คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : เราได้ประโยชน์จากการใช้ยาปรับเปลี่ยน ระบบภูมิคุ้มกัน ในโรค MS ได้อย่างไร
ส่วนประกอบของ Beta- Interferon
Interferon beta-1b (Betaferon®) เป็นโปรตีนที่ได้จากธรรมชาติผ่านการพันธุ์วิศวะ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตโดยใช้แบคทีเรีย (Escherichia coli)
Interferon beta-1b ใช้รักษา MS มาหลายปีแล้ว
ตารางเปรียบเทียบ Beta-Interferon แต่ละชนิด
ผลิตภัณฑ์ | Interferon beta-1b (อินเตอร์เฟอรอนเบต้า-วันบี) |
ชื่อทางการค้า | Betaferon® (เบต้าเฟอรอน) |
บริษัทผู้ผลิต | Schering (เชริง) |
ชนิดของ MS ที่ควรรับการรักษา | - Early MS ( Clinical isolated syndrome) ( CIS ) MS ระยะเริ่มแรก โดยมีอาการที่เข้าได้กับโรค MSเพียงครั้งเดียว และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคอื่น ๆ -Relapsing-remitting MS (MSชนิดกลับเป็นซ้ำ) -Secondary progressive MS (MSชนิดที่มีการดำเนินโรครุดหน้าในภายหลัง) |
ขนาดความถี่ของการให้ | 250 ไมโครกรัม วันเว้นวัน |
วิธีการให้ยา | ฉีดใต้ผิวหนัง |
ลักษณะผลิตภัณฑ์ | เป็นขวดมาพร้อมกับกระบอกฉีดยาที่มีสารละลาย |
เครื่องฉีดยาอัตโนมัติ | Betaject (เบต้าเจค) Betaject Light (เบต้าเจคไลท์) |
การเก็บผลิตภัณฑ์ | เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ไม่เกิน 25° องศา) ได้นานระยะเวลา 2 ปี |
ฉันจะได้ประโยชน์จากยาอย่างไร ?
- เนื่องจาก Betaferon® มีข้อบ่งใช้ใน MS อยู่ 2 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้นผู้ป่วยเกือบทุกคนมีโอกาสที่จะได้ยานี้ในการรักษา และปัจจุบันได้รับการอนุมัติใน MS ระยะ Clinical Isolated Syndrome (CIS) ซึ่งเป็น MS ระยะเริ่มแรก โดยมีอาการที่เข้าได้กับโรค MSเพียงครั้งเดียว และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคอื่น ๆ
- วิธีการฉีดยาด้วยตนเอง เหมือนกับการฉีดยาในผู้ป่วยเบาหวาน
- สารละลายที่ใช้เตรียมยาเป็นสารละลายที่ปราศจากเชื้อ ไม่มีการเติม สารปรุงแต่งลงไปในยา
- เครื่องมือที่ช่วยในการฉีดยา จะช่วยให้ฉีดยา ได้สะดวก ลดความกลัว เข็มฉีดยา และลดปฏิกิริยา บริเวณตำแหน่งที่ถูกฉีดยา
- การเก็บรักษา Betaferon® มีการยืดหยุ่นได้บ้าง สามารถทำให้เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ยาแบบวันเว้นวันมากขึ้น
กลไกการออกฤทธิ์ Beta-interferon
อย่างที่ได้ทราบมาบ้างแล้วว่า ในโรค MS นั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความผิดพลาดในการตรวจสอบโดยจะตรวจจับว่าเนื้อเยื่อของร่างกายตนเองเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงเกิดการทำลายเนื้อเยื่อขึ้น เรียกว่า Autoimmune disease
Beta-interferon จะช่วยยับยั้งการทำลายเซลล์เนื้อเยื่อโดยออกฤทธิ์ป้องกันการทำลายเยื่อกั้นแบ่งระหว่างหลอดเลือดและสมอง (Blood- Brain-Barrier) เมื่อเซลของระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถข้ามผ่านเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดและสมองได้ ก็จะไม่เกิดการอักเสบภายในเนื้อสมองเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าการยับยั้งไม่ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันผ่านเข้าไปในสมองเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการหยุดยั้งการอักเสบ
นอกจากนี้ Beta-interferon ยังมีบทบาทในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส และลดการผ่านเข้าของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่จะข้ามเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดและสมองจึงมีฤทธิ์ลดการอักเสบและลดการทำลายของเซลล์ประสาทได้ ส่วน Non-interferon ยังไม่ทราบกลไกที่แน่นอนในการออกฤทธิ์
โดยสรุป Beta-Interferon เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค MSโดยมีกลไกการออกฤทธิ์ของยา ดังนี้
- ยา Beta-Interferon ออกฤทธิ์โดยปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ยา Beta-Interferon จะไปปรับปรุงการสร้างโปรตีน, ลดการหลั่งของสารเหนี่ยวนำการอักเสบ, ทำให้เส้นประสาทถูกทำลายน้อยลง, ช่วยชะลอการดำเนินโรคของ MS และชะลอระยะเวลากว่าที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
กลไกการออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของยา Beta-Interferon
1. Beta-Interferon ลดการผ่านของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่เข้าไปในระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลายน้อยลง
2. Beta-Interferon ลดการทำงานของโมเลกุลที่ใช้ในการยึดเกาะสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และลดการสร้าง เอ็นไซม์ที่จำเป็นในการทำลายตัวควบคุมการผ่านเข้าออกระหว่างเลือดกับสมอง (Blood-brain barrier) ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟโซทผ่านเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้น้อยลง
3. Beta-Interferon ลดการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันทำให้เซลล์ของร่างกายถูกทำลายโดยระบภูมิคุ้มกันของตนเองได้น้อยลง
4. Beta-Interferon ลดการแสดงออกของสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟโซทจึงทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟโซทถูกกระตุ้นน้อยลงส่งผลให้การเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟโซทลดลงด้วย
5. ยา Beta-Interferon ลดการสร้างสารสื่อประสาทจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟโซท และกระตุ้นการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยต่อต้านการอักเสบ ได้แก่ IL-10, IFNนอกจากนี้ยังช่วยลดการ สร้างอนุมูลอิสระ และลดการหลั่งไนตริกออกไซด์
6. ยา Beta-Interferon ช่วยเสริมการทำงานของแอสโทรโซท(astrocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมในระบบประสาทโดยช่วยสร้างปัจจัยในการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท (nerve growth factor),ช่วยเร่งการฟื้นฟู และการสร้างปลอกประสาทไมอิลินใหม่ (remyelination)
กลไกการออกฤทธิ์ | IFN-β | GA |
กระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในระบบประสาทส่วนปลาย | ใช่ | ไม่แน่ชัด |
ลดการผ่านของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่เข้าไปในระบบประสาทส่วนกลาง | ใช่ | ไม่ |
กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในระบบประสาทส่วนกลาง | ใช่ | ไม่แน่ชัด |
การหลั่งสารสื่อประสาทชนิด cytokine / chemokine’s | ใช่ | ใช่ |
ยับยั้งการหลั่งของโมเลกุลที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาท | ใช่ | ไม่แน่ชัด |
ป้องกันการทำลายและการสูญเสียของเส้นประสาท (axons) และโอลิโกเดนโดซัยต์ (oligodendrocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่สร้างปลอกหุ้มเส้นประสาท (myelin) | ไม่แน่ชัด | ไม่แน่ชัด |
ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างกลไกการออกฤทธิ์ของยา Beta-Interferon และยา glatiramer acetate (GA)
ในผู้ป่วยMS ที่ใช้ IFN ได้ประโยชน์ดังนี้
- IFN ลดการผ่านของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่เข้าไปในระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลายน้อยลง
- IFN ลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการถูกทำลายของระบบประสาทส่วนกลาง
- IFN ลดการสร้างโมเลกุลที่มีหน้าที่ทำลายเซลล์
- IFN เสริมสร้างการซ่อมแซมเซลล์ประสาท
เมื่อที่เทียบกับยา glatiramer acetate ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่แน่ชัด
- ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดในกลุ่มยาปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับการอ้างถึงว่าเป็นยาที่ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ประสาท (neuroprotective)
- การตัดสินใจในการรักษาควรขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาทางคลินิกที่ได้รับการยืนยันว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างแน่นอน และไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะกับกลไกการออกฤทธิ์ของยาเท่านั้น
ความคิดเห็น