ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ปิระมิดแห่งอาบูซีร์ (ตอนที่ 1)
สุสานแห่งอาบูซีร์
อาบูซีร์นั้นเคยถูกเรียกก่อนหน้านี้ว่าสถานที่แห่งกษัตริย์ผู้ถูกลืมแห่งราชวงศ์ที่ 5 แม้ว่ามันจะมีอนุสาวรีย์ของกษัตริย์ซึ่งมีขนาดใหญ่ แต่กษัตริย์เหล่านี้กลับไม่มีชื่อเสียงเหมือนบรรพบุรุษในราชวงศ์ที่ 4 เลย สถานที่แห่งนี้เคยถูกปิดเยี่ยมชมเป็นเวลาหลายปี แต่ตอนนี้มันได้เปิดทำการให้เข้าชมได้อีกครั้งหนึ่งแล้ว เดิมทีปิระมิดแห่งอาบูซีร์นั้นประกอบไปด้วยปิระมิดของราชวงศ์ที่ 5 จำนวน 14 องค์ มีเพียง 4 องค์เท่านั้นที่ยังคงอยู่ หากคุณเดินทางมาจากซัคคารา ปิระมิดองค์แรกจากในสี่องค์ที่จะได้เห็นก็คือ ปิระมิดแห่ง Neferefre (ขออนุญาตไม่ถอดคำอ่าน จนปัญญาจริง ๆ ค่ะ) ปิระมิดแห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จ และอยู่ในสภาพที่แย่มาก อย่างไรก็ตาม มันก็ยังมีสิ่งของบางอย่างที่พิเศษอยู่ในปิระมิด เช่น รูปปั้นของราชวงศ์จากอาณาจักเก่าจำนวนหนึ่ง และรูปเหมือนของกษัตริย์องค์อื่น ๆ จำนวนมาก นอกจากจะมีรูปเหมือนของ Neferefre ผู้เป็นเจ้าของปิระมิดแล้ว ยังมีรูปของ Raneferef ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์และถือคทาอยู่ด้วย ชื่อเดิมของที่นี่คือ “Divine are the Ba-souls of Neferefre” ฐานของมันกว้างถึง 65 เมตร
นอกจากนี้ ยังมีหลุมฝังศพอีกมากมายในสุสานแห่งนี้ เช่นเดียวกับวิหารแห่งสุริยเทพของกษัตริย์ในราชวงศ์ที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือที่เมือง Abu Ghauob
ปิระมิดแห่งอาบูซีร์
ประกอบไปด้วยปิระมิดต่าง ๆ ดังนี้
ปิระมิด Khentkaues ที่ 2 แห่งอาบูซีร์
(แปลจากบทความของอลัน วินสตัน)
ที่ด้านทิศใต้ของปิระมิดแห่ง Neferirkare ที่อาบูซีร์นั้นมีสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก ๆ ที่ ลุดวิก บอร์ชาร์ดทเคยได้มาสำรวจเป็นครั้งแรก เพราะสถานที่ตั้งและทิศทางของมันจะบ่งบอกว่ามันเป็นปิระมิดขนาดเล็ก บอร์ชาร์ดทจึงไม่สใส่ใจมันเท่าใดนักและไม่สำรวจอย่างทั่วถึงเท่าใดนัก หลังจากที่นักโบราณคดีชาวเชคเข้ามาสำรวจในปี 1970 ค่อนข้างนาน ปิระมิดแห่งนี้ก็เผยตัวตามธรรมชาติ และเผยให้เห็นว่าเจ้าของปิระมิดแห่งนี้ไม่ใช่ใครอื่นไกลเลย นั่นคือ Khentkhaues ที่ 2 ผู้มีสายสัมพันธ์กับ Neferirkare นั่นเอง
ข้อความที่จารึกไว้ในปิระมิดช่วยให้เราสามารถตีความประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ข้อความเหล่านั้นกล่าวถึงปิระมิดนี้ว่าว่าอาจจะมีการก่อสร้างถึงสองครั้ง การสร้างปิระมิดนี้อาจจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของ Neferirkare แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่งการก่อสร้างก็หยุดชะงัด เราสันนิษฐานได้ว่ามันเกิดจากการสวรรคตของกษัตริย์ เพราะจารึกในการก่อสร้างส่วนนี้เรียก Khentkaues ที่สองว่าเป็น “พระมเหสี” แต่หลังจากนั้น การก่อสร้างก็ดำเนินต่ออีกครั้ง แต่ในครั้งนี้นางกลับถูกเรียกว่า “พระมารดา” ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโอรสของนางซึ่งอาจจะเป็น Niuserre ซึ่งได้กลายเป็นฟาโรห์องค์ใหม่ได้เป็นผู้สร้างปิระมิดให้กับนาง มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพระนาง Khentkaues สั่งให้เริ่มการก่อสร้างใหม่ได้เช่นกัน Niuserre นั้นอาจจะมีอายุน้อยก็ได้ขณะที่ก้าวขึ้นครองบัลลังก์ และหากเป็นเช่นนั้น พระนาง Khentkaues ก็อาจจะเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ซึ่งโดยทางปฏิบัติแล้ว ก็คือผู้ปกครองอิยิปต์นั่นเอง
