ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    첫사랑 : LOVE ROOM

    ลำดับตอนที่ #8 : 9 อันดับยาพิษที่อันตรายที่สุด 

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 56


    :-Daisy ✿

    1.Cyanide

    อาการเป็นพิษจาก cyanide จะปรากฏให้เห็นในเวลาเป็นนาทีหรือภายใน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้าหลังได้รับสารพิษ ผู้ป่วยจะหมดสติหรือชัก และตามมาด้วยภาวะช็อคและเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วหลังจากได้รับ cyanide แต่กรณีของมันสำปะหลังดิบอาการแสดงของพิษจาก cyanide เกิดขึ้นในเวลาหลายๆชั่วโมงหลังจากรับประทาน เนื่องจาก cyanide ในมันสำปะหลังอยู่ในรูปของ cyanogenic glycoside ชื่อ linamarin ซึ่งจะต้องถูกเอ็นไซม์ในลำไส้ย่อย จึงจะปลดปล่อย cyanide ออกมา


    2.Arsenic หรือ สารหนู



    อาการรับพิษจากสารหนู 
              1. แบบเฉียบพลัน (จากการกิน)  ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ คลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงอุจจาระอาจมีเลือดปน คนไข้จะอ่อนเพลีย อาจช็อกและตายได้
              2. แบบเรื้อรัง (จากการกินหรือหายใจ)  จะมีอาการอ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับอาจถูกทำลาย นอกจากนี้อาจมีอาการทางผิวหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของผิวหนัง ทำให้หนังด้าน อาการนูนบวมแข็งอาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับเหงื่อและทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณนิ้ว


    3.Zyklon B



    Zyklon B นี้เป็นยาฆ่าแมลงที่มีใช้ไซยาไนด์ ประกอบด้วย HCN, stabilizer, ethyl bromoacetate, และตัวดูดซับอื่นๆ ....ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ถ้าทิ้งไว้เฉยๆ แต่ถ้าเมื่อไรไปให้ความร้อนมัน จะเกิดไอขึ้น …. ทีนี้ก็พร้อมใช้งาน
    โทษของ Zyklon B หลักๆ เลยก็คือ ทำลายระบบการหายใจ โดยเฉพาะในระดับเซลล์ ที่ cyanide จะไปจับกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ electron transport chain

    4.Anthrax



    อาการของพิษหากโดนที่ผิวหนัง
    แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง (cutaneous anthrax) อาการที่พบคือ จะเริ่มเกิดเป็นตุ่มแดงๆตรงที่รับเชื้อ ซึ่งส่วนมากจะอยู่นอกร่มผ้า เช่น มือ แขน ขา แต่อาจพบที่ลำตัวหรือกลางหลังได้ กรณีถอดเสื้อตอนผ่าซากสัตว์ ตุ่มที่พบตอนแรกนี้จะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตุ่มหนองแล้วแตกออกเป็นแผลยกขอบตรงกลางบุ๋มมีสีดำ (black escalate) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ในเวลาเดียวกันถ้ายังไม่ได้รับการรักษาก็จะมีตุ่มใหม่เกิดขึ้นรอบๆ แผลเดิมขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ บางครั้งรอบๆแผลจะบวมแดง แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ ยกเว้นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง ปกติแผลที่เกิดจากเชื้อแอนแทรกซ์จะหายยาก ถ้าได้รับการรักษาช้า เพราะเป็นแผลเนื้อตายซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากพิษ(toxin) ของตัวเชื้อ อัตราป่วยตายกรณีไม่ได้รับการรักษาไม่สูงนัก อยู่ระหว่างร้อยละ 5-20 เท่านั้น

    5.Sulfur Mastard



    มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน กลิ่นฉุนคล้ายกระเทียม ละลายได้ดีในไขมัน และอาจตกค้างอยู่ในพื้นที่เปื้อนพิษได้หลายปี เข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางระบบหายใจ และทางผิวหนัง
    ในปัจจุบันได้มีการนำสารกลุ่มนี้มาใช้เป็นยารักษามะเร็ง สารกลุ่มนี้จะทำปฏิกิริยากับ DNA ในนิวเคลียสของเซลล์ทำให้การทำงานของเซลล์ต่างๆ เสียไป เซลล์ซึ่งเจริญเติบโตและแบ่งตัวเร็วเช่น เซลล์ในไขกระดูก เซลล์ของเยื่อเมือกและผิวหนัง และเซลล์ของอวัยวะสืบพันธุ์จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้มีการอักเสบของอวัยวะระบบต่างๆ หลายระบบ

