ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ ปืน

    ลำดับตอนที่ #5 : อยากพกปืน ทำไงดี

    • อัปเดตล่าสุด 5 เม.ย. 50



       หลายๆท่านเมื่อมีปืนแล้ว ก็อยากจะนำติดตัวไปด้วยเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน เพราะตามกฏหมาย ใบ ป.4 เพียงแค่อนุญาตให้ท่านมีและใช้ เท่านั้นไม่ให้พกพาไปไหนมาไหน ไอ้ครั้นจะหวังพึ่งตำรวจ ก็พึ่งได้ยากเสียเหลือเกิน ก็ขนาดสถานฑูต ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญ ยังปล่อยให้คนพกทั้งปืนกล ระเบิดมือไปยึดได้ง่ายๆแบบนั้น ก็หมดหวังละครับ

    ทีนี้เราจะทำยังไงกันดี ที่จะพกปืนแล้วไม่ผิดกฏหมาย ตรงนี้ กฏหมายท่านให้ช่องไว้ครับ แต่อยากจะบอกว่าช่องนี้มันเล็กเหลือเกิน แถมมันไม่แน่นอนไม่มีกฎตายตัวเสียด้วย คือท่านต้องยื่นเรื่องขอใบอนุญาตพกพาครับ (ป.12) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้นที่มีอำนาจออกให้ได้ครับ เป็นไงครับ ใหญ่โตดีไหม ออกใบพกปืน 1 ใบ ต้องให้รัฐมนตรีออก แถมออกตามดุลยพินิจเสียด้วย ท่านหมั่นไส้ใครไม่ออกให้ ก็ทำอะไรท่านไม่ได้หรอกนะครับ แต่ถ้าท่านคิดว่าท่านเส้นดีๆ ก็ลองทำดูครับเผื่อจะได้มา แต่เมื่อได้มาแล้วลองอ่านๆดูจะได้สาระดังนี้ว่า ท่านห้ามพกปืนไปในที่สาธารณะ ที่ที่มีงานนมัสการ งานสมโภส ห้ามพกโดยเปิดเผย กล่าวคือ ใบ ป.12 ให้พกได้ตามป่าเขาครับ แต่ทว่าในหลักความเป็นจริง ตำรวจมักเกรงใจคนมีใบ ป.12 ครับ ด้วยความที่ ขอยาก และรัฐมนตรีเป็นคนเซ็น คนที่มีใบนี้ก็คงไม่ขี้ไก่เสียทีเดียว

    มาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงเริ่มท้อเสียแล้วว่ามีปืนแล้วพกไม่ได้จะมีทำไม ยังครับ ยังมีวิธีพกอยู่ มีกฏหมายอยู่ข้อหนึ่งบัญญัติไว้ว่า " ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไป ในเมือง ในหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ "

    เว้นแต่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ประโยคนี้เองครับเป็นทางออกแก่ผู้ที่สิ้นหวังอย่างเราๆท่านๆ แล้วจะทำอย่างไร หรือรู้ได้อย่างไรครับว่าอันไหนเร่งด่วน ไม่เร่งด่วน จำเป็นหรือไม่จำเป็น และควรหรือไม่ควร อันนี้เป็นเรื่องที่ผมเคยได้ยินและได้อ่านมา ไม่ขอรับรองและให้ยึดเป็นหลัก เพื่อนที่อ่านควรศึกษาเพิ่มเติมด้วยและโปรดใช้ความคิดประกอบในการอ่าน กล่าวคือ เมือจะพก ไปควรพกอย่างปกปิด ถ้าจะให้ดี ต้องทำให้ปืนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมยิง หรือยิงยากที่สุดที่จะมากได้ เช่น มีโครงปืนอยู่ลิ้นชักหน้ารถ ลูกอยู่ในกล่องท้ายรถ ลำสไลด์ อยู่กระโปรงท้ายรถ มีล็อกอย่างดี อันนี้ ท่านว่าน่าจะหลุด 98 % คือยิ่งทำให้หยิบมาใช้งานยาก เปเซ็นการไมèโดนจับก็ มากขึ้นไปด้วย อันต่อไปก็คือ ความจำเป็น อย่างไรจึงเรียกว่าจำเป็น ถ้าท่าน โดนขโมยขโมยรถแล้วหนีไป ต่อหน้าต่อตา ท่านหยิบปืนออกไปตามขโมยอันนี้พอจะถือได้ว่าจำเป็น เพราะท่านมีสิทธิที่จะปกป้องทรัพย์สินของท่าน และท่านไม่รู้ว่า ขโมยดังกล่าวมีอาวุธหรือไม่ แต่หากท่านหยิบไปเพราะท่านโดนขโมยรถ เมื่อ เดือนที่แล้ว อันนี้ความจำเป็นของท่านคงหมดไปแล้ว

