ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : La Chute : มนุษย์สองหน้า
มนุษย์สองหน้า La Chute
เรื่องราวของคนผู้ฉ้อฉลความเป็นมนุษย์” คือคำจำกัดความของ “มนุษย์สองหน้า” นวนิยายขนาดสั้นกระชากหน้ากากคนจอมปลอมในสังคม ทั้ง ๑๒๘ หน้ากระดาษอัดแน่น ด้วยเนื้อหาการนำเสนอมุมมองแปลกใหม่ต่อความเป็นมนุษย์ โดย “อัลแบร์ต กามูส์” (Albert Camus) นักเขียนนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อันเป็นยุคแห่งการฉ้อฉลทั้งภายในฝรั่งเศส และกลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก ถ่ายทอดออกเป็นภาษาไทยครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยจันทร์แจ่ม บุนนาค จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๔๓ “ตุลจันทร์” เป็นผู้ขัดเกลาปรับปรุงใหม่ และพิมพ์สำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มอีกเป็นครั้งที่ ๗
ในวงการหนังสือเรื่องสั้นหรือนวนิยาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขียนโดยนักเขียนไทย หรือเป็นหนังสือแปล ก็ยากนักที่จะขึ้นปกด้วยใบหน้าของผู้เขียนเอง และ อัลแบร์ต กามูส์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนอันน้อยนิดนั้น ซึ่งได้รับเกียรติตีพิมพ์ใบหน้าของเขาลงบนปกหนังสือของเขาเอง ทั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการรับประกันถึงหน้าต่อๆ ไปที่จะพลิกไปอ่านว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
อัลแบร์ต กามูส์ เป็นทั้งนักคิดและนักเขียน ที่เคยเข้าร่วมขบวนการใต้ดินเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านลัทธินาซีและฟาสซิสต์ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เขาต้องออกมาจากขบวนการนั้น เผชิญกับความโดดเดี่ยว ผิดหวัง และดิ่งลงต่ำสุดของชีวิต อันเป็นแรงบันดาลใจให้จรดปากการ่าง “มนุษย์สองหน้า” นี้ขึ้นมา
กามูส์ เป็นผู้มองสังคมในมุมที่แตกต่าง มองจากหลายมุมจนเห็นมุมที่ขัดแย้ง และนำเอามาถ่ายทอดลงเป็นตัวหนังสือ เกิดเป็นรูปเล่มมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง “คนนอก” (Étranger) ซึ่งเป็นหนังสือที่ทำให้กามูได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรตินั้นเอง
นวนิยายของกามูแต่ละเล่มจะมีความพิเศษแตกต่างกันไป แต่ก็ยังยืนยันการนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง สำหรับ “มนุษย์สองหน้า” นี้ นอกจากจะเด่นเรื่องการนำเสนอส่วนลึกของจิตสำนึกของมนุษย์แต่ละคนแล้ว กลวิธีการดำเนินเรื่องก็นับว่าแปลกมาก คือใช้ตัวละครเพียงตัวเดียวเป็นผู้เล่าเรื่อง และบรรยายๆ เหตุการณ์ต่างๆ จากบทสนทนา แม้ในเรื่องมีตัวละครมากกว่าหนึ่ง แต่ว่าเป็นบทสนทนาของตัวละครเอกตัวเดียวทั้งเรื่อง โดยไม่มีบทสนทนาของตัวละครอื่น หรือบทบรรยายของผู้เขียนแทรกอยู่เลย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะนำเสนอเรื่องราวที่ดำเนินไป ในลักษณะเช่นนี้ อันเป็นความสามารถอันโดดเด่นของกามูส์โดยแท้
