สุริยัน ระฟ้า
องค์เทวัญจีบเธอหรือไร ยามสุริยันฉายจึงแปลงกายมาหล่อเท่ มองมาด้วยดวงตาลึกล้ำสุดคาดคะเน (ฟินจิกหมอน)
ผู้เข้าชมรวม
59,061
ผู้เข้าชมเดือนนี้
11
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผลงานอื่นๆ ของ ศิลานิรันดร์ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ศิลานิรันดร์
"บทวิจารณ์จาก Blue Whale"
(แจ้งลบ)นวนิยายแนวซึ้งกินใจเรื่อง สุริยัน ระฟ้า ผลงานของ ศิลานิรันดร์ เป็นเรื่องราวความรักข้ามเวลาของดวงแก้วหรือแก้ว หญิงสาวชาวไทย กับ เลอสรวงกษัตริย์แห่งสรวงศิลานคร ผู้ที่มีเหตุจำเป็นต้องข้ามมิติเวลามาใช้ชิวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ ตะวัน เจ้าของไร่ระฟ้าและคฤหาสน์ระฟ้าผู้โด่งดัง และเฝ้ารอคอยดวงแก้วเติบโตมากว่า 20 ปี เพราะลูกท ... อ่านเพิ่มเติม
นวนิยายแนวซึ้งกินใจเรื่อง สุริยัน ระฟ้า ผลงานของ ศิลานิรันดร์ เป็นเรื่องราวความรักข้ามเวลาของดวงแก้วหรือแก้ว หญิงสาวชาวไทย กับ เลอสรวงกษัตริย์แห่งสรวงศิลานคร ผู้ที่มีเหตุจำเป็นต้องข้ามมิติเวลามาใช้ชิวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ ตะวัน เจ้าของไร่ระฟ้าและคฤหาสน์ระฟ้าผู้โด่งดัง และเฝ้ารอคอยดวงแก้วเติบโตมากว่า 20 ปี เพราะลูกที่เกิดขึ้นจากเธอจะช่วยปลดเปลื้องบ้านเมืองของเขาให้พ้นจากคำสาปได้ ความรักข้ามภพระหว่างเขากับเธอเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป ขณะนี้เขียนถึงตอนที่ 21 แล้ว สุริยัน ระฟ้า เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวซับซ้อนเรื่องหนึ่ง เพราะไม่เพียงแต่ให้ตัวละครข้ามภพข้ามชาติ โดยที่เนื้อเรื่องเกิดทั้งในภพปัจจุบันและภพอดีต ซึ่ง ศิลานิรันดร์ สร้างความลับและปมปัญหาที่ชวนให้ผู้อ่านติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวตนที่แท้จริงของตะวัน และศักรินทร์ ขณะเดียวกันนวนิยายเรื่องนี้ยังมีความซับซ้อนของโครงเรื่องด้วย เพราะมีทั้งโครงเรื่องหลัก (main plot) ที่เกี่ยวกับการปลดเปลื้องเมืองสรวงศิลานครในอดีตชาติให้พ้นคำสาป และโครงเรื่องรอง (sub-plot) อีกเป็นจำนวนมากที่สอดประสานและสนับสนุนให้โครงเรื่องหลักมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างอาณาจักร เรื่อราวความรักในหลากหลายแง่มุมของตัวละครที่อยู่ในภพอดีตและภพปัจจุบัน ทั้งความสมหวังในความรัก ความผิดหวัง และ การแอบรัก เป็นต้น การที่จะเขียนนวนิยายข้ามภพให้มีความน่าสนใจนั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องราวทั้งสองภพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนวนิยายเรื่องนี้ที่ ศิลานิรันดร์ พยายามสร้างเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นทั้งสองภพพอๆ กัน และตัวละครส่วนใหญ่ก็ปรากฏในทั้งสองภาพ แม้ว่าจะมีแค่ตัวละคร 2 ตัวที่ข้ามภพไปมาได้ คือ แก้ว และ ตะวัน ขณะที่ตัวละครตัวอื่นๆ นั้น ต่างเป็นคนในภพอดีตที่มาเกิดใหม่ในภพปัจจุบันเท่านั้น