รักไร้กาลเวลา : อดีตลิขิตรัก - นิยาย รักไร้กาลเวลา : อดีตลิขิตรัก : Dek-D.com - Writer
×

    รักไร้กาลเวลา : อดีตลิขิตรัก

    [อดีตลิขิตรัก ชุด รักไร้กาลเวลา] เมื่อการสำรวจโบราณวิหารพัดพาให้เธอต้องย้อนกลับไปหาใครบางคนในอดีต... ที่ชะตาได้ลิขิตให้มาเป็นเนื้อคู่ของเธอ..

    ผู้เข้าชมรวม

    30,247

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    34

    ผู้เข้าชมรวม


    30.24K

    ความคิดเห็น


    260

    คนติดตาม


    280
    จำนวนตอน : 42 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  4 พ.ค. 56 / 19:31 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    />

    อดีตลิขิตรัก

    'เนื้อคู่' คนที่คนหลายคนตามหา
    ไม่ต่างจาก...ผู้หญิงคนหนึ่ง
    ที่เฝ้าหาคนคนนั้นมานาน
    โดยไม่รู้ว่าเขาคนนั้นอยู่คนละ...

    'เวลา'

    เรื่องราวอันหวานปนขม ผสมรสเผ็ดนิดๆ จึงเกิดขึ้น
    เรื่องราวจะจบลงอย่างไร
    เชิญอ่าน
    นวนิยายชุดรักไร้กาลเวลา

    'อดีตลิขิตรัก'


    อ่านแล้วติชมกันด้วยนะครับ!
    (ไม่ว่าจะมาจากไหน เป็นเพื่อนที่โรงเรียนหรือไม่ :))

     

     


    ทุกท่านสามารถติดตามนิยายชุด รักไร้กาลเวลาเรื่องที่2
    อนาคตกำหนดใจได้โดยการกดภาพทางขวานะครับ

     

     




     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ รักไร้กาลเวลา : อดีตลิขิตรัก"

    (แจ้งลบ)

    สวัสดีค่ะคุณดอกคูนขาว เรามาจากห้องวิจารณ์นิยายที่คุณเคยมาฝากวิจารณ์เมื่อนานมาแล้วค่ะ พอดีว่ากำลังจะโละบทความเลยนำบทวิจารณ์ที่เคยวิจารณ์เอาไว้มาแปะหน้าบทความให้คุณค่ะ :) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าสนใจเรื่องนี้จริงๆ เหตุหนึ่งเป็นเพราะพวกคลั่งอารยธรรมตะวันตก( โดยเฉพาะโรมัน ) ตอนที่เห็นนิยายของไรเตอร์และอ่านไปเร ... อ่านเพิ่มเติม

