของเรา โดยซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินอาการและวางแผนการรักษา แล้วนิสิตแพทย์ก็นำไปบันทึกลงใน Medical student note ในเวชระเบียนผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านพี่พยาบาลก็จะนำมาคืนเราให้เอาไว้อ่านทบทวน เมื่อเราเรียนเสร็จในแผนกนั้นๆก็ต้องนำไปคืนที่ศูนย์แพทยศาสตร์ของรพ. เพราะถือว่าเป็นความลับผู้ป่วย)

    เวลาราวน์
    จะเรียนจะเรียนกับอาจารย์แพทย์โดยตรง เนื่องจากจำนวนนิสิตแพทย์ต่อรุ่นมีจำนวนน้อย ทำให้เราได้ใกล้ชิดอ.แพทย์มาก และพูดคุยเข้าถึงกันง่ายค่ะ รวมทั้งอ.แพทย์ส่วนใหญ่ก็ใจดีและเมตตาพวกเราด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องปฏิบัติตัวให้ถูกวินัยและนอบน้อมด้วยนะคะ

    เมื่อราวน์กับอ.เสร็จก็แยกย้ายกันไปทำ activity ต่างๆ อย่างเช่น ward work คือการเจาะเลือด ย้อมสีสไลด์ ช่วยพี่ๆแพทย์ใช้ทุนหยิบจับเวลาทำหัตถการต่างๆ หรือไม่ก็มีคาบเลคเชอร์ ซึ่งแต่ละวอร์ดก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
    อย่างแผนกอายุกรรม ก็จะเน้นการซักประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วย การเจาะเลือด การใช้ยา
    แผนกศัลยกรรม เน้นการเข้าห้องผ่าตัด สังเกตการผ่าตัด ซึ่งนสพ.ปี4 อาจมีโอกาสเข้าไปผู้ป่วยผ่าตัดในเคสที่ง่ายๆ และไม่ซับซ้อนมาก ขึ้นอยู่กับอ.แพทย์แต่ละท่าน อยู่ในหอผู้ป่วยก็เน้นการทำแผลผ่าตัด แผลกดทับ ฯลฯ การเย็บแผล เป็นต้น
    แผนกสูติกรรม เน้นการทำคลอดท่าปกติ การตรวจภายใน 
    แผนกเด็ก เน้นการพ่นยา การคำนวณยาในเด็ก

    ภาพนี้พี่ถ่ายเองค่ะ เป็นวิวที่มองออกมาจากหอพักผู้ป่วยคะ ที่นี่อากาศดีไม่ใช่เล่น ใครอยากหลบมลภาวะในเมืองใหญ่มาอยู่ที่ศรีราชาก็เชิญเลยค่ะ ^^



    เวลาเลิกเรียนหากไม่มีเวรน้องๆก็สามารถไปเที่ยวในตัวศรีราชาได้
    ซึ่งมีห้างอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือ โรบินสัน ศรีราชา เพราะงั้นหากใครเดินเล่นเวลาเลิกงานแล้วก็มักจะพบกับคนในรพ.ไปเดินเที่ยวด้วยเหมือนกัน อยู่บ่อยๆ ^^ (แหล่งบันเทิงมีน้อย เราใช้สอยอย่างประหยัด) 
    และก็มีสถานที่พักผ่อนและอออกกำลังกายคือ สวนสาธารณะ เกาะลอย วิวสวยมากกก เพราะอยู่ติดทะเลและติดเกาะลอยเลยคะ





    อาหารทะเลย่านศรีราชา สดมาก เพราะมีท่าเรือประมงอยู่ใกล้ๆ เพราะงั้นไม่ยากเลยที่จะทานอาหารทะเลในราคาไม่แพง สด และอร่อยด้วยในแถวนี้



    หากตอนเย็นว่างๆก็ไปเดินเล่นหลังรพ.ซึ่งมีบ้านพักยื่นไปในทะเล (เรือนน้ำ) วิวสวยมากเช่นกัน และชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้ทุกวันเลย เรือนน้ำก็เป็นสภาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยร.5 (ตามอายุของรพ.ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่สมัยร.5)




    เรียกได้ว่า มาอยู่รพ.สมเด็จฯ นอกจากจะมีความสุขเพราะอาจารย์และเจ้าหน้าที่เมตตาพวกเราแล้ว ยังมีวิวสวยติดทะเลให้เดินชมได้ทุกวัน 

    ส่วนหอพักตอนนี้กำลังก่อสร้างอยู่ รับรองน้องๆมาอยู่ต้องทันใช้แน่นอน (แต่พี่รุ่น1คงไม่ทันแล้วแหละค่ะ เหอๆ แต่หอพักที่พี่อยู่ตอนนี้ก็สะดวกสบายมาก แม้ไม่มีแอร์แต่อากาศก็เย็นสบาย ติดชายทะเล หุหุหุ sea view ค่ะน้องๆ)




    แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าค่าครองชีพของคนศรีราชาค่อยข้างแพง หากน้องอยู่มอบูราคาข้าวถูก พอมาอยู่ที่นี่อาจต้องปรับตัวรับกับราคาข้างที่แพงขึ้นหน่อยนะคะ



    **************************************************************************

    ในปี 5 บรรยากาศทั่วๆไปก็คล้ายๆกับปีสี่แต่ว่าจะเรียนในแผนกที่เป็น minor ward เช่น หูคอจมูก จิตเวช แผนกตา วิสัญญี เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน อาชีวเวชศาสตร์ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ เป็นต้น ส่วนเทอมปลายก็จะมี ศัลยกรรมและอายุกรรมอีกประมาณแผนกละ 6 สัปดาห์

    ซึ่งไว้คราวหลังจะมาเล่าให้ฟังต่อ นะคะ^^
















    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×