คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : โรคหัวใจ
วอร์ดที่ไอซ์ขึ้นฝึกที่เพิ่งผ่านมา คือศัยลกรรมหัวใจและทรวงอกค่ะ สาเหตุ
ซึ่งปัจจุบันนี้ คนไทยมีอัตราการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นมาก
ไอซ์ก้อเรยนำความรู้เรื่องนี้มาฝากเพื่อนๆกันค่ะ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease:CAD or Atherosclerotic Heart Disease) หมายถึงโรคหัวใจที่เกิดจากการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงโคโรนารี (coronary artery) ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป เมื่อผู้ป่วยมีภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นเช่น การออกกำลังกายมากๆ การมีอารมณ์โกรธหรือจิตใจเครียด เป็นต้น ก็จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราวโดยที่ยังไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น เราเรียกอาการดังกล่าวว่า โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ หรือ แองจินา (Angina/Angina pectoris) แต่ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจมีการตายเกิดขึ้นบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตัน เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้เลย ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ซึ่งมักจะมีภาวะช็อกและหัวใจวายรวมอยู่ด้วย เราเรียกว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction: MI)
โรคนี้มักจะพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนมากจะมีอาการเริ่มแรกเมื่ออายุมากกว่า 40ปีขึ้นไป มักไม่พบในผู้ชายอายุต่ำกว่า30ปี หรือผู้หญิงอายุต่ำกว่า40ปีที่ไม่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คนที่อยู่ดีกินดี คนที่มีอาชีพทำงานนั่งโต๊ะและคนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนยากจน คนที่มีอาชีพใช้แรงงานและชาวชนบท
เกิดจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (หลอดเลือดโคโรนารี) ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ มักเป็นผลมาจากผนังของหลอดเลือดแข็งเนื่องจากมีไขมันเกาะ ดังที่เรียกว่า อะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายตามวัย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความอ้วน การสูบบุหรี่จัด การขาดการออกกำลังกาย, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคเกาต์, การกินยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
อาการ
ในรายที่เป็นโรคแองจินา (หัวใจขาดขาดเลือดชั่วขณะ) จะมีอาการเจ็บหรือจุกแน่นที่ตรงกลางหน้าอกหรือยอดอกซึ่งมักจะเจ็บร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ด้านในของแขนซ้าย บางคนอาจร้าวมาที่คอ ขากรรไกร หลัง หรือแขนขวา บางคนอาจรู้สึกจุกแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อยหรือท้องอืดท้องเฟ้อ ผู้ป่วยมักมีอาการเวลาออกแรงมาก ๆ เช่น ยกของหนัก เดินขึ้นที่สูง ออกกำลังแรง ๆ ทำงานหนัก ๆ แบบที่ไม่เคยทำมาก่อน มีอารมณ์โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ เสียใจ หรือจิตใจเคร่งเครียด ขณะร่วมเพศ หลังกินข้าวอิ่มจัด หรือเวลาถูกอากาศเย็น ๆ
ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง เป็นไข้ หรือหัวใจเต้นเร็ว (เช่น หลังกินกาแฟ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ) ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคนี้ได้ อาการเจ็บหน้าอก มักจะเป็นอยู่นาน 2-3 นาที (มักไม่เกิน 10-15 นาที) แล้วหายไปเมื่อได้พักหรือหยุดกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ หรือหลังจากได้อมยาขยายหลอดเลือด เช่น ไนโตรกลีเซอรีน นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เหงื่อออก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีความรู้สึกเจ็บหน้าอกแปล็บ หรือรู้สึกเจ็บเวลาก้มหรือเอี้ยวตัว หรือรู้สึกเจ็บอยู่ตลอดเวลา (เวลาออกกำลังกายหรือทำอะไรเพลินแล้วหายเจ็บ) มักไม่ใช่โรคแองจินา
ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกับโรคแองจินา แต่จะเจ็บรุนแรงและนาน แม้จะได้นอนพักก็ไม่ทุเลา ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรง จะมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีภาวะหัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อก คือเหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเต้นเบาและเร็ว ความดันเลือดตก หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตในทันทีทันใด บางคนอาจมีประวัติว่า เคยมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นพัก ๆ นำมาก่อนเป็นเวลาหลายสัปดาห์ บางคนอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกมาก่อนเลยก็ได้
ข้อแนะนำ
- 1.โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง และอาจมีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำและควรพกยาประจำตัว
- 2.สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อกลับจากโรงพยาบาลแล้ว ควรพักฟื้นที่บ้านอีกสักระยะหนึ่ง อย่าทำงานหนัก หรือทำกิจกรรมใดๆที่หนักเป็นเวลานาน4-5สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์แนะนำ
ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้หลังมีอาการ8-12สัปดาห์หรือตามแพทย์แนะนำ แต่ห้ามงานที่ต้องใช้แรงมาก ผู้ป่วยควรป้องกันมิให้เกิดอาการกำเริบอีกโดยการกินยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำอย่าได้ขาด และปฏิบัติตัวตามข้อปฏิบัติตัว สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ก็อาจมีโอกาสหายขาดและมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนปกติได้ ส่วนในรายที่กำเริบใหม่ มักมีโรคแทรกซ้อนอยู่ก่อน หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบตันเป็นจำนวนมาก
- 3.ข้อปฏิบัติตัว จะมีส่วนช่วยรักษาให้มีชีวิตยืนยาวได้เท่าหรือเกือบเท่าคนปกติ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้
I. เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด
II. ถ้าอ้วน ควรหาทางลดน้ำหนัก
III. อย่ากินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง โดยใช้น้ำมันจากพืชแทน(ยกเว้นกะทิและปาล์ม)
IV. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหม และควรเพิ่มขึ้นทีละน้อย ทางที่ดีควรขอคำแนะนากแพทย์เสียก่อนที่จะออกกำลังกายมากๆ การออกกำลังกายที่แนะนำให้ทำกัน ได้แก่ การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
V. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น อย่าทำงานหักโหมเกินไป, อย่ากินข้าวอิ่มเกินไป, ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยการดื่มน้ำมากๆ กินผักผลไม้ให้มากๆ และควรกินยาระบายเวลาท้องผูก(ถ้าจำเป็น), ควรงดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน, หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจหรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
- 4.โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ, ไม่สูบบุหรี่, ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ, ระวังอย่าให้อ้วนและลดการกินอาหารที่มีไขมันสูงป้องกันโรคหัวใจ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็น