(แผนผังปิระมิดของ Khentkaues แห่งอาบูซีร์ในอิยิปต์)
ปิระมิดนี้ก็เช่นเดียวกับปิระมิดอื่นๆ ในอาบูซีร์ที่เป็นซากปรักหักพัง มีความสูงสี่เมตร และออกแบบการก่อสร้างแบบง่าย ๆ โดยใช้หินปูนที่เหลือจากปิระมิดของ Neferirkare แกนของปิระมิดมีสามชั้น ห่อหุ้มด้วยดินที่ฉาบปกคลุมอยู่ เปลือกนอกนั้นเป็นหินปูนขาวที่มีคุณภาพสูง และยังมีการพบเศาของหินแกรนิตที่เทาเข้มของ Pyramidion ด้วย
ทางเข้าสู่ปิระมิดนั้นอยู่ใกล้ ๆ ระดับพื้นดินในตอนกลางของกำแพงด้านทิศเหนือ ทางเดินชั้นต้นนั้นสร้างขึ้นจากหินปูนสีขาวที่ทำขึ้นเป็นบล็อกเล็ก ๆ หลังจากทางลาดครั้งแรกก็จะมีทางสู่ทางทิศตะวันออก และสิ้นสุดที่กำแพงหินเรียบที่ปิดห้องฝังพระศพไว้ ห้องฝังพระศพยังมีหินปูนสีขาวเรียงรายไปหมด แต่มีบล็อกที่ขนาดใหญ่กว่ากรุไว้ที่ผนัง
ยังสามารถพบเจอเครื่องไม้เครื่องมือเกี่ยวกับการทำพิธีศพของพระราชินีอยู่ภายในปิระมิด เช่น เศษชิ้นส่วนหินแกรนิตสีชมพูที่นำไปทำเป็นโลงพระศพ ชิ้นส่วนจากการห่อพระศพ และชิ้นส่วนของหินที่ทำเป็นภาชนะ ซึ่งสังเกตได้ว่ามาจากพระนาง Khentkaues ที่สองอย่างแน่นอน
ที่ด้านหน้าของกำแพงด้านตะวันออกของปิระมิดเป็นวิหารบรรจุศพของพระนาง ซึ่งคล้าย ๆ กับของ Neferirkare ที่มีมากมายหลายชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวิหารซึ่งมีขนาดไม่โอ่อ่านั้นสร้างมาจากหินปูนและเป็นจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมายังแกนกลาง น่าเสียดายที่วิหารส่วนนี้นั้นถูกทำลายด้วยฝีมือของหัวขโมย ซึ่งยากที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ให้เหมือนแบบเดิมที่สร้างไว้ได้ทุกรายละเอียด ทางเข้าสู่วิหารนั้นเดิมทีจะอยู่ทางด้านตะวันออก ใกล้กับมุมฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตกแต่งด้วยเสาหินปูนคู่ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต้มด้วยสีแดง ซึ่งสอดคล้องกับจารึกอักษรฮีโรกริฟิคด้านนอกที่ระบุพระนาม ยศ และคำบรรยายถึงพระนาง
มีสนามกว้างที่ตกแต่งด้วยเสาหินแบบเดียวกันที่อยู่ทางด้านเสี้ยวตะวันออกของวิหาร สนามเสาหินนี้นำไปยังส่วนทางด้านทิศตะวันตกของวิหารซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางของสุสานของราชินี ที่ตรงนี้ยังมีห้องที่เป็นช่องสำหรับวางรูปแกะสลักศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง และที่ผนังยังมีประตูลวงที่ทำจากหินแกรนิตสีชมพู นอกจากนี้ยังมีช่องบันไดที่นำไปยังเนินด้านบน ซึ่งใช้เป็นที่ทำพิธีกรรมทางดาราศาสตร์
ห้องทางด้านทิศตะวันตกของวิหารนั้นตกแต่งด้วยฉากต่าง ๆ และคำจารึกในสีสันที่อ่อนลง แนวทางการตกแต่งวิหารนั้นเต็มไปด้วยการจัดเรียงสิ่งของต่าง ๆ เป็นแถวแนวและกว้างขวางอย่างน่าประหลาดทีเดียว เช่น สิ่งของที่ใช้ในการบวงสรวง เครื่องมือทำการเกษตร เครื่องมือที่ใช้การการฝังร่าง ที่บ่งบอกว่าเป็นของพระราชินี และอื่น ๆ อีกมากมาย ภาพพื้นหลังบางอย่างก็โดดเด่นเป็นพิเศษ แต่โชคไม่ดีที่ยังคงรักษาไว้ได้เพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่กล่าวถึงผู้ปกครองซึ่งก็คือ Niuserre และสมาชิกในครอบครัวซึ่งยืนอยู่ที่ด้านหน้าของพระพันปี (มารดาของกษัตริย์) บนชิ้นส่วนภาพนั้น ก็มีลักษณะเดียวกับชิ้นส่วนหินปูนอื่น ๆ ที่กะเทาะออกและประทับชื่อของพระนางไว้บนโคลน พระนางถึงจารึกตำแหน่งไว้ว่าเป็น “พระมารดาแห่งสองกษัตริย์แห่งอิยิปต์บนและอิยิปต์ล่าง” หรือบางครั้งก็จารึกไว้ว่า “กษัตริย์แห่งอิยิปต์ตอนบนและตอนล่างและพระมารดาของกษัตริย์แห่งอิยิปต์ตอนบนและอิยิปต์ตอนล่าง”
