ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักศึกษา เภสัชฯ มช. ขอเล่าเรื่อง

    ลำดับตอนที่ #45 : [ แนะนำ ] อยากเรียนเภสัชฯ ต้องสอบอะไรบ้าง เตรียมตัวยังไง ?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 98.75K
      246
      21 เม.ย. 56






    [ แนะนำ ] 

    อยากเรียนเภสัชฯ จะต้องสอบอะไรบ้าง
    และ มีวิธีการเตรียมตัวยังไง ?



    อยากเรียนเภสัชฯ ? ควรเริ่มต้นยังไง ?
    เค้าว่ากันว่าวางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้น ยิ่งเรารู้ตัวเร็ว  เราก็จะยิ่งได้เปรียบคนอื่นๆ แต่การรู้ตัวแล้วอยู่เฉยๆก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น  ดังนั้นเรามาขยันกันตั้งแต่วันนี้เถอะ ^^ …  



    ตอนนี้เกณฑ์การสอบเข้าคณะเภสัชศาสตร์ในแอดมิชชั่นกลางเป็นดังนี้คือ
    GPAX  20 %  = 6000 คะแนน
    O-NET ( มีทั้งหมด 8 วิชา สอบตอน ม. 6 ครั้งเดียวในชีวิต ! ) 30 %  = 9000 คะแนน
    GAT  ( ข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป ) 10 % =  3000 คะแนน
    PAT2   ( ข้อสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ) 40% = 12000 คะแนน
    น้องบางคนอาจจะสงสัยว่าตัวย่อภาษาอังกฤษข้างบนแต่ละตัวมันคืออะไร  ตรงนี้จะตอบแบบเคลียร์ๆเลย : D






    1.  GPAX
     

    GPAX  คือ เกรดเฉลี่ย ม. ปลาย 6 ภาคเรียน   
    ซึ่งเกรดเฉลี่ยมันจะเต็มที่ 4.00 ใช่ป่าว  ถ้าเราได้เกรดเฉลี่ยทุกเทอมรวมกัน 4.00
    (อันนี้แค่สมมุติ 555 ) คะแนนในส่วนนี้ของเราก็จะเท่ากับ ( 4.00/4.00)x6000 ก็จะได้ 6000 คะแนน
    และถ้าสมมติว่าเราได้เกรดเฉลี่ย 6 ภาคเรียน 3.25 
    คะแนนในส่วนนี้ก็จะเท่ากับ ( 3.25/4.00)x6000 ก็จะได้เท่ากับ 4875 เต็ม 6000 คะแนน 
    ซึ่งคะแนนในส่วนนี้ก็ถือว่าเยอะเลยทีเดียว แต่ดูไม่ค่อยจะมีมาตรฐ่านซักเท่าไร  เพราะเกณฑ์ของแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกัน บางโรงเรียนกดเกรด บางโรงเรียนปล่อยเกรด หน้าที่ของเราคือทำให้เกรดเฉลี่ยของเราสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้  หมั่นขยันเรียนในห้อง ทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ ถ้าเริ่มมีความตั้งใจจริงเกรดสวยๆก็ไม่หายไปไหน  



    ทำยังไงให้เกรดออกมาสวยๆ ?

              แม้ต้นทุนทางสมองของแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่เราสร้างได้นั้นคือความขยัน  พี่แนะนำว่าก่อนเรียนถ้าเป็นไปได้ควรอ่านมาก่อนซักหนึ่งรอบ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ติ๊กไว้ เวลาเรียนจะได้เน้นตรงนั้น ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจอีกก็ถามคุณครู  หลังจากเรียนเสร็จไปแล้วก็หมั่นเอากลับมาทบทวน รับรองว่าไม่ลืมแน่นอน
    ส่วนวิชาที่เป็นคำนวณก็ต้องหมั่นทำโจทย์  ทำโจทย์หลายๆแนว หลายๆข้อ  เราจะจับทางได้ว่าโจทย์แบบนี้เราต้องแก้ปัญหาแบบไหน  ก่อนทำโจทย์ก็ต้องอ่านเนื้อหาให้เป๊ะก่อนนะจ๊ะ  พวกวิชาคำนวณนี้ถ้าอ่านแต่เนื้อหาแต่ไม่ทำโจทย์นี่ก็เหมือนกับการออกรบที่รู้ว่าต้องทำยังไงแต่ไม่เคยได้ซ้อมจริง เพราะฉะนั้นการฝึกทำโจทย์เป็นการฝึกซ้อมที่ดีนะ  