โดยไม่หลงเหลือความทรงจำในภพอดีตติดมายังภาพปัจจุบันเลย ยกเว้นศักรินทร์ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่านวนิยายเรื่องนี้ยังไม่สามารถสร้างความสมดุลดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ เพราะเปิดเรื่องด้วยเรื่องราวและตัวละครของภพปัจจุบัน แต่ผู้เขียนกลับแทบจะไม่ปูพื้นให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับตัวละครพวกนี้เลย จนอาจะสร้างความงุนงงและสับสนให้ผู้อ่านอย่างมาก ทั้งนี้ผู้วิจารณ์เข้าใจว่าเหตุผลประการสำคัญที่ผู้เขียนไม่ให้ภูมิหลังของตัวละครทั้งหมดไว้ เพราะต้องการจะไปเฉลยในภพอดีตที่จะอยู่ในเนื้อเรื่องช่วงต่อมา จึงเห็นว่าผู้เขียนควรให้ข้อมูลเบื้องหลังของตัวละครในยุคปัจจุบันให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความสมเหตุผลต่างๆ ของเรื่องให้เพิ่มขึ้น อาทิ การเพิ่มเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าตะวันแอบรักและแอบติดตามดวงแก้วมานานกว่า 20 ปี เขมิกาที่ดูแลและภักดีต่อตะวันมานานปี ความรักและความสัมพันธ์ของเข้มกับขวัญเรือนที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป หรือ อินทัชสนใจและแอบรักแก้วมาตลอดระยะเวลาที่อิงอรกับแก้วเป็นเพื่อนกัน นอกจากนี้ยังเห็นว่า ศิลานิรันดร์ กล่าวถึงเรื่องราวในภพปัจจุบันในช่วงต้นอย่างรวบรัดตัดความมากเกินไป และมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเป็นจำนวนมากที่ขาดที่มีที่ไป ทั้งยังส่งผลต่อความสมจริงของเรื่องด้วย อาทิ การที่แม่ของอิงอรใช้เธอเป็นเครื่องมือกำจัดเข้ม ก่อนที่พ่อของอิงอรจะทราบความจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเข้มที่เป็นความลับมากกว่า 20 ปี หรือ ขจรทราบเรื่องเข้มและอิงอรถูกทำร้ายได้อย่างไร จึงขับรถตามไปช่วยไว้ทัน ในการสร้างตัวละครนั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่า ศิลานิรันดร์ จำกัดกรอบการสร้างตัวละครของตนแคบจนเกินไป กล่าวคือ การตั้งโจทย์ในการสร้างตัวละครไว้แทบจะชัดเจนว่า ชะตาชีวิตของตัวละครเด่นๆ ในยุคปัจจุบันทุกตัว เป็นผลมาจากการกระทำหรือความผูกพันกันที่มีมาในอดีตชาติ คนที่รักกันในชาติที่แล้วก็กลับมาเป็นคนรักกันต่อไปในชาตินี้ คนที่ผิดหวังในความรักในอดีตชาติ เมื่อมาภพปัจจุบันก็ต้องผิดหวังซ้ำอีก หรือคนที่เป็นศัตรูกันในอดีตชาติก็ยังคงความเป็นศัตรูกันต่อไปในชาตินี้ จนทำให้ตัวละครในเรื่องขาดมิติที่หลากหลาย ทั้งๆ ที่การเขียนงานแนวข้ามภาพข้ามชาติเช่นนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เขียนมีเสรีภาพในการปรับเปลี่ยนบุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวละครต่างๆ ได้ง่าย หากจะมีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของตัวละครบ้างก็จะช่วยให้เรื่องราวในภพอดีตแลปัจจุบันไม่ซ้ำกันมากจนเกิดไป จนทำให้ผู้อ่านคาดเดาทิศทางของเรื่องได้ง่าย ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างความน่าสนใจและความติดตามของเรื่องให้มีเพิ่มขึ้นด้วย