ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ปิระมิดแห่งอาบูซีร์ (ตอนที่ 2)
ปิระมิดแห่ง Neferefre (Raneferer) ในอาบูซีร์ (ตอนแรก)
(แปลจากบทความของอลัน วินสตัน)
การตรวจสอบปิระมิดแห่ง Neferefre ซึ่งที่ได้รู้จักกันมานานแล้วว่าเป็นปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่งอาบูซีร์ ทำให้เราเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เลยว่านักอิยิปต์วิทยาได้รวบรวมหลักฐานเพื่อที่จะไขความลับของประวัติศาสตร์ของชนชาติอิยิปต์ได้อย่างไร
ปิระมิดองค์นี้รู้จักกันในชื่อว่า ปิระมิดซึ่งเป็นที่สถิตของเทพ Ba นี้คือแหล่งอำนาจของ Neferefre นั่นเอง
ปิระมิดองค์นี้ถูกตรวจสอบโดยนักสำรวจยุคแรก ๆ จำนวนหนึ่ง เช่น เพอร์ริง เลบเซียส เดอมอร์แกน บอร์ชาร์ดท และคนอื่น ๆ แม้จะมีบางคนที่คิดว่านี่อาจจะเป็นปิระมิดของ Neferefre แต่คนอื่น ๆ กลับพิจารณาว่ามันเป็นของ Shepseskare ส่วนคนที่เหลือยังลังเลที่จะฟันธงไปว่าใครคือเจ้าของปิระมิดแห่งนี้กันแน่ ไม่มีใครเลยที่จะว่ามัมมี่ผู้เป็นเจ้าของได้จัดการสร้างปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้ด้วยตนเอง จริง ๆ แล้วปิระมิดนี้ดูเหมือนกับสุสานมาสตาบา มาก แต่มันเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่ใช่สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้เช่นเดียวกับมาสตาบา จริง ๆ แล้ว ด้วยเพราะรูปทรงที่ตัดสั้นนี้เอง สิ่งที่ถูกวางผังให้เป็นปิระมิดจึงดูเหมือนกับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีรูปร่างเหมือนม้านั่งมากกว่าซึ่งต่อมานักบวชได้เรียกมันว่า “เนินโบราณ” สถานที่แห่งกำเนิดอันนิรันดร์ สถานที่แห่งชีวิต และการฟื้นคืนชีพ
จริง ๆ ลุดวิก บอร์ชาร์ดท นักโบราณคดีผู้มากด้วยประสบการณ์ และผู้เชี่ยวชาญในด้านปิระมิด นั้นเริ่มที่จะเข้าใกล้สู่การค้นพบลักษณะที่แท้จริงของปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ขณะที่คิดว่าไม่อยากจะมองผ่านซากปรักหักพังทางสุดเขตด้านตะวันตกของสุสานแห่งอาบูซีร์ เขาจึงพยายามทำการขุดค้นให้สำเร็จให้จงได้ เขาตัดสินใจที่จะขุดค้นจากคูลึกลงไปหลายเมตรเพื่อที่ทำให้เห็นคูน้ำที่ทอดมาจากทางเหนือไปยังศูนย์กลางของอนุสาวรีย์
และที่นี่ เมื่อเห็นสุสานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็เป็นเรื่องปกติที่จะคิดเอาว่าเป็นทางที่นำไปยังห้องฝังพระศพ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้เข้าไปถึงยังทางเดินหรือส่วนที่เหลือ ผลลัพธ์ก็คือมันยิ่งยืนยันความเชื่อที่ว่าปิระมิดแห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยจริง ๆ โครงสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์และไม่มีแกนลึกสุดของปิระมิด ทำให้มองเห็นว่ายังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างโครงสร้างข้างใต้เลย