    สำหรับเพื่อนๆที่สนใจ เรื่องนี้อยากให้ลองไปหาอ่านเพิ่มเติม ตามหนังสือกฏหมายจะได้ข้อมูลดีขึ้น สำหรับการพกข้อต่อไป ซึ่งหลายๆคนใช้วิธีนี้อยู่คือ พกได้ตราบจนตำรวจไม่พบปืนของท่าน อันนี้ไม่มีใบ ป.12 ก็พกได้นะครับ แต่โดนจับแล้วไม่ค่อยจะคุ้ม ต้องเสียค่าปรับ เผลอๆอาจจะโดนริบปืนได้อีกนะครับ

    ส่วนกรณีที่ท่านโดนจับแล้วจะทำยังไง อันนี้มีรุ่นน้องผมโดนนะครับ ก็เล่าให้ฟังเป็นอุธาหรณ์ รุ่นน้องผมต้องขับรถระหว่างกรุงเทพ กาจนบุรี อยู่บ่อย แกก็พกปืนที่มีใบ ป.4 เรียบร้อย โดยไว้ที่ลิ้นชักหน้ารถ โดยปืนอยู่ในสภาพพร้อมยิง มีกระสุนในรังเพลิงอยู่ 1 นัด พอมาถึงกรุงเทพ แกก็แวะพักทานข้าวที่ ป.กุ้งเผาก่อน แล้วก็เป็นเรื่องครับ ตำรวจขอตรวจค้นก็เจอปืนจนได้ เป็น โค้ลท์ โกลคัพ 11 มม. ก็มีทะเบียนเรียบร้อยแหละครับ แต่ตำรวจท่านก็ไม่สนล่ะครับทำตามหน้าที่ ขนาดรุ่นน้องผมจะให้เงิน ท่านก็ไม่ยอม ก็ขอยกย่องไว้ตรงนี้นะครับ ในที่สุดท่านก็พาไปโรงพัก ร้อยเวรก็ลงบันทึกประจำวัน แล้วก็ยึดปืนไว้ตรวจสอบ ก็รอประมาณเดือนกว่าๆแหละครับ ถ้าปืนไม่มีปัญหา ก็ไปรับปืนคืนแล้วเสียค่าปรับ ยังดีนะครับ ที่เค้าไม่ลงโทษมากกว่านั้น

    ยังไงเพื่อนๆก็ลองคิดๆดูแล้วกันครับไม่จำเป็นอย่าพกเลยเสียทั้งเงินทั้งเวลา และที่อยากจะฝากไว้เลยนะครับ กรณีที่ท่านพกปืนอยู่กับตัว แล้วโดนตำรวจตรวจค้น ( คือยังไงเค้าก็เจอปืนท่านแน่ๆ ) ให้รีบบอกตำรวจก่อนครับ ว่าเราพกปืนไว้ อ้อ บอกนะครับ ไม่ใช่ขู่ ส่วนตำรวจจะหยิบปืนขึ้นมาเองก็ไม่เป็นไร หรือว่า ถ้าตำรวจให้เราหยิบปืนออกมา ให้ค่อยๆหยิบนะครับ แล้วนิ้วห้ามเข้าไปอยู่ในโกร่งไกเด็ดขาด แล้วค่อยๆหันด้าน ด้ามปืนส่งไปให้ตำรวจนะครับ อย่าไปชักแบบจะยิงเป็นอันขาด ท่านอาจโดนยิงก่อนได้นะครับ ที่สำคัญถ้าตำรวจเค้าอ้างว่าท่านขัดขืนการจับกุมและพยายามต่อสู้ ท่านจะตายฟรีเสียปล่าวๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×