ศิลานิรันดร์ สร้างความน่าติดตามให้กับเรื่องไว้ในหลากหลายวิธี ทั้งการเปิดประเด็นการคาดการณ์ในอนาคต (foreshadow) ไว้เป็นระยะๆ ซึ่งจะใช้บ่อยกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตะวันในช่วงต้นเรื่อง เช่น การบรรยายว่าตะวันไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น และ ตะวันจะจากไปไกลๆ ไม่ได้ไปแค่โรงพยาบาลในเมือง อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การทิ้งท้ายการจบแต่ละบทไว้ด้วยเหตุการณ์ที่ชวนให้ติดตามว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร รวมทั้งการเปิดปมปัญหาที่น่าสนใจไว้ก่อนที่จะค่อยๆ พัฒนาและคลีคลายปมปัญหานั้นในช่วงต่อมา เช่น การเปิดให้แก้วเป็นมือที่สามที่จะเข้ามาทำลายความรักระหว่างเจ้าเลอสรวงกับพระมเหสี เจ้าหญิงเกษรา หรือ ความรักที่ซ่อนเร้นระหว่างเจ้าหญิงเกษรากับเจ้าชายเขมรินทร์ พระอนุชาของเจ้าเลอสรวง อย่างไรก็ดีเห็นว่า ศิลานิรันดร์ อาจจะต้องปรับที่มาที่ไปของฉากอีโรติกแต่ละฉากให้มีความสมเหตุผลมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะดูเหมือนผู้เขียนจงใจและต้องการจะให้มีฉากเหล่านั้นในนวนิยายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของเรื่องในภพปัจจุบันที่พยายามผู้เขียนบรรยายและให้ภาพตะวันเป็นจอมมารที่ใจร้าย ที่มักจะเข้ามาจู่โจมและลวนลามแก้วเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น ทั้งๆ ที่ตัวตนของตะวันที่ปูไว้ในเรื่องนั้นไม่ได้มีบุคลิกลักษณะที่สอดรับกับข้อกล่าวหาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกในฉากอีโรติกเหล่านี้เลย เมื่อเกิดความขัดกันของบุคลิกตัวละครเช่นนี้ อาจส่งผลต่อการสร้างภาพแง่ร้ายของตะวันในใจผู้อ่านได้ เพราะตะวันจะกลายเป็น “ชายหื่น” ไปโดยปริยาย เช่นเดียวกับภาพของศักรินทร์ที่กระทำการล่วงเกินต่ออิงอรเสมอเมื่อมีโอกาส การใช้ภาษาในเรื่องพบว่า มีการแยกระดับของภาษาที่ใช้ระหว่างสองภพค่อนข้างชัดเจน เมื่ออยู่ในภพอดีตระดับของภาษาต่างๆ ที่ตัวละครใช้จะดูประณีตและใช้คำเก่ากว่าเมื่ออยู่ในภพปัจจุบัน สำหรับการสร้างบทบรรยายและบทสนทนาที่ปรากฏในเรื่องนั้น พบว่าไม่มีปัญหา ศิลานิรันดร์ สามารถสร้างได้อย่างลื่นไหล อันช่วยให้เรื่องน่าอ่านและชวนติดตามได้เป็นอย่างดี หากจะมีสะดุดบ้างก็เฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนระดับภาษาระหว่างภาษาในภพอดีตและภพปัจจุบันที่มักจะมีสำนวนแปลกๆ ที่ไม่คุ้นเคยแทรกอยู่ เช่น หัวใจกันดารรัก เสนอว่าควรเปลี่ยนเป็น หัวใจไร้รัก นั่นอาจเป็นเพราะ ศิลานิรันดร์ ให้ความสำคัญ ใส่ใจและระมัดระวังเกี่ยวกับความถูกต้องของการสะกดคำค่อนข้างมาก จึงพบคำผิดบ้างเพียงเล็กน้อย อาทิ สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ อณูเนื้อ เขียนเป็น อณุเนื้อ ความสัมพันธ์ เขียนเป็น ความสำพันธ์ รัตนชาติ เขียนเป็น รัตะชาติ ประชวร เขียนเป็น ประชวน รักสามเส้า เขียนเป็น รักสามเศร้า ภายใน เขียนเป็น ถายใน สัญญาณ เขียนเป็น สัญญาน พายุบุแคม เขียนเป็น พายุบุเคม และ ดาวดึงส์ เขียนเป็น ดาวดึง อ่านน้อยลง