และที่นี่ เมื่อเห็นสุสานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็เป็นเรื่องปกติที่จะคิดเอาว่าเป็นทางที่นำไปยังห้องฝังพระศพ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้เข้าไปถึงยังทางเดินหรือส่วนที่เหลือ ผลลัพธ์ก็คือมันยิ่งยืนยันความเชื่อที่ว่าปิระมิดแห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยจริง ๆ โครงสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์และไม่มีแกนลึกสุดของปิระมิด ทำให้มองเห็นว่ายังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างโครงสร้างข้างใต้เลย
โชคไม่ดีสำหรับบอร์ชาร์ดทเลยที่เขายอมแพ้เสียก่อน บางทีหากขุดลงไปลึกอีกสักหนึ่งเมตรต่อจากจุดที่เขาหมดความพยายาม เขาก็จะทำเป็นผู้ค้นพบสิ่งสำคัญถึงสองอย่างภายใต้เศษหินปูนพวกนั้น เขาจะไปถึงยังที่ก้นคูน้ำ และจะพบกับบล็อกขนาดใหญ่ที่ทำขึ้นจากแรกนิตสีแดงที่ด้านนอกของโครงสร้างซุ้มประตูทางเข้าของทางเดินที่นำเข้าไปยังห้องฝังพระศพ ซึ่งยังคงเป็นหลักฐานที่ยังคงอยู่ของสิ่งก่อสร้างใต้ดิน เขาก็จะได้พบจารึกที่เขียนต่อกันซึ่งบันทึกไว้ในบล็อกสีดำจากแกนกลางของอาคารที่บันทึกชื่อของ Neferefre ไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม การค้นพบที่ยังไม่สมบูรณ์ของเขาก็ทำให้ปิระมิดแห่งนี้กลายเป็นปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้ถูกลืมเลือนไปจากวงการโบราณคดีถึง 70 ปีเลยทีเดียว ในที่สุดในทศวรรษที่ 1970 มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปรากได้ทำการสำรวจอย่างเป็นระบบ และนำหลักฐานและข้อสันนิษฐานต่าง ๆ มาประกอบกันจนกระทั่งได้ข้อสรุปว่าปิระมิดแห่งนี้เป็นปิระมิดของ Neferefre จริง ๆ และจริง ๆ แล้วร่างมัมมี่ของพระองค์ก็ก็ถูกฝังอยู่ในปิระมิดนั้นนั่นเอง
ในครั้งแรกพวกเขาพบว่าวิหารฝังศพของ Neferefre นั้นได้ถูกเอ่ยถึงอย่างเป็นพิเศษในชิ้นส่วนกระดาษปาปิรัสที่พบในวิหารฝังพระศพของ Neferirkare เอกสารฉบับนี้ทำให้เห็นว่าอย่างน้อยวิหารฝังศพของ Neferefre ก็ควรจะอยู่ในบริเวณของอาบูซีร์นี่เอง และดูเหมือนว่าจะใกล้ ๆ กับปิระมิดของ Neferirkare ด้วย
เบาะแสอย่างที่สองก็คือบล็อกหินปูนในหมู่บ้านของอาบูซีร์ ซึ่งอาจจะมาจากวิหารฝังพระศพของ Neferirkare ก็ได้ มันเผยให้เห็นฉากบางส่วนที่วาดภาพถึงครอบครัวของ Neferirkare ซึ่งรวมนับตั้งแต่กษัตริย์องค์ก่อน ๆ เช่น Khentkaues ที่สอง และโอรสที่ชื่อ Neferre เราเชื่อว่า Neferre ซึ่งมีความหมายว่า “เรผู้สง่างาม” อาจจะเปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็น Neferefre ซึ่งมีความหมายว่า “เรผู้มีความสง่างามในตัวเอง”
ในที่สุด ขณะที่มุมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมหาปิระมิดแห่งกีซาทอดตัวเชื่อมต่อกันและหันไปในทิศทางของ Heilopolis (วิหารเทพเรและศูนย์กลางอันยิ่งใหญ่ของสุริยเทพอันศักดิ์สิทธิ์ของ Iunu) เช่นเดียวกับ มุมตะวันตกเฉียงเหนือของปิระมิดหลักที่อาบูซีร์ ปิระมิดสององค์แรกบนแนวของ Heliopolis ที่อาบูซีร์นั้นได้แก่ปิระมิด Sahure และ Neferirkare ซึ่งรวมถึงปิระมิดองค์ถัดไปที่ยังสร้างไม่เสร็จด้วย ด้วยเหตุนี้ มันจึงดูเหมือนว่าปิระมิดองค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จนั้นมีไว้สำหรับกษัตริย์องค์ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็น Neferefre และยังมีหลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ ที่ทำให้การสันนิษฐานว่าปิระมิดองค์นั้นเป็นของ Neferefre แน่นหนาขึ้น