    สวัสดีค่ะคุณดอกคูนขาว เรามาจากห้องวิจารณ์นิยายที่คุณเคยมาฝากวิจารณ์เมื่อนานมาแล้วค่ะ พอดีว่ากำลังจะโละบทความเลยนำบทวิจารณ์ที่เคยวิจารณ์เอาไว้มาแปะหน้าบทความให้คุณค่ะ :) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าสนใจเรื่องนี้จริงๆ เหตุหนึ่งเป็นเพราะพวกคลั่งอารยธรรมตะวันตก( โดยเฉพาะโรมัน ) ตอนที่เห็นนิยายของไรเตอร์และอ่านไปเรื่อยๆเลยก็ทำให้รู้ว่า ' มันอิงประวัติศาสตร์กรีกนี่หว่า ' แล้วยิ่งมีเรื่องของเทพปกรนัมและเรื่องโรแมนติกเข้ามาก็เลยเกิดอารมณ์ติดตามขึ้นมาตั้งแต่ตอนแรกๆ ..เราว่าเข้าเรื่องงานดีกว่าก่อนจะเขวไปกว่านี้นะคะ =w= แต่บอกไว้ก่อนว่านิยายยังไม่จบเลยพูดเรื่องแนวทางของนิยายไม่ได้เยอะนัก อย่างไรก็จะทำเท่าที่มีมาให้ดีที่สุดค่ะ มาเรื่องของสิ่งสำคัญที่จะดึงดูดผู้อ่านเป็นจุดแรกอย่างชื่อเรื่องดีกว่าค่ะ สำหรับชื่อนี้นั้นมีแรงดึงดูดสำหรับเหล่าคนที่ให้ความสนใจในนืยายแนวโรแมนติกได้ดีทีเดียว ไม่ใช่รักเฉยๆแต่มันต้องโรแมนติกเลยเพราะชื่อที่ว่าอดีตลิขิตรักนี้ทำให้นักอ่านมีความคิดในด้านของการข้ามมิติหรือการเดินทางผ่านห้วงเวลาไม่ว่าจะไปในดินแดนเพ้อฝันหรือย้อนยุค เป็นการสร้างจินตนาการความเพ้อฝันกลายๆให้แก่ผู้ที่เห็นชื่อนี้ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างความน่าสนใจให้แก่นิยายเรื่องนี้ค่ะ แล้วพอมีข้อความว่ารักไร้กาลเวลาเข้ามาประกอบก็จะยิ่งเพิ่มอารมณ์โรแมนติกและความน่าสนใจของนิยายเข้าไปอีก ทำให้นักอ่านรู้สึกถึงอารมณ์ลึกซึ้งจากชื่อเรื่องมากขึ้น นับว่าน่าชื่นชมที่ตั้งชื่อสะเทือนอารมณ์แบบนี้ขึ้นมาค่ะ และพอเรามาดูด้านความเหมาะสมนั้นก็ไม่บกพร่องเพราะในเบื้องต้นนั้นชื่อนี้มีความเหมาะสมกับตัวเนื้อหา เห็นได้จากการเดินทางผ่านเวลาของนางเอกนั่นเอง :) ในด้านโครงเรื่องนี้คงพูดยากเสียสักหน่อยเพราะเนื้อเรื่องเท่าที่อ่านยังดำเนินผ่านไปได้เล็กน้อย แต่เท่าที่นั้นจับใจความได้ก็ราวๆว่า ' นางเอกได้พลัดเข้าไปในกรีกในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแล้วก็จะไปเจอะกับเนื้อคู่ซึ่งก็คือนายพลลูปัส โดยมีสงครามเป็นตัวนำพาให้สองคนนี้มาพบเจอกันหลังจากที่ฝันเห็นกันและกันมาสองนาน ' โครงแนวเดินทางข้ามมิติไปในยุคอดีตไปเจอเนื้อคู่เพราะชะตาลิขิตมันจะมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆค่ะ ตัวโครงนี้ก็เลยมีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง เราก็เห็นเนื้อหานิยายแค่ในช่วงตอนต้นเท่านั้นเลยไม่กล้าจะบอกไปมากกว่านี้ แต่ถ้าจะแนะนำคงเป็นเรื่องที่อยากให้แนวในช่วงกลางเรื่องไปแถวปลายๆเกิดความน่าสนใจขึ้น อาจเป็นเหตุการณ์ย่อยสะเทือนอารมณ์หรือแนวที่หักมุมไปจากความคิดของผู้อ่านเพราะมันจะช่วยเสริมความน่าสนใจให้นิยายที่ผู้อ่านเห็นว่าเบื่อแนวที่จำเจได้ค่ะ แต่สำหรับคอนิยายโรแมนติกนั้นแค่นิยายมีแนวโครงแบบนี้นี้เขาก็ติดกันได้สบายๆค่ะ :) มาเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวชักพาโครงไปในทิศทางต่างๆบ้างดีกว่า ในด้านนี้เราก็ยังคงเห็นภาพไม่ชัดเท่าไร เพราะเนื้อเรื่องหลักๆนั้นได้ดำเนินไปได้ไม่มากนัก จะบอกว่าเป็นการดำเนินที่ยืดเยื้อก็ไม่ได้เพราะยังไม่รู้จำนวนตอนแน่นอนของนิยาย เพราะฉะนั้นคงลงลึกไม่ได้มากขออภัยมา ณ ที่นี้ก่อนเลยนะคะ ในช่วงตอนต้นของนิยายเรื่องนี้นั้นเป็นการเกริ่นในเรื่องของประวัติความเป็นมาของนางเอกและเป็นเหตุการณ์ที่ดึงพิชญาให้เข้าสู่เนื้อหาหลัก ในจุดนี้นับว่ามีความเหมาะสมและสมเหตุสมผลดีทีเดียวค่ะ ทำให้นักอ่านเข้าถึงและเกิดอารมณ์ว่ามันคือกรีกจริงๆ ประกอบกับการสร้างการศึกษาเรื่องความเป็นกรีกของคุณยิ่งเสริมให้ความสมเหตุสมผลที่มีอยู่แล้วนั้นเพิ่มมากขึ้น และก็ยังมีปมที่ทิ้งไว้ทำให้เกิดความน่าสนใจอยู่เหมือนกัน เช่น ปมที่ว่านางเอกและ พระเอกจะมาเจอกันในรูปแบบไหน ตอนเจอจะเป็นอย่างไร รวมถึงว่านางเอกของเราจะทำอย่างไรกับสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น แล้วหนทางกลับบ้านล่ะจะทำยังไง.. สร้างความน่าติดตามได้ดีทีเดียวค่ะ นับว่าเป็นเนื่อเรื่องที่ช่วยดึงโครงขึ้นมาได้ดีค่ะ :) มาถึงเรื่องการบรรยาย