ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทพและปีศาจรวมตำนานต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #13 : องเมียว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 468
      0
      26 ต.ค. 52

    วิถีแห่งองเมียว

    คาดว่าเข้ามาสู่ญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนจะผสมผสานเข้ากับความเชื่อ วิถีชีวิต ขนบประเพณีของชาวญี่ปุ่นจนมีรูปแบบเฉพาะตัว โดยเชื่อว่าสรรพสิ่งประกอบด้วยธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และหล็ก และมีพลังเป็นบวกหรือลบ (หยิน-หยาง) ที่จะสร้างความสมดุลให้เกิดความรุ่งเรือง หรืออาจต่อต้านกันจนเกิดหายนะได้ ผู้ที่ศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างถ่องแท้ย่อมหยั่งรู้และนำพลังธรรมชาติมาเป็นอำนาจของตนได้ รูปแบบเวทมนตร์นั้นมีทั้งการทำพิธีปัดเป่าโรคภัย พิธีบูชาเทพยดา การปลุกเสกยันต์ เครื่องราง การควบคุมภูตผี ตลอดจนการสาปแช่ง เป็นต้น ซึงเป็นลักษณะความเชื่อของศาสนาชินโต ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นอย่างยิ่ง เช่น การเพาะปลูกซึ่งพึ่งพาการทำนายสภาพอากาศ การประกอบพิธีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลต่างๆ ตลอดจนการทำพิธีปัดเป่าสิ่งอัปมงคลที่ทำให้เกิดเภทภัยต่างๆ โดยเฉพาะการทำนายโชคชะตาตามตำราอี้จิง ซึ่งถือเป็นวิชาทำนายอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่องเมียวค่อยๆ ลดบทบาทเรื่องเวทมนตร์และผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับศาสนาชินโต ทว่าปัจจุบัน พิธีกรรมสำคัญหลายพิธีกรรมยังจำเป็นต้องให้นักพรตองเมียวเป็นผู้ประกอบพิธีอยู่

    นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังได้ถ่ายทอดตำนาน เรื่องเล่า และความเชื่อเกี่ยวกับองเมียวไว้หลายวิธีทั้งการเล่าสืบต่อกันมา การบันทึก เช่นในหนังสือคอนจาคุโมโนกาตาริ (Konjaku Monogatarishū) ที่รวบรวมเรื่องราวบางตอนซึ่งเกี่ยวข้องกับองเมียวไว้ หรือการนำองเมียวไปใช้ในการสร้างการ์ตูนหรือภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งนอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการประยุกต์ที่น่าสนใจ เพราะนำความทันสมัยมาใช้อนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณอันสะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    พลังและธาตุ

    หยิน-หยาง (yin-yang) พลังซึ่งคู่กัน หากเท่ากันจึงจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน เป็นต้น (สิ่งแรกในแต่ะคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน) ภาพวงกลมสีขาว - ดำ คือ สัญลักษณ์ของคู่พลัง และเป็นสัญลักษณ์ของลักธิเต๋าเช่นกัน

    ธาตุทั้งห้า ความสัมพันธ์ของธาตุทั้งห้าถือเป็นหลักสำคัญขององเมียว นอกจากนี้ ฮวงจุ้ย ตำราแพทย์จีนโบราณ และศาสตร์ต่างๆ ของประเทศแถบตะวันออกจำนวนมากล้วนมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์นี้ ซึ่งอธิบายได้ว่า ทุกสิ่งจะมีธาตุเจ้าเรือนของตน หากจัดความสัมพันธ์ให้ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ รุ่งเรือง โดยน้ำดับไฟ ไฟหลอมเหล็ก เหล็กตัดไม้ ไม้ทำลายดิน และดินกั้นน้ำ

    หยิน-หยาง

    ไฟล์:Pic 5elements.gif

    องเมียวจิ ผู้ฝึก องเมียว

    องเมียวจิ (Onmyoji) นักพรตผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามวิถีแห่งองเมียว อยู่ในชุดแขนเสื้อยาว สวมหมวกทรงสูง นักพรตองเมียวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ อาเบโนะ เซย์เมย์

    อาเบโนะ เซย์เมย์ (Abeno Seimei) นักพรตองเมียวที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยเฮอัน มีชีวิตในช่วงปี 921 - 1005 ตำนานเล่าว่ามารดาของท่านคือสุนัขจิ้งจอก (ชาวญี่ปุ่นถือว่าสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ที่มีเวทมนตร์) แรกเริ่มท่านศึกษาโหราศาสตร์จากอาจารย์คาโมโนะ ทาดะยุกิ (Kamono Tadayuki) ต่อมาจึงขึ้นรับตำแหน่งผู้นำขององเมียวซึ่งขึ้นตรงต่อราชสำนัก ท่านสร้างชื่อเสียงจากการใช้วิชาองเมียวในการทำนายภัยพิบัติทางธรรมชาติ

    คำว่า "องเมียว"

    คำว่า องเมียว (陰陽) ในภาษาญี่ปุ่น เขียนเหมือนกับคำว่า "หยินหยาง" (陰陽) ในภาษาจีน ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือศาสตร์เกี่ยวกับโหราศาสตร์และศาสตร์ของเต๋า ในประเทศญี่ปุ่น ใช้ คำว่า องเมียวโด (คันจิ: 陰陽道, ฮิรางานะ: おんみょうどう ,โรมะจิ: Onmyōdō) ซึ่งหมายถึง วิชาเกี่ยวกับองเมียว (โดย "โด" หมายถึงวิชา เหมือน ยูโด หรือ เคนโด) และ องเมียวจิ (คันจิ: 陰陽師, ฮิรางานะ: おんみょうじ, โรมะจิ: Onmyōji) คือ บุคคลที่ฝึกฝนวิชาองเมียว นอกจากนี้ คำอ่านคำว่า องเมียวโด (陰陽道) ในภาษาญี่ปุ่นเขียนที่เขียนในตัวอักษรคันจิสามารถอ่านได้สองแบบคือ องเมียวโด และ องโยโด (おんようどう, โรมะจิ: On'yōdō) และเช่นเดียวกับ องเมียวจิ กับ องโยจิ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×