ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis)

    ลำดับตอนที่ #3 : โรค MS เกิดได้อย่างไรและมีผลอย่างไรกับฉัน

    • อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 53


    สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรค MS คือ MS ไม่ใช่โรคติดต่อ และอีกข้อหนึ่ง คือ ไม่จำเป็นที่คนไข้ที่เป็น MS ทุกคนจะต้องลงเอยด้วยการนั่งรถเข็น มีคำกล่าวว่าหลังจากเป็น MS ประมาณ 25 ปี แม้จะไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องนั่งรถเข็น  แม้ว่าการดำเนินโรค สภาพของผู้ป่วย และอาการที่เกิดในผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปความรุนแรงของอาการทุพพลภาพของผู้ป่วย MSเกิดจากการสะสมของความทุพพลภาพในการกลับเป็นซ้ำของโรคแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องวินิจฉัยและรักษาโรค MS ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

    MS กับบทบาทของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

    ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ โดยอาศัยเม็ดเลือดขาว รวมถึงเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ เช่น แมคโครฟาจ (Macrophage) ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการต่อสู้ นอกจากนี้ยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการต่อสู้กับผู้บุกรุกที่เรียกว่าทีเซลล์(T-cell) ผลที่ตามมาจากการทำหน้าที่ของภูมิคุ้มกันนั้นทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น

    ในบางสถานการณ์พบว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถจำเซลล์ของร่างกายตัวเองได้ โดยเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันจะรายงานว่าเซลล์ของร่างกายตนเองนั้น เป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้ทีเซลล์เข้ามาทำหน้าที่ทำลายเซลล์ของร่างกายตัวเอง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพบในกลุ่มโรคที่เรียกว่า ออโตอิมมูน” (Autoimmune Disease) หรือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง

    MS เป็นเพียงโรคหนึ่งในโรคออโตอิมมูนเท่านั้น การที่ระบบภูมิคุ้มกันหันมาทำลายเซลล์ตนเองในโรค MS เกิดขึ้นในระบบประสาทส่วนกลางเท่านั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเยื่อกั้นแบ่งระหว่างหลอดเลือดและระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลายไปในระยะแรกของการอักเสบทำให้มีเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันหลุดลอดเข้าไปอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งตามปกติจะไม่พบทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจจับเซลล์ในระบบประสาทส่วนกลางว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจึงเกิดการทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของตนเองขึ้น โดยพบว่าไมอิลินเป็นตัวหลักที่ถูกทำลาย   

     

                   การถูกโจมตีโดยเซลล์แมคโครฟาจเป็นเพียงหนึ่งในหลายกลไกที่ทำให้ไมอิลินถูกทำลายเมื่อไมอิลินถูกทำลายจะทำให้การส่งผ่านกระแสประสาทไปตามทางเดินประสาทนั้นถูกรบกวนเป็นผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทนั้นๆ ขึ้น

                    เมื่อไมอิลินถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ในแต่ละครั้งที่มีอาการกำเริบและมีการซ่อมแซมไม่สมบูรณ์ ในที่สุดจะเหลือเพียงเส้นประสาทที่ไม่มีไมอิลินหุ้ม ทำให้เส้นประสาทที่เหลือถูกทำลายได้ง่ายขึ้นเนื่องจากไม่มีตัวหุ้มห่อคอยปกป้องเส้นประสาท

     

    ความเสียหายของไมอิลิน และผลที่ตามมาใน MS

    ดังกล่าวแล้วว่าลักษณะเฉพาะในโรค MS คือ มีการทำลายของไมอิลินในระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง นอกจากนี้พบว่ามีการทำลาย Oligodendrocyte ซึ่งมีหน้าที่สร้างและซ่อมแซมไมอิลินในระบบประสาทส่วนกลางด้วย โดยตำแหน่งที่มีการอักเสบและถูกทำลายนี้สามารถตรวจได้โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

                    เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นแมคโครฟาจซึ่งเป็นเซลในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายไมอิลินทำให้เส้นประสาทไม่มีตัวห่อหุ้ม เส้นประสาทที่ไม่มีเยื่อหุ้มไมอีลินนี้เรียกว่า Unmyelinated nerve fiber ซึ่งมีความสามารถในการนำกระแสประสาทได้ช้ามากหรือไม่สามารถนำกระแสประสาทได้เลย เนื่องจากกระแสประสาทจะต้องเดินทางตามเส้นประสาทโดยตรงไม่สามารถกระโดดข้ามจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดได้เหมือนเส้นประสาทที่มีไมอิลิน(รูปที่ 1.4.2)

                    หลังจากขบวนการอักเสบหายดีแล้ว จะมีกระบวนการซ่อมแซมไมอีลินเกิดตามมาเรียกว่า Remyelination ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งการทำลายและการซ่อมแซมเยื่อหุ้มไมอีลินนั้นจะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในระบบประสาทส่วนกลางในโรค MS ร่องรอยจากการอักเสบที่เหลือจะปรากฏเป็นรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการตรวจด้วย MRI เราเรียกรอยแผลเป็นนั้นว่า แผ่นแข็ง (Plaque) ถ้าการอักเสบที่เกิดขึ้นเป็นซ้ำๆที่ตำแหน่งเดิม กระบวนการซ่อมแซมจะไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีการเสียหายอย่างถาวรที่เส้นประสาทเกิดขึ้น

    ในผู้ป่วย MS นั้นพบว่ามีทั้งกระบวนการที่ไมอิลินถูกทำลายและกระบวนการซ่อมแซมไมอิลินเกิดขึ้นหลายครั้ง เราสามารถบอกตำแหน่งที่เกิดการอักเสบในแต่ละครั้งนั้นได้จากอาการและอาการแสดงที่ปรากฎ และสามารถดูร่องรอยการอักเสบได้ โดยการตรวจ MRI

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×