หนึ่งในตัววัดสำคัญว่านิยายของคุณสร้างอารมณ์และดึงดูดคนได้มากแค่ไหน โอเค! ในจุดแรกซึ่งก็คือรูปแบบการบรรยายของคุณดอกคูน จากที่อ่านนั้นพูดได้เต็มปากค่ะว่าดีมากๆมันเป็นการดำเนินโดยมุมมองของผู้เขียนและเหมาะสมกับแนวนิยายของคุณซึ่งไปเสริมในการเข้าถึงนิยายแก่นักอ่านมากขึ้น โดยการบรรยายนั้นเป็นไปอย่างลื่นไหลทำให้ผู้อ่านไม่ค่อยเกิดความติดขัดและเข้าถึงอารมณ์ได้อย่างไม่สะดุด จะมีบกพร่องก็ตรงที่ใช้คำเรียกเดิมซ้ำไมาทำให้เกิดความไม่สมูธ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - ในบทนายพลแห่งมาซิโดเนีย จะมีการใช้ลูปัสเยอะมากในขระโยคและคำใกล้เคียง เช่น ' “ข้าว่าส่งทัพของลูปัสไปเห็นจะดีที่สุด” นายพลลูปัสเบิกตากว้างกับสิ่งที่นายเหนือหัวพูด ขณะที่นายพลคนอื่นหันมามองลูปัสเป็นตาเดียว ' แนะนำให้ลองหาสรรพนามอื่นๆ เช่น เจ้าของชื่อเบิกตากว้างกับสิ่งที่นายเหนือหัวพูด ก็ได้ค่ะเพื่อเว้นระยะห่างของคำว่าลูปัสจะได้เกิดความสลวยของประโยค - และในบทเดียวกันนี้ ก็มีปัญหาคำว่า เขา เช่นกัน และนี่คือตัวอย่าง : ' เมื่อนายพลลูปัสมาถึงพระราชวัง เขาก็เดินตรงเข้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ในพระราชวังจะกว้างใหญ่ และมีเส้นทางสลับซับซ้อนแต่เขาก็เดินตรงไปไม่หยุดอย่างชำนาญทาง ไม่นานนักเขาก็เดินมาหยุดหน้าประตูกว้างที่ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับเตรียมแผนการรบ ' ถ้าย่อหน้าหนึ่งมีความยาวประมาณเท่านี้ไม่แนะนำให้ใช้คำซ้ำเดิมๆค่ะ ลองเปลี่ยนสรรพนามดูนะคะมันจะช่วยเสริมความสลวยเหมือนตัวอย่างที่แล้ว - และตัวอย่างสุดท้ายที่ยกมามีความดังนี้ : ' ประตูรถแท็กซี่เปิดออกหน้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พิชญาก้าวออกมาจากคันรถก่อนจะเดินอ้อมไปหยิบกระเป๋าเดินทางลงจากท้ายรถ พร้อมๆกับที่พิชชาน้องสาวฝาแฝดของเธอก้าวออกมาจากประตูรถอีกฝั่ง และรีบเดินมาช่วยพี่สาวขนของมากมายออกมาจากรถ ' คำว่ารถเยอะไปค่ะ อาจลองตัดบางท่อนที่ไม่มีคำว่ารถก็ได้ความดูก็ได้ เช่น ' พร้อมๆกับที่พิชชาน้องสาวฝาแฝดของเธอก้าวออกมาจากประตูอีกฝั่ง ' มันจะยังได้ใจความอยู่ค่ะ - ' วิหารตรงหน้าเป็นวิหารที่สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาวสะท้อนแสงเป็นมันวาวทั้งวิหาร รูปทรงวิหารมีความคล้ายคลึงกับวิหารพาร์เธนอนของเอเธนส์มาก ต่างกันแค่ขนาดที่เล็กกว่าเพียงนิดเดียว วิหารเป็นวิหารแบบปิด มีเสาแบบโครินเธียนถึง48 ต้นรอบๆวิหารคอยค้ำหลังคาทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เสาทั้งหมดถูกแกะสลักเป็นรูปเถาไม้เลื้อยไปรอบๆเสาทั้งต้นจนแทบจะกลมกลืนไปกับไม้เลื้อยที่งอกขึ้นปกคลุมวิหารที่ร้างผู้คนมาหลายพันปี ' อันนี้อาจย่อความลงมา เช่น วิหารตรงหน้าถูกสร้างขึ้นจาก... ก็ได้ หรืออาจเปลี่ยนสรรพนามให้ระยะห่างระหว่างคำว่าวิหารมีมากขึ้นค่ะ มาเรื่องการบรรยายที่ควรจะเคลียร์มากกว่านี้บางดีกว่าค่ะ และต่อไปนี้คือตัวอย่าง - ' ผู้ที่คอยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกที่หลงเหลืออยู่ในวิหาร ' ประโยคนี้ถึงจะไม่สำคัญมากนักต่อการดำเนินเรื่องแต่ก็ต้องบอกเอาไว้ก่อน คือมันแปลได้สองอย่างคือข้อมูลที่ได้จากบันทึกในการสำรวจของคณะหรือบันทึกที่หลงเหลืออยู่ในวิหาร ในด้านนี้ไม่ค่อยมีเยอะเลยเอามาแค่ประโยคนี้ค่ะ.. อันที่จริงเราหาอีกประโยคไม่เจอ พอดีจดไม่ละเอียดต้องขอโทษด้วยค่ะ T^T ในเรื่องของประโยคที่เขียนผิดค่ะ ในด้านนี้มีอยู่น้อยมากค่ะนานๆทีจะเจอ - ' ...มีการสลักอักษรกรีกเป็นคำเล็กๆอยู่ตลอดของกระจก ' อันนี้ใช้ไม่เหมาะสมค่ะ อาจเป็น ' ...