“มนุษย์สองหน้า” นี้บอกเล่าเรื่องราวผ่าน ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ อดีตทนายความ ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด อันเป็นตัวแทนจิตสำนึกของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปในสังคมโลก ซึ่งมักจะชอบพิพากษาคนอื่นๆ ไปพร้อมๆ กับแสดงความสำนึกผิดไปพร้อมๆ กัน แต่เนื้อแท้มิได้สำนึกผิดในสิ่งที่คิดว่าเป็นความผิดเท่านั้น หากแต่หาข้อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเท่านั้น
ตลอดทั้งเรื่องกามู สร้างตัวละครที่มีมุมมองแบบที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เป็นปรัชญาที่เข้าใจง่ายๆ หากแต่ลึกล้ำในการบอกเล่าถึงสิ่งลวงอันเกิดขึ้นจริงในสังคม อันอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ในการแสวงหาข้อสนับสนุนว่าตนไม่ได้ผิดไปกว่าใคร ในส่วนนี้เองซึ่งเป็นจุดคาบเกี่ยวระหว่างความดีความเลว หรือด้านมืดด้านสว่างของมนุษย์ทุกคน
“มนุษย์สองหน้า” นี้คือตัวแทนสามัญชนทั่วไปซึ่งมักจะมีมากกว่าสองหน้าขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ต้องการรู้จักตัวเองและสังคมให้มากขึ้นไปในแง่มุมใหม่ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ยอมรับด้านมืดของตัวเองไม่ได้ เพราะโดยพื้นฐานจิตใจของมนุษย์ย่อมไม่ต้องการใครรู้เท่าทันตัวตนของตนเองมากเกินไป อันเป็นพรสวรรค์ของอัลแบร์ต กามูส์ แต่หากใครต้องการรับรู้ความเป็นไปของตนเองในแง่มุมใหม่ๆ จะไม่ผิดหวังเมื่อรู้จัก ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ “ผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด” คนนี้มากขึ้น
เตรียมข้อมูลไม่ทัน เอาของเก่าที่เคยเขียนส่งอาจารย์ตอนเรียนมาก่อนก็แล้วกัน
ปล. ถ้าใครเคยเห็นบทความนี้ในบางเว็บแล้ว เราขอยืนยันว่าเป็นบทความของเราเอง แต่ว่ารูปน่ะ ไปยืมของคนอื่นเค้ามา
เรื่องราวของคนผู้ฉ้อฉลความเป็นมนุษย์” คือคำจำกัดความของ “มนุษย์สองหน้า” นวนิยายขนาดสั้นกระชากหน้ากากคนจอมปลอมในสังคม ทั้ง ๑๒๘ หน้ากระดาษอัดแน่น ด้วยเนื้อหาการนำเสนอมุมมองแปลกใหม่ต่อความเป็นมนุษย์ โดย “อัลแบร์ต กามูส์” (Albert Camus) นักเขียนนักคิดชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อันเป็นยุคแห่งการฉ้อฉลทั้งภายในฝรั่งเศส และกลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก ถ่ายทอดออกเป็นภาษาไทยครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยจันทร์แจ่ม บุนนาค จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๔๓ “ตุลจันทร์” เป็นผู้ขัดเกลาปรับปรุงใหม่ และพิมพ์สำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มอีกเป็นครั้งที่ ๗
ในวงการหนังสือเรื่องสั้นหรือนวนิยาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขียนโดยนักเขียนไทย หรือเป็นหนังสือแปล ก็ยากนักที่จะขึ้นปกด้วยใบหน้าของผู้เขียนเอง และ อัลแบร์ต กามูส์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนอันน้อยนิดนั้น ซึ่งได้รับเกียรติตีพิมพ์ใบหน้าของเขาลงบนปกหนังสือของเขาเอง ทั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการรับประกันถึงหน้าต่อๆ ไปที่จะพลิกไปอ่านว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