    6.Polonium



    โพโลเนียมที่เข้าสู่ร่างกาย จะกระจายตัวได้ดีในน้ำ และเลือด อวัยวะที่มีเลือดหรือมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากจะพบการสะสมของโพโลเนียม เช่น 
    ในหัวใจ ปอด ม้าม โพโลเนียม ปริมาณ 0.89 ไมโครกรัม  ทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในคนหนัก 80 กิโลกรัมโดยกลไกลที่ทำให้เสียชีวิตเกิดจาก
    ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือระบบหายใจล้มเหลว ส่วนการได้รับโพโลเนียมในปริมาณน้อยเป็นเวลานาน เช่น จากการสูบบุหรี่ ทำให้เกิดพิษเรื้อรัง อาจทำให้เป็นมะเร็งปอดได้

    7.Strychnine





    สตริกนิน เป็นสารประกอบประเภทอัลคาลอยด์ (Alkaloid) มีรสขมจัด และมีพิษ ได้จากการสกัดเมล็ดของพืช ชื่อ แสลงใจ (Strychnos nuxvomica) สารชนิดนี้ใช้เป็นสารกำจัดหนู ในยุโรปใช้สำหรับป้องกันและกำจัดสัตว์อื่นๆมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไปสตริกนินจะอยู่ในลักษณะเป็นเม็ดสีเขียว หรือแดง ขนาดที่คนตายประมาณ 15-30 มิลลิกรัม

    8.Mercury



    ปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง เช่นเดียวกับสารพิษชนิดอื่นๆ คือ
          1.ทางปาก โดยสูดเอาผง หรือไอปรอทเข้าสู่ปอด เนื่องจากปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย
          2.ทางปาก โดยการรับประทานเข้าไป มักเกิดจากอุบัติเหตุปะปนกับอาหารหรือน้ำดื่ม
          3.ทางผิวหนัง โดยการดูดซึม ไอระเหยหรือฝุ่นละอองของปรอททำให้ผิวหนังระคายเคืองเกิดโรคผิวหนังได้

    อาการพิษเกิดจากปรอท
           การเกิดพิษจากสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ
          -อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ
          -เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร
          -มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด
          -เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก
          -เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด
          -ตายในที่สุด

    9.Oleander / ดอกยี่โถ



    เป็นดอกไม้ที่มีพิษร้ายแรงอันดับต้นๆของโลก ทุกส่วนของต้นไม้นี้เป็นพิศหมด แค่เผลอสูดควันที่เราเผามันเข้าไป 
    ก็เจออันตรายแล้ว ถ้าเผลอกินเข้าไปละก็ จะอันตรายต่อหัวใจ และระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้.

    10.Sarin / แก็สซาริน



    Sarin ถูกระบุว่า เป็นแก๊สพิษที่ผู้ก่อการร้ายใช้ในการก่อเหตุสะเทือนขวัญในญี่ปุ่นเมื่อเช้าวันที่ 20 มีนาคม 2538นั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ศพ และเจ็บป่วยนับพันคน ( ผู้ก่อการร้าย - ลัทธิโอมรินชิเกียว )
                 
               Sarin เป็นอาวุธพิษ (Warfare agent) ตัวหนึ่งในกลุ่มสารพิษต่อระบบประสาท (Nerve agents) 
    ซึ่งใน กลุ่มนี้ยังรวมถึงสาร Tabun, Soman, VX อาวุธพิษดังกล่าวนี้ ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้ง
    ที่ 1 และ 2 ทั้งหมดเป็นสาร Organophosphates เช่นเดียวกับที่ใช้เป็นสารเคมีกำจัดแมลง แต่มีพิษร้ายแรง
    กว่าและเกิดรวดเร็วกว่ามาก โดยถูกดูดซึมได้ดีทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลง
    อย่างรวดเร็ว โดย hepatic microsomal enzymes เปลี่ยน sulfur ให้เป็น oxygen สารที่เกิดขึ้นจะจับกับ Acetylcholinesterase enzyme (AChE) แบบ irreversible ทำให้ทำงานไม่ได้ ปกติ Acetylcholine 
    (ACh) เป็น neurotransmitter พบที่ sympathetic ganglion, parasympathetic postganglion, neuromuscular junction และ central nervous system (CNS) เมื่อ AChE ทำงานไม่ได้ทำให้มี ACh มากเกิน จึงเกิดอาการจำเพาะจากการกระตุ้นระบบประสาทนั้นๆ

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×