มีการสลักอักษรกรีกขนาดเล็กเป็นคำอยู่ตลอดกรอบของกระจก ' ก็ได้ค่ะ เพราะ ' คำเล็กๆ ' มันยังไม่เหมาะสมน่ะนะ - ' ไลคุสตอบ ใบหน้าแสดงอารมณ์ดี ' ลองเปลี่ยนเป็น ' ไลคัสตอบสีหน้าอารมณ์ดี ' ถ้าจะดีกว่านะคะ ( พิมพ์คำว่าไลคัวผิดด้วยนะคะ ) อื่นๆก็เช่นการใช้ไม้ยมก(ๆ) ซึ่งบางจุดจะมีการใช้ที่เยอะจนเหมือนเป็นภาษาพูดมากกว่าเป็นภาษาเขียนค่ะ เช่น ' เดินไปตามทางเดิมกว้างๆยาวๆ ' มันเหมือนเป็นความคิดหรือการคุยเล่นมากกว่านะคะ ส่วนเรื่องการพรรณนาเรื่องของบรรยากาศ-สิ่งแวดล้อมโดยรอบอยากให้มีมากกว่านี้ค่ะ( ตอนมายุคกรีกนะ ) อย่างตอนที่พิชญาไปวาดรูปนั้นก็ควรจะมีบทพรรณนาเรื่องบ้านเรือนและธรรมชาติ รวมถึงในฉากห้องน้ำก็ควรเพิ่มบทบรรยายให้คนเห็นภาพมากขึ้นค่ะ จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงได้มากกว่านี้ค่ะ( เรื่องนี้เน้นมากสำหรับการเขียนแนวย้อนยุค เพราะมันอยู่บนหลักความจริงที่ออกจะเหนือการจินตนาการไปเหมือนกัน ) และสุดท้ายคือด้านอารมณ์ของตัวละครในเรื่อง อย่างตอนที่พิชญาโทรหาพิชชามันควรจะมีอารมณ์ที่ซึ้งและแสดงถึงความคิดถึงมากกว่านี้ค่ะเพราะเท่าที่อ่านไปอ่านมายังขาดความสมเหตุสมผลอยู่นะ ทั้งหมดก็เท่านี้ล่ะค่ะที่จับได้( เสียแต่ลืมจดเหมือนเคย = =;; ) แต่พอมาดูตอนหลังๆแล้วปัญหาเหล่านี้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว นับเป็นเรื่องน่าชื่นชมค่ะ! ส่วนคำแนะนำก็คือการอ่านทบทวนนิยายที่เราพิมพ์ดูมันจะช่วยได้เยอะเลยล่ะค่ะ ภาพรวมในด้านนี้บอกตามตรงว่าน่าชื่นชมเพราะภาษาบรรยายนั้นสะดุดใจนักอ่านจริงๆ และยังมีเสน่ห์ในด้านการดึงนักอ่านให้เข้าถึงเนื้อเรื่องมากขึ้น ทำให้มีอารมณ์คล้อยตามได้อย่างลื่นไหลเรานับว่าเป็นความสามารถในการเขียนนิยายที่ดีจริงๆค่ะ :) ในเรื่องของตัวละครนี้ถือว่าจัดวางได้ดีนะ ให้นางเอกเป็นนักโบราณคดี พระเอกเป็นนายพลคนหนึ่งในยุคกรีก รวมถึงตัวละครอื่นๆที่มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสมอยู่ แต่อยากให้ลองเพิ่มนิสัยที่ชัดเจนของแต่ละคนมากกว่านี้ดูค่ะโดยที่ไม่ใช้การบรรยายลักษณะ แต่แนะให้ใช้เหตุการณ์เป็นตัวที่ทำให้นิสัยของตัวละครปรากฎขึ้นจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงได้โดยง่ายค่ะ เช่น ความคิดที่ไม่อยากให้ตีเมืองบนเขา ทำให้รู้ได้ว่าคนๆนี้มีนิสัยรักสงบ เป็นต้น และเรื่องสุดท้ายคือการใช้ภาษาที่แสนสำคัญ ซึ่งสำหรับนิยายเรื่องนี้ระดับภาษาใช้ได้อย่างเหมาะสมค่ะ เลยไม่ค่อยติดขัดมาก แต่จะมีบกพร่องก็ตรงคำผิดนี่ล่ะค่ะ ได้แก่ - เว้นวรรค : ดูไม่เกี่ยวกับการใช้ภาษา แต่เกรงว่าถ้าเอาไปอยู่ในบรรยายจะทำมึนเพราะมันยาวมาก ในเรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญในนิยายอยู่ค่ะ เพราะยังมีเว้นวรรคผิดๆถูกๆอยู่และบางจุดทำให้เกิดการแปลความหมายผิด อันนี้แนะนำให้ลองอ่านทวนนะคะ - ฟ้อนท์ : อยู่ในตอนล่าสุด(บทชมเมือง)ค่ะ จะเห็นว่าสัญลักษณ์พวกปรัศนีหรืออัศเจรีย์จะเป็นฟ้อนท์แคมเบรียต่างจากฟ้อนท์ตัวอีกษรที่เป็นคอร์เดีย แนะนำว่าให้ปรับให้เป็นแบบเดัียวกันนะคะ จะทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่า และอีกจุดที่ไม่ค่อยจะสำคัญแต่ก็ควรบอกเอาไว้คือฟ้อนท์ในทุกๆตอน( แค่เนื้อเรื่องนะจ้ะ ) ควรเป็นแบบเดียวกันด้วยเพื่อความเรียบร้อยน่ะค่ะ :) - ย่อหน้า : ในบางตอนย่อหน้ายังมีระยะห่างจากของต่างกัน อย่างในบทชมเมืองค่ะ จะเห็นว่าในย่อหน้าแรกนั้นไม่เท่ากับย่อหน้าอื่นๆในตอนนั้น แนะนำให้ปรับนะคะเพื่อความเรียบร้อย ( เคยเจอในบทความรักหวานแหววเรื่องหนึ่งโดนคนอ่านติอยู่น่ะจ้ะ เลยเอามาเขียนเตือนไว้ด้วย ) - คำผิดจากการพิมพ์ เช่น วิงวอน พิมพ์เป็น วิวิน , ออก พิมพ์เป็น อก , ซูส พิมพ์เป็น ซุส ( ได้รับการยืนยันตอนเรียนประวัติศาสตร์กรีก ) , ไลคัส พิมพ์เป็น ไลคุส , โชค พิมพ์เป็น โชด เป็นต้น ในด้านนี้มีให้เห็นอยู่ประปรายค่ะ อันนี้แนะนำให้อ่านทวนเช่นเดียวกันค่ะ - คำผิดจากความเข้าใจ เช่น เพิ่ง พิมพ์เป็น พึ่ง , สวดมนต์ พิมพ์เป็น สวดมนตร์ เป็นต้น ในจุดนี้หาได้น้อยค่ะหรืออาจจะเป็นแค่คำนี้คำเดียวก็ได้ และมีคำอื่นๆที่ไม่รู้ว่าคุณดอกคูนจะใช้คำไหนแน่ เช่น ฟิลิปหรือฟิลลิป เป็นต้น และเรื่องที่เสริมขึ้นมาอีกอย่างคือ เรื่องนี้ยังขาดความน่าติดตามอยู่ค่ะ เรื่องมันดำเนินไปอย่างเรียบๆจนเกินไป อย่างในบทนำที่มันเกิดขึ้นเรียบๆไม่ได้ทิ้งอะไรน่าติดตามเอาไว้ แนะนำนะคะว่าให้เพิ่มคำบรรยายที่ทิ้งปมเอาไว้ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกติดตามค่ะ เรื่องนี้เป้นเรื่องที่ขอบอกว่าสำคัญที่สุดกับนิยายของคุณ เพราะทุกอย่างมันดีอยู่แล้วขาดแค่ความน่าติดตามซึ่งก็คือปมที่มาดลใจให้ผู้อ่านเขาเกิดอารมณ์ค้างนี่แหละค่ะ :)   อ่านน้อยลง

