ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

    ลำดับตอนที่ #2 : ศิลปะไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อน พ.ศ.1800)

    • อัปเดตล่าสุด 6 พ.ย. 52


    ศิลปะไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (ก่อน พ.ศ.1800)
    ศิลปะไทยในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นในวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งต่อมาได้ผสมผสานกันทางวัฒนธรรมจนก่อให้เกิดศิลปะไทยขึ้น ศิลปะในช่วงเวลานี้ได้แก่
    ศิลปะทวาราวดี       (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
    ศิลปะลพบุรี            (พุทธศตวรรษที่ 12-18)
    ศิลปะอู่ทอง            (พุทธศตวรรษที่ 18-20)
    ศิลปะศรีวิชัย          (พุทธศตวรรษที่ 13-18)
    ศิลปะเชียงแสน       (พุทธศตวรรษที่ 16-19)
    ศิลปะแบบแรกที่เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทยคือศิลปะทวาราวดี ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในดินแดนภาคกลางของประเทศ ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียในสมัยคุปตะ ศิลปะสมัยหลังคุปตะ และศิลปะสมัยปาละ-เสนะ ตามลำดับ ผลงานทางศิลปะที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ธรรมจักรหินขนาดใหญ่พบที่จังหวัดนครปฐม ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรีที่อำเภอคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นต้น
    ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย หลังจากความเสื่อมของศิลปะทวาราวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 แล้ว ศิลปะลพบุรีซึ่งได้อิทธิพลจากศิลปะเขมรก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ ส่วนใหญ่ภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ก็ได้ค้นพบศิลปะเขมร ซึ่งสามารถกำหนดอายุเวลาได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา นักวิชาการบางท่านจึงกำหนดอายุเวลาของศิลปะลพบุรีตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18
    ศิลปะลพบุรีเป็นศิลปะที่มีลักษณะรูปแบบทางศิลปะคล้ายคลึงศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา โดยสร้างขึ้นทั้งในคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ และในคติพุทธศาสนานิกายมหายาน เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น นอกจากโบราณสถานแล้วยังมีโบราณวัตถุในศิลปะลพบุรี เช่น เทวรูป พระพุทธรูป ทั้งที่สร้างด้วยหินและสำริด
    บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นบริเวณที่มีการผสมผสานทางอารยธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากศิลปะอู่ทองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวาราวดีและศิลปะลพบุรีมาผสมผสานกันกัน หลักฐานทางศิลปะประเภทประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในสมัยนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่พระพุทธรูป เช่น เศียรพระพุทธรูปสำริด ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระปรางค์ เช่น พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี เป็นต้น
           ทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้เกิดศิลปะศรีวิชัยในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยเริ่มแรกอยู่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช แล้วยังแพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทย ลักษณะทางศิลปะได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยหลังคุปตะและศิลปะสมัยปาละ-เสนะ ตามลำดับ ศิลปะทวาราวดีถูกสร้างสรรค์ขึ้นในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผลงานทางศิลปะ เช่น รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพุทธสถานพระบรมธาตุไชยา เป็นต้น
    ทางภาคเหนือของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่16 เป็นต้นมาได้เกิดศิลปะเชียงแสนขึ้น โดยศิลปะเชียงแสนส่วนมากเป็นประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สำหรับประติมากรรมจะเป็นฝีมือของช่างชาติไทยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือศิลปะได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ พบมากที่เมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญในระยะนั้นจึงตั้งชื่อศิลปะแบบนี้ว่า ศิลปะเชียงแสนพระพุทธรูปในศิลปะเชียงแสนที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์หรือหระสิงห์ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้นต่อมาศิลปะเชียงแสนได้พัฒนาไปเป็นศิลปะล้านนาในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×