ขณะนั้นได้ล่วงเข้าสู่ตอนปลายของศตวรรษที่ 20 แล้ว นักโบราณคดีชาวเชคก็ได้เปรียบทางเทคนิคเหนือบอร์ชาร์ดทอย่างเห็นได้ชัด พวกเขาเริ่มต้นการสำรวจโดยใช้การทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ ที่สำคัญคือเครื่องวัดสนามแม่เหล็ก พวกเขาไม่ต้องขุดหลุมเพื่อเปิดทาง แต่พวกเขาสามารถสำรวจทางด้านหน้าของกำแพงด้านทิศตะวันออกจากพื้นผิวได้เลย การค้นพบของพวกเขาทั้งชัดเจนและน่าประหลาดใจ ขณะที่พยายามทดสอบให้มั่นใจว่าใต้พื้นทรายนั้นยังมีอาคารที่มีรูปร่างสูงใหญ่อย่างชัดเจนซึ่งทำขึ้นจากอิฐดินเหนียว และมีเส้นขอบเป็นตัวอักษร T ซึ่งเป็นรูปร่างเฉพาะตัวของวิหารฝังศพในราชวงศ์ที่ 5 และที่ 6
การขุดค้นทางโบราณคดีหลังจากนั้นดำเนินไปจนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อันเป็นยุคทองของการแขนงวิชาการทางโบราณคดี และได้ทำให้เกิดการค้นพบทางโบราณคดีจำนวนมากมายเกินคาดและหลากหลายประเด็น ซึ่งเกี้ยวข้องกับวิธีการสร้างโครงสร้างของกลุ่มปิระมิด สถานภาพของสุสานหลวงในช่วงเวลานั้น และองค์กรแห่งพิธีกรรมพระศพหลวง
นอกจากนี้ ลักษณะที่แท้จริงของกลุ่มปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้อาจจะยังอยู่ห่างไกลจากนักปล้นสุสานและนักขโมยหินที่จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ในขณะเดียวกันมันก็การปล่อยให้นักโบราณคดีสามารถพิจารณาคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับการสร้างปิระมิดก่อนหน้านี้ได้อีกด้วย
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าที่ตรงนั้นเป็นเพียงชั้นแรก และลักษณะของมันก็มีไว้เพื่อเป็นฐานสำหรับปิระมิดที่จะสร้างขึ้นในต่อไป แล้วในตอนกลางของฐานก็เป็นหลุมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ถูกขุดลงไป ในแนวตะวันออก-ตก ซึ่งจะได้สร้างสุสานหลวงในส่วนใต้ดิน ต่อมา คูน้ำลึกก็ถูกขุดลงไปยังหลุมจากทางทิศเหนือ ซึ่งคิดว่าจะเอาไว้เพื่อการขุดค้นทางโบราณคดีซึ่งเป็นทางเดินลงไปยังห้องใต้ดิน
มันยังเป็นไปได้สำหรับนักโบราณคดีในการค้นหาความจริงจากลักษณะสิ่งก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์อันนี้ ที่การทำงานในโครงสร้างย่อยถูกวางแผนให้เริ่มต้นขึ้นในเวลาเพียงไม่นานหลังจากที่ทำการก่อสร้างในครั้งแรก นั่นคือชั้นที่ต่ำสุดของโครงสร้างส่วนบน
โครงสร้างส่วนบนมีความน่าสนใจและความน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักโบราณคดีเป็นอย่างมาก เป็นเวลานานแล้วที่เชื่อว่าแกนกลางของปิระมิดสร้างขึ้นโดยการก่อสร้างโดยจัดเรียงหินเป็นขั้น ๆ ลาดเอียงเข้าไป และความลาดเอียงวัดได้ 75 องศา พิงไว้บนแกนหินรอบ ๆ แกนหลักของปิระมิด ดังนั้นผลจากการศึกษาจึงได้รู้ว่าการก่อสร้างทำโดยจัดเรียงหินโดยใช้ระบบการทำงานจากภายในซึ่งคล้ายกับชั้นของหัวหอม มันน่าสนใจมาก ทฤษฎีนี้ได้รับการเสนอโดยริชาร์ด เลพเซียส ซึ่งอ้างอิงจากการศึกษาปิระมิดของ Neferirkare และปิระมิดอื่นในอาบูซีร์ บอร์ชาร์ดทซึ่งเป็นผู้ค้นหาความจริงจากปิระมิดที่ใหญ่ที่สุดทั้งสองในอาบูซีร์ก็ยอมรับทฤษฎีนี้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่ยังสร้างไม่เสร็จของปิระมิดนี้ และการทำความสะอาดชั้นของซากปรักหักพังที่หนาแน่นครอบคลุมไปทั่วบริเวณที่เหลือของห้องฝังพระศพของกษัตริย์พิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีก่อนหน้านั้นไม่เป็นความจริง พื้นผิวที่อยู่ด้านนอกของแกนปิระมิดชั้นที่หนึ่งนั้นประกอบขึ้นด้วยผนังที่สร้างจากบล็อกหินปูนสีเทาเข้มขนาดใหญ่ซึ่งมีความยาวถึง 5 เมตร โดยใช้ดินเหนียวยึดติดไว้ด้วยกัน พวกมันถูกวางซ้อนกันเพื่อที่จะสร้างแกนของปิระมิดชั้นแรกซึ่งสูงประมาณ 7 เมตร ยังมีผนังที่สร้างขึ้นจากบล็อกที่เล็กกว่าในลักษณะเดียวกัน และผนังนั้นก็ถูกสร้างขึ้นเป็นช่องทางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่นำไปยังโครงสร้างชั้นล่างของสุสาน อย่างไรก็ตามระหว่างผนังทั้งสองนี้กลับไม่มีชั้นหินร่วมกันแต่อย่างใด แต่มีเพียงเศษเล็ก ๆ ของหินปูนที่ไม่มีคุณภาพมากนัก บางวครั้งก็ติดกันอยู่ด้วยสารเชื่อมที่ทำจากดินเดียว ปูนและทราย และบางครั้งก็วางไว้เฉย ๆ บางครั้ง ก็มีแม้กระทั่งส่วนเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นจากก้อนหินหยาบ ๆ และเศษปูนที่บางครั้งก็ผสมกับเศษของอิฐดินเหนียวและเครื่องปั้นจำพวกหม้อไหแตก ๆ
มันเป็นไปได้ที่ปิระมิดขนาดใหญ่องค์อื่น ๆ ในอาบูซีร์ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการเดียวกัน แม้ว่าวิธีการนี้จะดูยุ่งเหยิงกว่า และไม่ปลอดภัยในด้านความเสถียร แต่มันก็ประหยัดเวลาและทรัพยากร แน่นอนล่ะ มันยังอธิบายได้ด้วยว่าทำไมปิระมิดแห่งอาบูซีร์จึงกร่อนพังลงมาเห็นแต่หินปูนสีขาวและแกนของปิระมิดซึ่งเกิดทั้งจากกันกระทำของมนุษย์และการกัดกร่อนตามธรรมชาติ จนกระทั่งตอนนี้แทบจะกลายเป็นกองหินไร้รูปร่างไปเลย จึงไม่จำเป็นเหตุผลที่ปิระมิดอื่น ๆ ของอิยิปต์ไม่สร้างตามวิธีการแบบนี้อีกต่อไป
การเริ่มต้นสร้างโครงสร้างใต้ดินในเวลาไม่นานหลังจากสร้างโครงสร้างส่วนบนเป็นขั้นตอนการก่อสร้างที่ดูมีเหตุผลหากพิจารณาจะสร้างหลังคาที่เป็นหน้าจั่วของห้องใต้ดินซึ่งเดิมทีไม่น่าจะอยู่ในแผนผังของปิระมิดเลย เช่นเดียวกับปิระมิดในอาบูซีร์ก่อนหน้าที่มีถึงสามชั้น แต่ละชั้นก็สร้างขึ้นจากบล็อกหินปูนขนาดใหญ่ แต่เราเชื่อว่าการตายของผู้ปกครองที่ยังโตไม่เต็มที่นั้นทำให้ช่างก่อสร้างจำเป็นต้องลดขนาดของชั้นลงก็เป็นได้
แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานนั้นจำเป็นต้องสร้างส่วนบนของโครงสร้างใต้ดินซึ่งจำเป็นต้องมีสิ่งก่อสร้างบางอย่างบนด้านข้างเพื่อให้บล็อกขนาดใหญ่ของหลังคาจั่วสามารถติดยึดอยู่ได้ ดังนั้น ส่วนบนหรือหลังคาที่เป็นรูปจั่วนั้นจึงอยู่ระดับเพียงกับรากฐานของปิระมิด
กษัตริย์ผู้สิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควร ซึ่งอาจจะสิ้นพระชนม์ก่อนที่การก่อสร้างทางดินในอาคารและชั้นใต้ดินเสร็จด้วยซ้ำ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อโครงการก่อสร้างดั้งเดิม ห้องใต้ดินทั้งหมดถูกสร้างให้เสร็จในเวลาอันรวดเร็ว และช่องว่างเหนือจั่วหลังคาของส่วนที่ฝังศพของฟาโรห์ก็เต็มไปด้วยก้อนหินและเศษปูนที่ถูกจัดวางในแนวทแยงจากผนังผ่านศูนย์กลางของปิระมิด