    elda chan | 19 ม.ค. 56

    • 5

    • 0

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ รักไร้กาลเวลา : อดีตลิขิตรัก"

    (แจ้งลบ)

    สวัสดีค่ะคุณดอกคูนขาว เรามาจากห้องวิจารณ์นิยายที่คุณเคยมาฝากวิจารณ์เมื่อนานมาแล้วค่ะ พอดีว่ากำลังจะโละบทความเลยนำบทวิจารณ์ที่เคยวิจารณ์เอาไว้มาแปะหน้าบทความให้คุณค่ะ :) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าสนใจเรื่องนี้จริงๆ เหตุหนึ่งเป็นเพราะพวกคลั่งอารยธรรมตะวันตก( โดยเฉพาะโรมัน ) ตอนที่เห็นนิยายของไรเตอร์และอ่านไปเร ... อ่านเพิ่มเติม

    สวัสดีค่ะคุณดอกคูนขาว เรามาจากห้องวิจารณ์นิยายที่คุณเคยมาฝากวิจารณ์เมื่อนานมาแล้วค่ะ พอดีว่ากำลังจะโละบทความเลยนำบทวิจารณ์ที่เคยวิจารณ์เอาไว้มาแปะหน้าบทความให้คุณค่ะ :) - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ก่อนอื่นเราอยากบอกว่าสนใจเรื่องนี้จริงๆ เหตุหนึ่งเป็นเพราะพวกคลั่งอารยธรรมตะวันตก( โดยเฉพาะโรมัน ) ตอนที่เห็นนิยายของไรเตอร์และอ่านไปเรื่อยๆเลยก็ทำให้รู้ว่า ' มันอิงประวัติศาสตร์กรีกนี่หว่า ' แล้วยิ่งมีเรื่องของเทพปกรนัมและเรื่องโรแมนติกเข้ามาก็เลยเกิดอารมณ์ติดตามขึ้นมาตั้งแต่ตอนแรกๆ ..เราว่าเข้าเรื่องงานดีกว่าก่อนจะเขวไปกว่านี้นะคะ =w= แต่บอกไว้ก่อนว่านิยายยังไม่จบเลยพูดเรื่องแนวทางของนิยายไม่ได้เยอะนัก อย่างไรก็จะทำเท่าที่มีมาให้ดีที่สุดค่ะ มาเรื่องของสิ่งสำคัญที่จะดึงดูดผู้อ่านเป็นจุดแรกอย่างชื่อเรื่องดีกว่าค่ะ สำหรับชื่อนี้นั้นมีแรงดึงดูดสำหรับเหล่าคนที่ให้ความสนใจในนืยายแนวโรแมนติกได้ดีทีเดียว ไม่ใช่รักเฉยๆแต่มันต้องโรแมนติกเลยเพราะชื่อที่ว่าอดีตลิขิตรักนี้ทำให้นักอ่านมีความคิดในด้านของการข้ามมิติหรือการเดินทางผ่านห้วงเวลาไม่ว่าจะไปในดินแดนเพ้อฝันหรือย้อนยุค เป็นการสร้างจินตนาการความเพ้อฝันกลายๆให้แก่ผู้ที่เห็นชื่อนี้ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างความน่าสนใจให้แก่นิยายเรื่องนี้ค่ะ แล้วพอมีข้อความว่ารักไร้กาลเวลาเข้ามาประกอบก็จะยิ่งเพิ่มอารมณ์โรแมนติกและความน่าสนใจของนิยายเข้าไปอีก ทำให้นักอ่านรู้สึกถึงอารมณ์ลึกซึ้งจากชื่อเรื่องมากขึ้น นับว่าน่าชื่นชมที่ตั้งชื่อสะเทือนอารมณ์แบบนี้ขึ้นมาค่ะ และพอเรามาดูด้านความเหมาะสมนั้นก็ไม่บกพร่องเพราะในเบื้องต้นนั้นชื่อนี้มีความเหมาะสมกับตัวเนื้อหา เห็นได้จากการเดินทางผ่านเวลาของนางเอกนั่นเอง :) ในด้านโครงเรื่องนี้คงพูดยากเสียสักหน่อยเพราะเนื้อเรื่องเท่าที่อ่านยังดำเนินผ่านไปได้เล็กน้อย แต่เท่าที่นั้นจับใจความได้ก็ราวๆว่า ' นางเอกได้พลัดเข้าไปในกรีกในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแล้วก็จะไปเจอะกับเนื้อคู่ซึ่งก็คือนายพลลูปัส โดยมีสงครามเป็นตัวนำพาให้สองคนนี้มาพบเจอกันหลังจากที่ฝันเห็นกันและกันมาสองนาน ' โครงแนวเดินทางข้ามมิติไปในยุคอดีตไปเจอเนื้อคู่เพราะชะตาลิขิตมันจะมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆค่ะ ตัวโครงนี้ก็เลยมีความน่าสนใจในระดับหนึ่ง เราก็เห็นเนื้อหานิยายแค่ในช่วงตอนต้นเท่านั้นเลยไม่กล้าจะบอกไปมากกว่านี้ แต่ถ้าจะแนะนำคงเป็นเรื่องที่อยากให้แนวในช่วงกลางเรื่องไปแถวปลายๆเกิดความน่าสนใจขึ้น