ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทพและปีศาจรวมตำนานต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #3 : เรื่องแปลก ละคร3ชาติเป็นคนละเรื่องเดียวกันมาดามบัตเตอร์ฟลาย โจโจ้ซัง สาวเครือฟ้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 666
      0
      11 ต.ค. 52

           เรื่องราวของ “สาวเครือฟ้า”  ...เป็นบทละคร พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ โดยใช้นามแฝงว่า "ประเสริฐอักษร” เพื่อใช้แสดงละครร้องสลับพูด ซึ่งได้ดัดแปลงแก้ไขมาจาก ละครทางมลายู ที่เรียกว่า “บังสะวัน” (Malay Opera) มาใช้เล่นกันในโรงละครปรีดาลัย คนจึงเรียกละครชนิดนี้ว่า ละครปรีดาลัย  เนื้อเรื่องจะมีแต่บทร้อง แต่ไม่มีบทเจรจา แต่เมื่อถึงคราวที่มีบทเจรจาสลับนั้น ผู้แสดงจะคิดบทสนทนาเองสด ๆ บนเวที จึงทำให้ละครปรีดาลัยดูซ้ำหลาย ๆ รอบได้โดยไม่มีเบื่อ
       กว่าจะมาเป็นบทละครร้องนี้ได้นั้น เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในค่ำคืนของวันพุธที่ ๒๕ กันยายน ในครั้งนั้น ได้เสด็จไปทอดพระเนตรละครอุปรากร(โอเปรา) ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านไว้ว่า.....
          “ค่ำไปดูละคร คอมิกออปรา ตามที่ได้กะไว้แต่แรก เปนเรื่องที่เลื่องฦๅว่าดีนัก เรียกชื่อเรื่องว่า มาดามบัตเตอไฟลย์ ผู้ที่เปนมาดามบัตเตอไฟลย์นั้น คือมาดามคาเร ที่เคยดูแล้วแต่ก่อน เสียงเพราะแลใช้บทดีมาก เรื่องที่เล่นนี้ ผูกเป็นเรื่องยี่ปุ่น ฉากแลเครื่องแต่งตัว ผู้หญิงยี่ปุ่นทั้งนั้น...”      ละครอุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly) นี้เป็นอุปรากรของ เกียโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) ซึ่งก็ได้เค้าเรื่องมาจากนวนิยายของ จอห์น ลูเธอร์ ลอง (John Luther Long) 


                     


    เปลี่ยนจากญี่ปุ่น มาเป็นเชียงใหม่, เปลี่ยนจากโจโจซัง สาวงามชาวญี่ปุ่น ผู้ได้สมญาว่า บัตเตอร์ฟลาย มาเป็น สาวเครือฟ้า หญิงงามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่, เปลี่ยนจากนายเรือเอกพิงเคอร์ตัน นายทหารเรืออเมริกัน มาเป็น ร้อยตรีพร้อม นายทหารจากเมืองกอก, เปลี่ยนจากซูซูกี สาวใช้ของบัตเตอร์ฟลาย มาเป็นสาวคำเชิด, เปลี่ยนจากนักบวชชาวญี่ปุ่น ผู้เป็นลุกของบัตเตอร์ฟลาย มาเป็น ตุ๊สีป้าย ฯลฯ
    การแสดงครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขา ไปถึงพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่ขณะนั้นเสด็จกลับไปเยี่ยมเมืองเชียงใหม่ ข้อความลงวันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ มีใจความตอนหนึ่งว่า
    “...เรื่องเครือฟ้า เป็นเรื่องมาดัมบัตเตอร์ไฟล ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือไกลบ้านตอนเมืองปารีส เปลี่ยนญี่ปุ่นเป็นลาว ฝรั่งเป็นไทย เท่านั้น ที่ทำคำร้องเช่นนี้ เอาอย่างออพราฝรั่ง เพราะเคยได้ชมเมื่อเจ้าเขมรร้อง...”
        

    นอกจากนั้น ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ ตอนหนึ่งว่า....
    “...บทร้องที่แต่ง แต่งดีนัก แต่จะเรียกว่าออปราอย่างฝรั่งไม่ได้ เป็นเธียเตอร์มีร้องเรื่องออปราเห็นว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากว่าร้องแลพิณพาทย์ของเรา ยังเป็นอยู่เช่นนี้ ฝรั่งมันร้องพร้อมกับซอได้หลายสิบคัน เหตุด้วยมันหอนเหมือนหมา ร้องอย่างเรามันเป็นบ่น พิณพาทย์ดังก็กลบหมด พิณพาทย์เบาก็ไม่เป็นรส.....”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×