ภาพที่ยังเหลือบนเสาต้นหนึ่งที่ยังคงยืนหยัดอยู่ในสนามของวิหารสร้างความประหลาดใจอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว จารึกอักษรฮีโรกริฟฟิกที่เขียนลงมาในแนวดิ่งนี้ปรากฏตำแหน่งและชื่อซึ่งก็คือ Khentkaues ที่ปลายสุดของรูปภาพคือพระราชินีที่นั่งอยู่บนบัลลังก์และถือ คทา wadj ในมือ คิ้วของพระราชินีตกแต่งด้วยเครื่องประดับรูปงูเห่าที่ชื่อว่า ureaeus ประวัติศาสตร์อิยิปต์ในช่วงเวลานี้นั้น สิทธิที่จะสวมใส่ uraeus ที่ด้านหน้าศีรษะได้นั้นจะต้องมีอภิสิทธิ์พิเศษในฐานะกษัตริย์ผู้ปกครองหรือเทพเจ้าเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มันมีความเป็นไปได้ว่า uraeus ชิ้นนี้อาจทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์แสดงจุดประสงค์บางอย่างด้วย
แผนผังดั้งเดิมของกลุ่มปิระมิดนี้สมควรที่จะโอบล้อมไปด้วยผนังสูงที่สร้างขึ้นด้วยบล็อกที่ทำจากหินปูน มันมีการเริ่มก่อสร้างแล้ว แต่ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ จริง ๆ แล้ว ส่วนต่าง ๆ ของผนังที่ตั้งตรงนั้นถูกรื้อออกไปบางส่วน หลังจากที่กลุ่มปิระมิดถูกก่อสร้างและขยายออกไป ดังนั้นวัสดุต่าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งก่อสร้างเดิมจึงถูกใช้เพื่อสร้างปิระมิดศักดิ์สิทธิ์เล็ก ๆ ใกล้ ๆ กับมุมปิระมิดทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของส่วนที่เป็นหินเดิมของวิหาร
การก่อสร้างขึ้นมาใหม่นั้นรวมไปถึงการขยายฐานของวิหารไปทางทิศตะวันออกด้วย ทางเข้าใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ และก็ตกแต่งด้วยเสาหินคู่ นั้นตั้งตรงอยู่บนเส้นแกนทิศตะวันออก-ตกของหมู่ปิระมิด และมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่สร้างจากหินอยู่ถัดไปจากทางเข้าซึ่งจะย้ำเตือนผู้มาเยือนถึงการที่จะต้องทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนจะเข้าไปยังวิหาร
สิ่งก่อสร้างโดยมากนั้นสร้างขึ้นด้วยอิฐ ฉาบปูนขาวทับ ใช้ปูนขาวทาผนังให้เป็นสีขาว และบางครั้งก็ตกแต่งด้วยภาพวาด
โถงทางเข้าที่กว้างใหญ่นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจุดตัดภายใน เพื่อรองรับห้องต่าง ๆ จำนวน 5 ชุดที่มุมปิระมิดทางตะวันออกเฉียงใต้ที่ขยายวิหารออกไป และรองรับส่วนของห้องภายในที่มุมปิระมิดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และยังคงเชื่อต่อไปยังส่วนที่ละเอียดอ่อนที่สุดของวิหารที่มีห้องทำพิธีทางด้านตะวันตกด้วย
การสร้างส่วนใหม่ขึ้นมานี้ทำให้เห็นถึงรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่มีต่อกลุ่มปิระมิดสำหรับพระราชินีแล้ว จากเดิมทีที่ส่วนที่ต่อเดิมออกไปจากมหาปิระมิดของ Neferirkare จนต่อมาก็กลายเป็นสุสานที่ออกแบบและมีหน้าที่ของตัวเองสำหรับคนซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกับผู้ปกครอง
ข้อมูลเฉพาะ
§ สูง 17 เมตร
§ ฐานกว้าง 25 เมตร
§ ความลาดชัน 52 องศา
§ สมัยราชวงศ์ที่ 5
§ ปิระมิดบริวาร 1 องค์
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น