ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญของประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #4 : สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.71K
      3
      6 พ.ย. 52

                         
            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระนามเดิมว่า พระเชษฐา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานถึง ๓๘ ปี นับเป็นลำดับที่สองรองจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผู้เป็นพระราชบิดา
     
     
    ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ
         เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๘ พระเชษฐาทรงมีพระชันษาได้ ๑๓ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานอภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช ทรงดำรงตำแหน่งมาด้ ๓ ปี สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต ตอนนั้นพระองค์มีพระชันษาได้ ๑๖ พรรษา พระองค์ยอมถวายราชสมบัติแก่พระบรมราชา ผู้เป็นพระเชษฐาพระมารดา และครองกรุงศรีอยุธยา อยู่ในเวลานั้น ส่วนพระองค์เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก อยู่ในตำแหน่งพระมหาอุปราชอีก ๓ ปี
    การเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
         สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๔ พระเชษฐาจึงเสด็จจากพิษณุโลกมาเสวยราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อมีพระชันษาได้ ๑๙ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี
     
    พระราชกรณียกิจ
    การพระศาสนา
    • พ.ศ. ๒๐๓๕ สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ <ในเขตพระบรมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในวัดเดียวกัน
    • พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารในวัดศรีสรรเพชญ์
    • พ.ศ. ๒๐๔๓ สมเด็จพระรามาธิบดีหล่อโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูป พระศรีสรรเพชญ์ เริ่มหล่อในวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ
    เดือน ๖
    • พ.ศ. ๒๐๔๖ ทรงให้มีงานฉลองสมโภชพระศรีสรรเพชญ์ วันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘
     
    การเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส
          ใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ทูตนำสารของ อัลฟองโซ เดอร์ก แม่ทัพใหญ่ของโปรตุเกส ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและการค้า พระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรีกับทางการค้าต่อกัน ใน พ.ศ. ๒๐๕๙ นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ โปรตุเกสจึงนับเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรป ที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตกกับกรุงศรอยุธยา

    ราชการสงคราม
    สงครามกับมะละกา
         เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๓ พระองค์ทรงส่งกองทัพทั้งทางบกและทางเรือไปทำสงครามกับมะละกา ถึงสองครั้ง โดยเข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกาผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมดต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์อยุธยาทุกปี
    สงครามกับล้านนา
    •พ.ศ. ๒๐๕๖พระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แห่งอาณาจักรล้านนา ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงออกทัพขึ้นไปป้องกันทางเหนือ จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป
    •พ.ศ. ๒๐๕๘ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีล้านนาอีกหน คราวนี้ทรงตีเมืองลำปางได้
     
    สถาปนาพระมหาอุปราช
         พ.ศ. ๒๐๖๙ พระองค์ได้ทรงสถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ พระราชโอรสให้เป็นพระบรมราชาตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธางกูร หรือสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้ารัชทายาท โปรดเกล้า ฯ ให้ปกครองหัวเมืองเหนือประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ทำให้ราชอาณาจักรล้านนาไม่มารบกวนเมืองเหนืออีกตลอดรัชสมัยของพระองค์
    การจัดระเบียบกองทัพ
         สมเด็จพระรามาธิบดีที ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๑ เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ - ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหารชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่า ไพร่สม เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย
    ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×