bluewhale | 8 เม.ย. 58
3
0
"บทวิจารณ์จาก Blue Whale"
(แจ้งลบ)นวนิยายแนวซึ้งกินใจเรื่อง สุริยัน ระฟ้า ผลงานของ ศิลานิรันดร์ เป็นเรื่องราวความรักข้ามเวลาของดวงแก้วหรือแก้ว หญิงสาวชาวไทย กับ เลอสรวงกษัตริย์แห่งสรวงศิลานคร ผู้ที่มีเหตุจำเป็นต้องข้ามมิติเวลามาใช้ชิวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ ตะวัน เจ้าของไร่ระฟ้าและคฤหาสน์ระฟ้าผู้โด่งดัง และเฝ้ารอคอยดวงแก้วเติบโตมากว่า 20 ปี เพราะลูกท ... อ่านเพิ่มเติม
นวนิยายแนวซึ้งกินใจเรื่อง สุริยัน ระฟ้า ผลงานของ ศิลานิรันดร์ เป็นเรื่องราวความรักข้ามเวลาของดวงแก้วหรือแก้ว หญิงสาวชาวไทย กับ เลอสรวงกษัตริย์แห่งสรวงศิลานคร ผู้ที่มีเหตุจำเป็นต้องข้ามมิติเวลามาใช้ชิวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ ตะวัน เจ้าของไร่ระฟ้าและคฤหาสน์ระฟ้าผู้โด่งดัง และเฝ้ารอคอยดวงแก้วเติบโตมากว่า 20 ปี เพราะลูกที่เกิดขึ้นจากเธอจะช่วยปลดเปลื้องบ้านเมืองของเขาให้พ้นจากคำสาปได้ ความรักข้ามภพระหว่างเขากับเธอเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป ขณะนี้เขียนถึงตอนที่ 21 แล้ว สุริยัน ระฟ้า เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวซับซ้อนเรื่องหนึ่ง เพราะไม่เพียงแต่ให้ตัวละครข้ามภพข้ามชาติ โดยที่เนื้อเรื่องเกิดทั้งในภพปัจจุบันและภพอดีต ซึ่ง ศิลานิรันดร์ สร้างความลับและปมปัญหาที่ชวนให้ผู้อ่านติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวตนที่แท้จริงของตะวัน และศักรินทร์ ขณะเดียวกันนวนิยายเรื่องนี้ยังมีความซับซ้อนของโครงเรื่องด้วย เพราะมีทั้งโครงเรื่องหลัก (main plot) ที่เกี่ยวกับการปลดเปลื้องเมืองสรวงศิลานครในอดีตชาติให้พ้นคำสาป และโครงเรื่องรอง (sub-plot) อีกเป็นจำนวนมากที่สอดประสานและสนับสนุนให้โครงเรื่องหลักมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างอาณาจักร เรื่อราวความรักในหลากหลายแง่มุมของตัวละครที่อยู่ในภพอดีตและภพปัจจุบัน ทั้งความสมหวังในความรัก ความผิดหวัง และ การแอบรัก เป็นต้น การที่จะเขียนนวนิยายข้ามภพให้มีความน่าสนใจนั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องราวทั้งสองภพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนวนิยายเรื่องนี้ที่ ศิลานิรันดร์ พยายามสร้างเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นทั้งสองภพพอๆ กัน และตัวละครส่วนใหญ่ก็ปรากฏในทั้งสองภาพ แม้ว่าจะมีแค่ตัวละคร 2 ตัวที่ข้ามภพไปมาได้ คือ แก้ว และ ตะวัน ขณะที่ตัวละครตัวอื่นๆ นั้น ต่างเป็นคนในภพอดีตที่มาเกิดใหม่ในภพปัจจุบันเท่านั้น โดยไม่หลงเหลือความทรงจำในภพอดีตติดมายังภาพปัจจุบันเลย