ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมเนื้อหา ม.ปลาย สรุปเนื้อหาสำคัญ เพื่อเตรียมตัวสอบจ้า >O<

    ลำดับตอนที่ #3 : [ชีววิทยา]บทที่1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

    • อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 54


     

    สวัสดีเพื่อนๆชาว Dek-dนะจ้ะ วันนี้มินจะมาอัพ ชีววิทยานะ ในหัวข้อนี้จะเป็นบทที่1นะ คือเรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

    โดยใช้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ =>

     


    การสืบพันธุ์(reproduction) เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวนของ สปีชีส์(species) เดียวกัน เพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง

     

    ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เรียกที่ว่า เมแทบอลิซึม(metabolism)

    อายุของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เกิด->ตาย เรียกว่า อายุขัย(Life span) อายุของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ซึ่งมี “ยีน” เป็นตัวกำหนด

    คน 120 ปี / เต่ากาลาปากอส 152ปี/ แมว 27ปี/ สุนัข 20ปี/ ค้างคาว 13ปี/หนู 3ปี

    พืชก็มีอายุขัยนะ  จะแบ่งเป็น2กลุ่มคือ

    1.กลุ่มพืชที่มีช่วงอายุสั้น (ephemeral plant)

    เช่น บานชื่น ดาวเรือง บานเย็น แพงพวยฝรั่ง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และพืชตระกูลแตง

     

    บางกลุ่มก็เป็นพืชปีเดียว (annual plant)

    เช่น ข้าว อ้อย สับปะรด

    บางกลุ่มเป็นพืชสองปี (biennial plant)

     พืชพวกนี้มักมีลำต้นใต้ดิน พอใบและลำต้นที่อยู่บนดิน เหี่ยวไปนะ แต่ว่ามันยังมีลำต้นอยู่ในดิน ก็สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ เช่น ว่านสี่ทิศ หอม กระเทียม

    2.พืชหลายปี (perennial plant) เป็นพุ่มไม้หรือไม้ต้น

    เช่น มะม่วง โพธิ์ หางนกยูง ประดู่ เต็ง แก้ว ข่อย จำปี

    *การนับอายุของต้นไม้ นับได้จากจำนวนวงปี

    *ส่วนพืชที่ออกดอกและผลแล้วจะตายเลย คือ ไผ่ กับ ลาน นะจ้ะ

    ความสูงของพืชโตเต็มที่แบ่งได้เป็น3กลุ่ม

    1.ไม้ล้มลุก(herb) มีความสูงไม่เกิน120cm

    2.ไม้พุ่ม(shrub) มีความสูงประมาณ120-300cm

    3.ไม้ต้น (Tree) มีความสูงมากกว่า300cm ขึ้นไป~

    การตอบสนองต่อสิ่งเร้า

    พืชหลายชนิดที่เลื้อยพันหลัก เช่น บวบ น้ำเต้า ฟัก ถั่วฝักยาว ตำลึง พวกนี้จะพันไปรอบๆหลักนะ และมีมือเกาะ (Tendril)

    ดอกทานจะวันจะหันหน้าเข้าแสงอาทิตย์ /ดอกบัวบางชนิดจะบานในตอนเช้าหุบตอนเย็น

    กิ้งกือโดนสัมผัสตัวมันจะขด

    สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงพฤติกรรม เรียกว่า สิ่งเร้า(stimulus) -> มีทั้งสิ่งเร้าภายในและภายนอก การแสดงออกของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้า เรียกว่า การตอบสนอง(response)

    สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

    ถ้าเรานำเซลล์เดียว พวก อะบีมา พารามีเซียม มาใส่สารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าสารละลายในเซลล์ พบว่าโครงสร้างภายในเซลล์ ที่เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอ (contractile vacuole) มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด เพราะว่า สารละลายนอกเซลล์มีความเข้มข้นน้อยกว่า สารละลายที่อยู่ในเซลล์ จึงเกิดออสโมซิส คือน้ำข้างนอกเข้าไปในตัวเซลล์ตลอดเวลา ถ้าน้ำเข้าไปมากเนี้ยเซลล์อาจะแตกได้ จึงต้องมีการรักษาสมดุลของน้ำและสารละลาย โดยมีการลำเลียงของเหลวเข้าสู่ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอ ทำใหเคอนแทร็กไทล์แวคิวโอมีขนาดใหญ่

     

    ชีววิทยา (Biology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

    ชีวะ (bios) มาจากภาษากรีก แปลว่า ชีวิต    วิทยา(logos) ภาษากรีก แปลว่า ความคิดและเหตุผล

    จำแนกสาขาวิชาย่อยๆ  

    *ดูข้างล่างนะจ้ะ

    *โกรทฮอร์โมน (Growth hormone; GH) เพื่อรักษาเด็กที่เตี้ยกว่าปกติให้มีความสูงเป็นปกติ

    ชีวจริยธรรม คือ แบบไม่ทำร้ายสัตว์อะ ศึกษาได้แต่อย่าไปทำร้ายมัน พวกทำโคลนนิ่ง ฉีดสารเข้าสัตวือะไรพวกนี้นะ

    การทำแท้ง บางประเทศให้ทำได้ ในช่วง4เดือน เพราะเชื่อว่า จิตวิญญาณจะมาจิตุหลัง120วันไปแล้ว

    บางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งได้ก่อนสัปดาห์ที่20 คือระยะที่ทำอัลตร้าซาวด์วินิฉันเพศทารกได้แล้ว

     

    นักชีววิทยาโมเลกุล(molecular biologist) สนใจศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต เช่น สารพันธุกรรม

    นักชีววิทยาเซลล์ (cell biologist) ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของเซลล์ กลุ่มของเซลล์การเพาะเลี้ยงเซลล์ภายนอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์

    นักชีวิวิทยาประชากร (population biologist) สนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประชากร


    ดูเพิ่มเติมนะจ้า มินเอามาจากหนังสืออ่า มินว่ามันสรุปได้ดีมากกกกกกกกกกก>O<



     
      
      
    ไม่รู้ว่าอ่านออกกันมั้ยอ่า??? ใช้ฟ้อนแบบนั้น ชอบอ่า ไฮโซดีฮ่าๆๆๆๆ ใช้อ่านไม่ออกบอกได้น้าา
    จะเปลี่ยนให้จ้าา~
    มินขอแนะนำนะ ให้อ่านในหนังสือก่อน อ่านทั้งหมด แล้วค่อยมาอ่านของมิน เพราะของมินมีแต่เนื้อจ้ะ
    เผื่อว่า ครูจะเอาตรงน้ำมาออกด้วย - - ก้อ่านกันไว้ก่อนนะ งั้นวันนี้พอนี้~~


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×