ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญของประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #10 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.79K
      0
      6 พ.ย. 52

                    

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
     เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ มีความรอบรู้ มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
     
    ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน    
     การศึกษา
         ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึงปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชนเป็นต้น  
     
    การปกครอง
         ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘ ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่ โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า ระบบกินเมือง ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร เช่น กรมตำรวจ กรมป่าไม้ กรมพยาบาล เป็นต้น ตลอดเวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย
     
     
    งานพระนิพนธ์
        ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร   และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้ ได้แก่ หอสมุดสำหรับพระนคร และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×