ยกเว้นศักรินทร์ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่านวนิยายเรื่องนี้ยังไม่สามารถสร้างความสมดุลดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ เพราะเปิดเรื่องด้วยเรื่องราวและตัวละครของภพปัจจุบัน แต่ผู้เขียนกลับแทบจะไม่ปูพื้นให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับตัวละครพวกนี้เลย จนอาจะสร้างความงุนงงและสับสนให้ผู้อ่านอย่างมาก ทั้งนี้ผู้วิจารณ์เข้าใจว่าเหตุผลประการสำคัญที่ผู้เขียนไม่ให้ภูมิหลังของตัวละครทั้งหมดไว้ เพราะต้องการจะไปเฉลยในภพอดีตที่จะอยู่ในเนื้อเรื่องช่วงต่อมา จึงเห็นว่าผู้เขียนควรให้ข้อมูลเบื้องหลังของตัวละครในยุคปัจจุบันให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความสมเหตุผลต่างๆ ของเรื่องให้เพิ่มขึ้น อาทิ การเพิ่มเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าตะวันแอบรักและแอบติดตามดวงแก้วมานานกว่า 20 ปี เขมิกาที่ดูแลและภักดีต่อตะวันมานานปี ความรักและความสัมพันธ์ของเข้มกับขวัญเรือนที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป หรือ อินทัชสนใจและแอบรักแก้วมาตลอดระยะเวลาที่อิงอรกับแก้วเป็นเพื่อนกัน นอกจากนี้ยังเห็นว่า ศิลานิรันดร์ กล่าวถึงเรื่องราวในภพปัจจุบันในช่วงต้นอย่างรวบรัดตัดความมากเกินไป และมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเป็นจำนวนมากที่ขาดที่มีที่ไป ทั้งยังส่งผลต่อความสมจริงของเรื่องด้วย อาทิ การที่แม่ของอิงอรใช้เธอเป็นเครื่องมือกำจัดเข้ม ก่อนที่พ่อของอิงอรจะทราบความจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของเข้มที่เป็นความลับมากกว่า 20 ปี หรือ ขจรทราบเรื่องเข้มและอิงอรถูกทำร้ายได้อย่างไร จึงขับรถตามไปช่วยไว้ทัน ในการสร้างตัวละครนั้น ผู้วิจารณ์เห็นว่า ศิลานิรันดร์ จำกัดกรอบการสร้างตัวละครของตนแคบจนเกินไป กล่าวคือ การตั้งโจทย์ในการสร้างตัวละครไว้แทบจะชัดเจนว่า ชะตาชีวิตของตัวละครเด่นๆ ในยุคปัจจุบันทุกตัว เป็นผลมาจากการกระทำหรือความผูกพันกันที่มีมาในอดีตชาติ คนที่รักกันในชาติที่แล้วก็กลับมาเป็นคนรักกันต่อไปในชาตินี้ คนที่ผิดหวังในความรักในอดีตชาติ เมื่อมาภพปัจจุบันก็ต้องผิดหวังซ้ำอีก หรือคนที่เป็นศัตรูกันในอดีตชาติก็ยังคงความเป็นศัตรูกันต่อไปในชาตินี้ จนทำให้ตัวละครในเรื่องขาดมิติที่หลากหลาย ทั้งๆ ที่การเขียนงานแนวข้ามภาพข้ามชาติเช่นนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เขียนมีเสรีภาพในการปรับเปลี่ยนบุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวละครต่างๆ ได้ง่าย หากจะมีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของตัวละครบ้างก็จะช่วยให้เรื่องราวในภพอดีตแลปัจจุบันไม่ซ้ำกันมากจนเกิดไป จนทำให้ผู้อ่านคาดเดาทิศทางของเรื่องได้ง่าย ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างความน่าสนใจและความติดตามของเรื่องให้มีเพิ่มขึ้นด้วย ศิลานิรันดร์ สร้างความน่าติดตามให้กับเรื่องไว้ในหลากหลายวิธี ทั้งการเปิดประเด็นการคาดการณ์ในอนาคต (foreshadow) ไว้เป็นระยะๆ ซึ่งจะใช้บ่อยกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตะวันในช่วงต้นเรื่อง เช่น การบรรยายว่าตะวันไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น และ ตะวันจะจากไปไกลๆ ไม่ได้ไปแค่โรงพยาบาลในเมือง อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การทิ้งท้ายการจบแต่ละบทไว้ด้วยเหตุการณ์ที่ชวนให้ติดตามว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร รวมทั้งการเปิดปมปัญหาที่น่าสนใจไว้ก่อนที่จะค่อยๆ พัฒนาและคลีคลายปมปัญหานั้นในช่วงต่อมา เช่น การเปิดให้แก้วเป็นมือที่สามที่จะเข้ามาทำลายความรักระหว่างเจ้าเลอสรวงกับพระมเหสี เจ้าหญิงเกษรา หรือ ความรักที่ซ่อนเร้นระหว่างเจ้าหญิงเกษรากับเจ้าชายเขมรินทร์ พระอนุชาของเจ้าเลอสรวง อย่างไรก็ดีเห็นว่า ศิลานิรันดร์ อาจจะต้องปรับที่มาที่ไปของฉากอีโรติกแต่ละฉากให้มีความสมเหตุผลมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะดูเหมือนผู้เขียนจงใจและต้องการจะให้มีฉากเหล่านั้นในนวนิยายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของเรื่องในภพปัจจุบันที่พยายามผู้เขียนบรรยายและให้ภาพตะวันเป็นจอมมารที่ใจร้าย ที่มักจะเข้ามาจู่โจมและลวนลามแก้วเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น ทั้งๆ ที่ตัวตนของตะวันที่ปูไว้ในเรื่องนั้นไม่ได้มีบุคลิกลักษณะที่สอดรับกับข้อกล่าวหาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกในฉากอีโรติกเหล่านี้เลย เมื่อเกิดความขัดกันของบุคลิกตัวละครเช่นนี้ อาจส่งผลต่อการสร้างภาพแง่ร้ายของตะวันในใจผู้อ่านได้ เพราะตะวันจะกลายเป็น “ชายหื่น” ไปโดยปริยาย เช่นเดียวกับภาพของศักรินทร์ที่กระทำการล่วงเกินต่ออิงอรเสมอเมื่อมีโอกาส การใช้ภาษาในเรื่องพบว่า มีการแยกระดับของภาษาที่ใช้ระหว่างสองภพค่อนข้างชัดเจน เมื่ออยู่ในภพอดีตระดับของภาษาต่างๆ ที่ตัวละครใช้จะดูประณีตและใช้คำเก่ากว่าเมื่ออยู่ในภพปัจจุบัน สำหรับการสร้างบทบรรยายและบทสนทนาที่ปรากฏในเรื่องนั้น พบว่าไม่มีปัญหา ศิลานิรันดร์ สามารถสร้างได้อย่างลื่นไหล อันช่วยให้เรื่องน่าอ่านและชวนติดตามได้เป็นอย่างดี หากจะมีสะดุดบ้างก็เฉพาะช่วงที่มีการเปลี่ยนระดับภาษาระหว่างภาษาในภพอดีตและภพปัจจุบันที่มักจะมีสำนวนแปลกๆ ที่ไม่คุ้นเคยแทรกอยู่ เช่น หัวใจกันดารรัก เสนอว่าควรเปลี่ยนเป็น หัวใจไร้รัก นั่นอาจเป็นเพราะ ศิลานิรันดร์ ให้ความสำคัญ ใส่ใจและระมัดระวังเกี่ยวกับความถูกต้องของการสะกดคำค่อนข้างมาก จึงพบคำผิดบ้างเพียงเล็กน้อย อาทิ สัญชาตญาณ เขียนเป็น สัญชาติญาณ อณูเนื้อ เขียนเป็น อณุเนื้อ ความสัมพันธ์ เขียนเป็น ความสำพันธ์ รัตนชาติ เขียนเป็น รัตะชาติ ประชวร เขียนเป็น ประชวน รักสามเส้า เขียนเป็น รักสามเศร้า ภายใน เขียนเป็น ถายใน สัญญาณ เขียนเป็น สัญญาน พายุบุแคม เขียนเป็น พายุบุเคม และ ดาวดึงส์ เขียนเป็น ดาวดึง อ่านน้อยลง
bluewhale | 8 เม.ย. 58
3
0
ความคิดเห็น