อัลแบร์ต กามูส์ เป็นทั้งนักคิดและนักเขียน ที่เคยเข้าร่วมขบวนการใต้ดินเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านลัทธินาซีและฟาสซิสต์ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เขาต้องออกมาจากขบวนการนั้น เผชิญกับความโดดเดี่ยว ผิดหวัง และดิ่งลงต่ำสุดของชีวิต อันเป็นแรงบันดาลใจให้จรดปากการ่าง “มนุษย์สองหน้า” นี้ขึ้นมา
กามูส์ เป็นผู้มองสังคมในมุมที่แตกต่าง มองจากหลายมุมจนเห็นมุมที่ขัดแย้ง และนำเอามาถ่ายทอดลงเป็นตัวหนังสือ เกิดเป็นรูปเล่มมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง “คนนอก” (Étranger) ซึ่งเป็นหนังสือที่ทำให้กามูได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรตินั้นเอง
นวนิยายของกามูแต่ละเล่มจะมีความพิเศษแตกต่างกันไป แต่ก็ยังยืนยันการนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง สำหรับ “มนุษย์สองหน้า” นี้ นอกจากจะเด่นเรื่องการนำเสนอส่วนลึกของจิตสำนึกของมนุษย์แต่ละคนแล้ว กลวิธีการดำเนินเรื่องก็นับว่าแปลกมาก คือใช้ตัวละครเพียงตัวเดียวเป็นผู้เล่าเรื่อง และบรรยายๆ เหตุการณ์ต่างๆ จากบทสนทนา แม้ในเรื่องมีตัวละครมากกว่าหนึ่ง แต่ว่าเป็นบทสนทนาของตัวละครเอกตัวเดียวทั้งเรื่อง โดยไม่มีบทสนทนาของตัวละครอื่น หรือบทบรรยายของผู้เขียนแทรกอยู่เลย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะนำเสนอเรื่องราวที่ดำเนินไป ในลักษณะเช่นนี้ อันเป็นความสามารถอันโดดเด่นของกามูส์โดยแท้
“มนุษย์สองหน้า” นี้บอกเล่าเรื่องราวผ่าน ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ อดีตทนายความ ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด อันเป็นตัวแทนจิตสำนึกของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปในสังคมโลก ซึ่งมักจะชอบพิพากษาคนอื่นๆ ไปพร้อมๆ กับแสดงความสำนึกผิดไปพร้อมๆ กัน แต่เนื้อแท้มิได้สำนึกผิดในสิ่งที่คิดว่าเป็นความผิดเท่านั้น หากแต่หาข้อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเท่านั้น
ตลอดทั้งเรื่องกามู สร้างตัวละครที่มีมุมมองแบบที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เป็นปรัชญาที่เข้าใจง่ายๆ หากแต่ลึกล้ำในการบอกเล่าถึงสิ่งลวงอันเกิดขึ้นจริงในสังคม อันอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ในการแสวงหาข้อสนับสนุนว่าตนไม่ได้ผิดไปกว่าใคร ในส่วนนี้เองซึ่งเป็นจุดคาบเกี่ยวระหว่างความดีความเลว หรือด้านมืดด้านสว่างของมนุษย์ทุกคน
“มนุษย์สองหน้า” นี้คือตัวแทนสามัญชนทั่วไปซึ่งมักจะมีมากกว่าสองหน้าขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ต้องการรู้จักตัวเองและสังคมให้มากขึ้นไปในแง่มุมใหม่ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ยอมรับด้านมืดของตัวเองไม่ได้ เพราะโดยพื้นฐานจิตใจของมนุษย์ย่อมไม่ต้องการใครรู้เท่าทันตัวตนของตนเองมากเกินไป อันเป็นพรสวรรค์ของอัลแบร์ต กามูส์ แต่หากใครต้องการรับรู้ความเป็นไปของตนเองในแง่มุมใหม่ๆ จะไม่ผิดหวังเมื่อรู้จัก ฌ็อง-บัปติสต์ กลาม็องซ์ “ผู้พิพากษา-ผู้สำนึกผิด” คนนี้มากขึ้น
เตรียมข้อมูลไม่ทัน เอาของเก่าที่เคยเขียนส่งอาจารย์ตอนเรียนมาก่อนก็แล้วกัน
ปล. ถ้าใครเคยเห็นบทความนี้ในบางเว็บแล้ว เราขอยืนยันว่าเป็นบทความของเราเอง แต่ว่ารูปน่ะ ไปยืมของคนอื่นเค้ามา
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น