ในขั้นแรกของแกนปิระมิดนั้นคล้าย ๆ กับปิระมิดที่ตัดสั้น ซึ่งมีผิวเป็นบล็อกของหินปูนสีขาวอย่างดี พื้นผิวภายนอกซึ่งเป็นทางลาดประมาณ 78 องศา ก็ถูกทำให้เรียบลงอย่างประณีต และแบบแปลนที่ได้ก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับหลุมฝังศพแบบมาสตาบา ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ชิ้นส่วนกระดาษปาปิรัสที่ขุดค้นขึ้นได้จากในโครงสร้างวิหารฝังเป็นหลักฐานว่ากลุ่มปิระมิดนี้คนที่สร้างและผู้ดูแลปิระมิดเรียกว่า “เนิน” น่าสนใจอย่างมาก พื้นผิวส่วนบนสุดนั้นปกคลุมไปด้วยชั้นโคลนที่หนาหลายเซนติเมตรเลยทีเดียว และหินเหล่านั้นก็ได้มาจากทะเลทรายรอบ ๆ ดังนั้นส่วนบนสุดที่เป็นหลังคาของ “เนิน” จึงรวมเข้ากับทะเลทราย
น่าเสียดาย แม้มันอาจทำให้สิ่งก่อสร้างดูไม่น่าสนใจสำหรับโจรขโมยหินมากนัก แต่มันก็ทำให้ง่ายกว่าที่จะขุดหินจากสิ่งก่อสร้าง โจรขุดลงไปจากด้านบนอย่างง่าย ๆ และตั้งป้อมอยู่บนเนินลาดเอียงเพื่อทุบหินปูนสีขาวชั้นรองภายในห้อง แรก ๆ นั้นปิระมิดอาจจะถูกปล้นระหว่างช่วงต่อระหว่างยุคแรกก็ได้ ดังนั้นมันจะกลายเป็นเป้าหมายที่ง่ายที่จะขุดหินในยุคต่อ ๆ มา ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าหินจากปิระมิดองค์นี้ถูกชาวเปอร์เชียนนำไปใช้ใกล้ ๆ กับทางเดินสุสานในช่วงหลัง ๆ ของประวัติศาสตร์อิยิปต์ และก้อนหนินก็ยังคงหายไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 19
แผนผังของปิระมิดที่ยังสร้างไม่เสร็จของ Neferefre แห่งอาบูซีร์ ในอิยิปต์
ทางเข้าของปิระมิดตอนกลางทางด้านทิศเหนือนั้นอยู่ใกล้กับชั้นพื้นดิน มันโค้งเล็กน้อยไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ก่อนที่จะไปยังห้องขนาดเล็ก และในบริเวณที่ต่ำกว่านั้นเรียงรายไปด้วยหินแกรนิตสีชมพูและผนึกไปด้วยวัสดุแบบเดียวกัน บล็อกที่สร้างกำแพงขนาดใหญ่ซึ่งทำจากหินแกรนิตสีชมพูนี้เป็นเอกลักษณ์ในปิระมิดแห่งนี้ มันไม่เหมือนกับสุสานหลวงทั่ว ๆ ในปิระมิดในยุคเดียวกัน โดยปกติแล้ว ซุ้มประตูที่เป็นบล็อกหินจะเลื่อนขึ้นลงได้ อย่างไรก็ตาม ในปิระมิดแห่ง Neferefre ระบบหินคู่อันชาญฉลาดที่ใช้การดึงและช่องสำหรับเคลื่อนประตูก็ถูกนำมาใช้ ระบบนี้อาจจะถูกออกแบบและใช้ขึ้นมาเพราะคนสร้างสุสาน Neferefre นั้นตระหนักดีว่าสุสานอาจจะถูกพวกโจรรบกวนง่าย ๆ จากทางด้านบน
เมื่อผ่านกำแพงมาได้ ห้องย่อย และห้องฝังศพในปิระก็ทอดตัวเรียงกันตามแนวตะวันออก-ตกตรงเป๊ะ ทั้งสองห้องนั้นมีหินปูนสีขาววางเรียงรายอยู่ตลอดแนว
เห็นได้ชัดเลยว่า มีเพียงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังเหลือของส่วนประกอบเดิม ๆ ของปิระมิดเท่านั้นที่ถูกพบ มีส่วนที่สำคัญจริง ๆ เช่นชิ้นส่วนของโลงหินสีชมพู โถหินสีขาว เครื่องบรรจุหินสีขาว และของบูชา ชิ้นส่วนของมัมมี่ก็ถูกพบเช่นเดียวกัน รวมไปถึงมือซ้ายที่ยังสมบูรณ์ด้วย จากการตรวจสอบทางสรีระวิทยาดูเหมือนจะชี้ให้เห็นว่ามัมมี่นี้เป็นชายอายุ 20 23 ปี และหลักฐานอื่น ๆ ก็ชี้ว่าสิ่งที่ยังเหลือนี้อาจเป็น Neferefre นั่นเอง
เนื้อหาของปิระมิดแห่ง Neferefre ยังมีต่อนะคะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น