ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

    ลำดับตอนที่ #1 : พระราชบัญญัติจราจรทางบกปี 2550

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 448
      0
      8 พ.ย. 52

    พระราชบัญญัติ

    จราจรทางบก (ฉบับที่ ๗).. ๒๕๕๐

    ภูมิพลอดุลยเดช ป..

    ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.. ๒๕๕๐

    เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ

    ให้ประกาศว่า

    โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก

    พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

    ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม

    ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๗) .. ๒๕๕๐

    มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    เป็นต้นไป

    มาตรา ๓ ให้แก้ไขคำว่า รถยนตร์” “รถจักรยานยนตร์และ เครื่องยนตร์ในพระราชบัญญัติ

    จราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นคำว่า รถยนต์” “รถจักรยานยนต์และ

    เครื่องยนต์ทุกแห่ง

    มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒

    และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๘ รถที่ใช้บรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของ จะใช้บรรทุกในลักษณะใดโดยรถชนิด

    หรือประเภทใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒

    ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๒๒ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้น

    โดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์

    ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสาร

    รถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย

    ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนด

    ในกฎกระทรวง

    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น

    ที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๔๐ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก

    .. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๓๕ และ

    ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ

    และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

    มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๔๕ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก

    .. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๓๕ และ

    ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๔๕ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากความผิดที่กำหนดโทษไว้

    ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ให้พนักงาน

    สอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจเปรียบเทียบ

    หรือว่ากล่าวตักเตือนได้

    มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๘ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒

    และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๔ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๓ วรรคสอง มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๔ มาตรา ๘๗ มาตรา ๘๘ มาตรา ๙๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๑๙ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๙หรือมาตรา ๑๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

    ถ้าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง ผู้กระทำต้องระวางโทษ

    เป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

    มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒

    ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๖) .. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๕๗/๑ ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร พนักงาน

    สอบสวน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการที่ให้มีการตรวจสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา ๔๓ ทวิ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตรวจการที่ให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ตามมาตรา ๔๓ ตรี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

    ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

    ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษ

    จำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปีและปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาทและให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ

    จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอน

    ใบอนุญาตขับขี่

    มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๖๐ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก

    .. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๔) .. ๒๕๓๕ และ

    ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ () () หรือ () ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้งแต่

    สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖๐ ตรี แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก

    .. ๒๕๒๒

    มาตรา ๑๖๐ ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ () ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่

    ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำ

    ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ

    จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอน

    ใบอนุญาตขับขี่และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖๒ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.. ๒๕๒๒

    มาตรา ๑๖๒ ในคดีที่ผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือ

    กฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ นอกจากจะได้รับโทษสำหรับการกระทำดังกล่าวแล้ว ถ้าศาลเห็นว่าหากให้ผู้นั้นขับรถต่อไปอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ให้ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่า พฤติกรรมของผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่งยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขฟื้นฟูได้ ศาลอาจมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นและให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่ศาลกำหนด โดยให้อยู่ในความดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสังคมการกุศลสาธารณะ หรือสาธารณประโยชน์ที่ยินยอมรับดูแลด้วยก็ได้ และถ้าความปรากฏในภายหลังว่าผู้กระทำผิดดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นตามวรรคหนึ่ง

    ผู้ใดขับขี่รถในระหว่างที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ตามคำสั่งของศาล ต้องระวางโทษจำคุก

    ไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×