อาจเป็นเหตุการณ์ย่อยสะเทือนอารมณ์หรือแนวที่หักมุมไปจากความคิดของผู้อ่านเพราะมันจะช่วยเสริมความน่าสนใจให้นิยายที่ผู้อ่านเห็นว่าเบื่อแนวที่จำเจได้ค่ะ แต่สำหรับคอนิยายโรแมนติกนั้นแค่นิยายมีแนวโครงแบบนี้นี้เขาก็ติดกันได้สบายๆค่ะ :) มาเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวชักพาโครงไปในทิศทางต่างๆบ้างดีกว่า ในด้านนี้เราก็ยังคงเห็นภาพไม่ชัดเท่าไร เพราะเนื้อเรื่องหลักๆนั้นได้ดำเนินไปได้ไม่มากนัก จะบอกว่าเป็นการดำเนินที่ยืดเยื้อก็ไม่ได้เพราะยังไม่รู้จำนวนตอนแน่นอนของนิยาย เพราะฉะนั้นคงลงลึกไม่ได้มากขออภัยมา ณ ที่นี้ก่อนเลยนะคะ ในช่วงตอนต้นของนิยายเรื่องนี้นั้นเป็นการเกริ่นในเรื่องของประวัติความเป็นมาของนางเอกและเป็นเหตุการณ์ที่ดึงพิชญาให้เข้าสู่เนื้อหาหลัก ในจุดนี้นับว่ามีความเหมาะสมและสมเหตุสมผลดีทีเดียวค่ะ ทำให้นักอ่านเข้าถึงและเกิดอารมณ์ว่ามันคือกรีกจริงๆ ประกอบกับการสร้างการศึกษาเรื่องความเป็นกรีกของคุณยิ่งเสริมให้ความสมเหตุสมผลที่มีอยู่แล้วนั้นเพิ่มมากขึ้น และก็ยังมีปมที่ทิ้งไว้ทำให้เกิดความน่าสนใจอยู่เหมือนกัน เช่น ปมที่ว่านางเอกและ พระเอกจะมาเจอกันในรูปแบบไหน ตอนเจอจะเป็นอย่างไร รวมถึงว่านางเอกของเราจะทำอย่างไรกับสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น แล้วหนทางกลับบ้านล่ะจะทำยังไง.. สร้างความน่าติดตามได้ดีทีเดียวค่ะ นับว่าเป็นเนื่อเรื่องที่ช่วยดึงโครงขึ้นมาได้ดีค่ะ :) มาถึงเรื่องการบรรยาย หนึ่งในตัววัดสำคัญว่านิยายของคุณสร้างอารมณ์และดึงดูดคนได้มากแค่ไหน โอเค! ในจุดแรกซึ่งก็คือรูปแบบการบรรยายของคุณดอกคูน จากที่อ่านนั้นพูดได้เต็มปากค่ะว่าดีมากๆมันเป็นการดำเนินโดยมุมมองของผู้เขียนและเหมาะสมกับแนวนิยายของคุณซึ่งไปเสริมในการเข้าถึงนิยายแก่นักอ่านมากขึ้น โดยการบรรยายนั้นเป็นไปอย่างลื่นไหลทำให้ผู้อ่านไม่ค่อยเกิดความติดขัดและเข้าถึงอารมณ์ได้อย่างไม่สะดุด จะมีบกพร่องก็ตรงที่ใช้คำเรียกเดิมซ้ำไมาทำให้เกิดความไม่สมูธ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ - ในบทนายพลแห่งมาซิโดเนีย จะมีการใช้ลูปัสเยอะมากในขระโยคและคำใกล้เคียง เช่น ' “ข้าว่าส่งทัพของลูปัสไปเห็นจะดีที่สุด” นายพลลูปัสเบิกตากว้างกับสิ่งที่นายเหนือหัวพูด ขณะที่นายพลคนอื่นหันมามองลูปัสเป็นตาเดียว ' แนะนำให้ลองหาสรรพนามอื่นๆ เช่น เจ้าของชื่อเบิกตากว้างกับสิ่งที่นายเหนือหัวพูด ก็ได้ค่ะเพื่อเว้นระยะห่างของคำว่าลูปัสจะได้เกิดความสลวยของประโยค - และในบทเดียวกันนี้ ก็มีปัญหาคำว่า เขา เช่นกัน และนี่คือตัวอย่าง : ' เมื่อนายพลลูปัสมาถึงพระราชวัง เขาก็เดินตรงเข้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ในพระราชวังจะกว้างใหญ่ และมีเส้นทางสลับซับซ้อนแต่เขาก็เดินตรงไปไม่หยุดอย่างชำนาญทาง ไม่นานนักเขาก็เดินมาหยุดหน้าประตูกว้างที่ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับเตรียมแผนการรบ ' ถ้าย่อหน้าหนึ่งมีความยาวประมาณเท่านี้ไม่แนะนำให้ใช้คำซ้ำเดิมๆค่ะ ลองเปลี่ยนสรรพนามดูนะคะมันจะช่วยเสริมความสลวยเหมือนตัวอย่างที่แล้ว - และตัวอย่างสุดท้ายที่ยกมามีความดังนี้ : ' ประตูรถแท็กซี่เปิดออกหน้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พิชญาก้าวออกมาจากคันรถก่อนจะเดินอ้อมไปหยิบกระเป๋าเดินทางลงจากท้ายรถ พร้อมๆกับที่พิชชาน้องสาวฝาแฝดของเธอก้าวออกมาจากประตูรถอีกฝั่ง และรีบเดินมาช่วยพี่สาวขนของมากมายออกมาจากรถ ' คำว่ารถเยอะไปค่ะ อาจลองตัดบางท่อนที่ไม่มีคำว่ารถก็ได้ความดูก็ได้ เช่น ' พร้อมๆกับที่พิชชาน้องสาวฝาแฝดของเธอก้าวออกมาจากประตูอีกฝั่ง ' มันจะยังได้ใจความอยู่ค่ะ - ' วิหารตรงหน้าเป็นวิหารที่สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาวสะท้อนแสงเป็นมันวาวทั้งวิหาร รูปทรงวิหารมีความคล้ายคลึงกับวิหารพาร์เธนอนของเอเธนส์มาก ต่างกันแค่ขนาดที่เล็กกว่าเพียงนิดเดียว วิหารเป็นวิหารแบบปิด มีเสาแบบโครินเธียนถึง48 ต้นรอบๆวิหารคอยค้ำหลังคาทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เสาทั้งหมดถูกแกะสลักเป็นรูปเถาไม้เลื้อยไปรอบๆเสาทั้งต้นจนแทบจะกลมกลืนไปกับไม้เลื้อยที่งอกขึ้นปกคลุมวิหารที่ร้างผู้คนมาหลายพันปี ' อันนี้อาจย่อความลงมา เช่น วิหารตรงหน้าถูกสร้างขึ้นจาก... ก็ได้ หรืออาจเปลี่ยนสรรพนามให้ระยะห่างระหว่างคำว่าวิหารมีมากขึ้นค่ะ มาเรื่องการบรรยายที่ควรจะเคลียร์มากกว่านี้บางดีกว่าค่ะ และต่อไปนี้คือตัวอย่าง - ' ผู้ที่คอยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกที่หลงเหลืออยู่ในวิหาร ' ประโยคนี้ถึงจะไม่สำคัญมากนักต่อการดำเนินเรื่องแต่ก็ต้องบอกเอาไว้ก่อน คือมันแปลได้สองอย่างคือข้อมูลที่ได้จากบันทึกในการสำรวจของคณะหรือบันทึกที่หลงเหลืออยู่ในวิหาร ในด้านนี้ไม่ค่อยมีเยอะเลยเอามาแค่ประโยคนี้ค่ะ.. อันที่จริงเราหาอีกประโยคไม่เจอ พอดีจดไม่ละเอียดต้องขอโทษด้วยค่ะ T^T ในเรื่องของประโยคที่เขียนผิดค่ะ ในด้านนี้มีอยู่น้อยมากค่ะนานๆทีจะเจอ - ' ...มีการสลักอักษรกรีกเป็นคำเล็กๆอยู่ตลอดของกระจก ' อันนี้ใช้ไม่เหมาะสมค่ะ อาจเป็น ' ...มีการสลักอักษรกรีกขนาดเล็กเป็นคำอยู่ตลอดกรอบของกระจก ' ก็ได้ค่ะ เพราะ ' คำเล็กๆ ' มันยังไม่เหมาะสมน่ะนะ - ' ไลคุสตอบ ใบหน้าแสดงอารมณ์ดี ' ลองเปลี่ยนเป็น ' ไลคัสตอบสีหน้าอารมณ์ดี ' ถ้าจะดีกว่านะคะ ( พิมพ์คำว่าไลคัวผิดด้วยนะคะ ) อื่นๆก็เช่นการใช้ไม้ยมก(ๆ) ซึ่งบางจุดจะมีการใช้ที่เยอะจนเหมือนเป็นภาษาพูดมากกว่าเป็นภาษาเขียนค่ะ เช่น ' เดินไปตามทางเดิมกว้างๆยาวๆ ' มันเหมือนเป็นความคิดหรือการคุยเล่นมากกว่านะคะ ส่วนเรื่องการพรรณนาเรื่องของบรรยากาศ-สิ่งแวดล้อมโดยรอบอยากให้มีมากกว่านี้ค่ะ( ตอนมายุคกรีกนะ ) อย่างตอนที่พิชญาไปวาดรูปนั้นก็ควรจะมีบทพรรณนาเรื่องบ้านเรือนและธรรมชาติ รวมถึงในฉากห้องน้ำก็ควรเพิ่มบทบรรยายให้คนเห็นภาพมากขึ้นค่ะ จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงได้มากกว่านี้ค่ะ( เรื่องนี้เน้นมากสำหรับการเขียนแนวย้อนยุค เพราะมันอยู่บนหลักความจริงที่ออกจะเหนือการจินตนาการไปเหมือนกัน ) และสุดท้ายคือด้านอารมณ์ของตัวละครในเรื่อง อย่างตอนที่พิชญาโทรหาพิชชามันควรจะมีอารมณ์ที่ซึ้งและแสดงถึงความคิดถึงมากกว่านี้ค่ะเพราะเท่าที่อ่านไปอ่านมายังขาดความสมเหตุสมผลอยู่นะ ทั้งหมดก็เท่านี้ล่ะค่ะที่จับได้( เสียแต่ลืมจดเหมือนเคย = =;; ) แต่พอมาดูตอนหลังๆแล้วปัญหาเหล่านี้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดทีเดียว นับเป็นเรื่องน่าชื่นชมค่ะ! ส่วนคำแนะนำก็คือการอ่านทบทวนนิยายที่เราพิมพ์ดูมันจะช่วยได้เยอะเลยล่ะค่ะ ภาพรวมในด้านนี้บอกตามตรงว่าน่าชื่นชมเพราะภาษาบรรยายนั้นสะดุดใจนักอ่านจริงๆ และยังมีเสน่ห์ในด้านการดึงนักอ่านให้เข้าถึงเนื้อเรื่องมากขึ้น ทำให้มีอารมณ์คล้อยตามได้อย่างลื่นไหลเรานับว่าเป็นความสามารถในการเขียนนิยายที่ดีจริงๆค่ะ :) ในเรื่องของตัวละครนี้ถือว่าจัดวางได้ดีนะ ให้นางเอกเป็นนักโบราณคดี พระเอกเป็นนายพลคนหนึ่งในยุคกรีก รวมถึงตัวละครอื่นๆที่มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสมอยู่ แต่อยากให้ลองเพิ่มนิสัยที่ชัดเจนของแต่ละคนมากกว่านี้ดูค่ะโดยที่ไม่ใช้การบรรยายลักษณะ แต่แนะให้ใช้เหตุการณ์เป็นตัวที่ทำให้นิสัยของตัวละครปรากฎขึ้นจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงได้โดยง่ายค่ะ เช่น ความคิดที่ไม่อยากให้ตีเมืองบนเขา ทำให้รู้ได้ว่าคนๆนี้มีนิสัยรักสงบ เป็นต้น และเรื่องสุดท้ายคือการใช้ภาษาที่แสนสำคัญ ซึ่งสำหรับนิยายเรื่องนี้ระดับภาษาใช้ได้อย่างเหมาะสมค่ะ เลยไม่ค่อยติดขัดมาก แต่จะมีบกพร่องก็ตรงคำผิดนี่ล่ะค่ะ ได้แก่ - เว้นวรรค : ดูไม่เกี่ยวกับการใช้ภาษา แต่เกรงว่าถ้าเอาไปอยู่ในบรรยายจะทำมึนเพราะมันยาวมาก ในเรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญในนิยายอยู่ค่ะ เพราะยังมีเว้นวรรคผิดๆถูกๆอยู่และบางจุดทำให้เกิดการแปลความหมายผิด อันนี้แนะนำให้ลองอ่านทวนนะคะ - ฟ้อนท์ : อยู่ในตอนล่าสุด(บทชมเมือง)ค่ะ จะเห็นว่าสัญลักษณ์พวกปรัศนีหรืออัศเจรีย์จะเป็นฟ้อนท์แคมเบรียต่างจากฟ้อนท์ตัวอีกษรที่เป็นคอร์เดีย แนะนำว่าให้ปรับให้เป็นแบบเดัียวกันนะคะ จะทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่า และอีกจุดที่ไม่ค่อยจะสำคัญแต่ก็ควรบอกเอาไว้คือฟ้อนท์ในทุกๆตอน( แค่เนื้อเรื่องนะจ้ะ ) ควรเป็นแบบเดียวกันด้วยเพื่อความเรียบร้อยน่ะค่ะ :) - ย่อหน้า : ในบางตอนย่อหน้ายังมีระยะห่างจากของต่างกัน อย่างในบทชมเมืองค่ะ จะเห็นว่าในย่อหน้าแรกนั้นไม่เท่ากับย่อหน้าอื่นๆในตอนนั้น แนะนำให้ปรับนะคะเพื่อความเรียบร้อย ( เคยเจอในบทความรักหวานแหววเรื่องหนึ่งโดนคนอ่านติอยู่น่ะจ้ะ เลยเอามาเขียนเตือนไว้ด้วย ) - คำผิดจากการพิมพ์ เช่น วิงวอน พิมพ์เป็น วิวิน , ออก พิมพ์เป็น อก , ซูส พิมพ์เป็น ซุส ( ได้รับการยืนยันตอนเรียนประวัติศาสตร์กรีก ) , ไลคัส พิมพ์เป็น ไลคุส , โชค พิมพ์เป็น โชด เป็นต้น ในด้านนี้มีให้เห็นอยู่ประปรายค่ะ อันนี้แนะนำให้อ่านทวนเช่นเดียวกันค่ะ - คำผิดจากความเข้าใจ เช่น เพิ่ง พิมพ์เป็น พึ่ง , สวดมนต์ พิมพ์เป็น สวดมนตร์ เป็นต้น ในจุดนี้หาได้น้อยค่ะหรืออาจจะเป็นแค่คำนี้คำเดียวก็ได้ และมีคำอื่นๆที่ไม่รู้ว่าคุณดอกคูนจะใช้คำไหนแน่ เช่น ฟิลิปหรือฟิลลิป เป็นต้น และเรื่องที่เสริมขึ้นมาอีกอย่างคือ เรื่องนี้ยังขาดความน่าติดตามอยู่ค่ะ เรื่องมันดำเนินไปอย่างเรียบๆจนเกินไป อย่างในบทนำที่มันเกิดขึ้นเรียบๆไม่ได้ทิ้งอะไรน่าติดตามเอาไว้ แนะนำนะคะว่าให้เพิ่มคำบรรยายที่ทิ้งปมเอาไว้ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกติดตามค่ะ เรื่องนี้เป้นเรื่องที่ขอบอกว่าสำคัญที่สุดกับนิยายของคุณ เพราะทุกอย่างมันดีอยู่แล้วขาดแค่ความน่าติดตามซึ่งก็คือปมที่มาดลใจให้ผู้อ่านเขาเกิดอารมณ์ค้างนี่แหละค่ะ :)   อ่านน้อยลง

    elda chan | 19 ม.ค. 56

    • 5

    • 0

    ความคิดเห็น