    2. O-NET

     
    O-NET ย่อมาจาก Ordinary National Educational Test
    ซึ่งมีชื่อภาษาไทยว่า
    แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน                                              
    ซึ่งมีทั้งหมด 8  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
    1. ภาษาไทย
    2. สังคมศึกษาฯ
    3. ภาษาอังกฤษ
    4. คณิตศาสตร์
    5. วิทยาศาสตร์
    6. สุขศึกษาและพลศึกษา
    7. ศิลปะ
    8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

    โดยแต่ละวิชาจะมีคะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน 
    แต่วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี  จะถูกนำมารวมกันแล้วหารด้วยสาม จะได้เป็น 100 คะแนน และนำไปบวกกับอีกห้าวิชาที่เหลือ ได้คะแนนรวมเป็น 600 คะแนน  โดย 600 คะแนนนี้จะถูกนำมาแปลงให้เป็นคะแนนเต็ม 9000 คะแนนอีกต่อไป

    เช่นสมมติว่าเด็กชายA ได้คะแนน O-NET รวม 442 เต็ม 600 คะแนน
    ก็จะแปลงคะแนนโดย เอา ( 442/600)x 9000
    เด็กชายA ก็จะได้คะแนนที่แปลงแล้วเป็น  6630 คะแนนจากคะแนนเต็ม 9000 คะแนน

    ทำยังไงให้คะแนนออกมาดี ?
    ข้อสอบโอเน็ตเป็นข้อสอบที่ไม่ยากเมื่อเทียบกับ GAT-PAT
    เป็นข้อสอบพื้นฐานที่ใช้วัดเด็กทั้งประเทศ มีข้อยากอยู่เล็กน้อย แต่ข้อสอบส่วนใหญ่จะค่อนไปทางปานกลางและง่าย
    ข้อสอบมีหลายวิชา  เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแบ่งเวลาอ่านดีๆ เรามาดูแต่ละวิชากันดีกว่า



    1. ภาษาไทย  ข้อสอบไม่ยาก เด็กส่วนใหญ่ทำได้คะแนนเยอะ  คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศของวิชานี้เยอะเมื่อเทียบกับวิชาอื่น  ถ้าอยากได้คะแนนดี  ก็ต้องอ่านเยอะๆและหมั่นทำโจทย์  พี่ก็เรียนพิเศษกับอาจารย์ปิงแล้วก็หมั่นทบทวนในหนังสือเรียน  แล้วก็ทำโจทย์เยอะๆ  ข้อไหนที่เราผิดก็เอาปากกาแดงวงไว้เลย เอามาดูบ่อยๆ หาข้อผิดพลาดว่าเราผิดตรงไหน จะได้ไม่ผิดอีก

    2. สังคมศึกษาฯ  วิชานี้เป็นวิชาความจำ  วิธีที่ดีคือต้องอ่านเยอะๆ หลายๆรอบ และหมั่นทำโจทย์บ่อยๆเช่นกัน โจทย์จะออกซ้ำๆแนวเดิมวนๆอยู่อย่างนั้น
     

    3. ภาษาอังกฤษ  ภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราต้องสั่งสมประสบการณ์จะมาอ่านเอา 2-3 ก่อนสอบก็คงไม่ดีนัก  เพราะฉะนั้นก็ต้องทำใจให้รักมันก่อน  เมื่อก่อนพี่เป็นคนที่เกลียดภาษาอังกฤษมากๆ  ตอนม.ต้นนี่ไม่รู้เรื่องเลย ตอนม.ปลายนี่ดีขึ้นมาหน่อย  วิธีการฝึกภาษาของพี่ก็คือ  พยายามหาไอดอลที่เป็นนักร้อง นักกีฬา หรืออะไรก็ตามที่เป็นฝรั่ง แล้วเราก็จะอยากติดตามเรื่องของเขาใช่มั้ยล่ะ ? เราอยากจะอ่านสเตตัสของเขารู้เรื่อง อยากรู้ว่าเข้าพูดอะไร มันจะเป็นการทำให้เราอยากพัฒนาภาษาอังกฤษไปในตัว  

    -วิธีที่จะทำให้เรารู้คำศัพท์เยอะๆก็คือหมั่นซื้อหนังสือ  หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารภาษาอังกฤษมาอ่านบ่อยๆ  คำไหนที่เราไม่รู้จักก็เปิดดิกชันนารีแล้วจดใส่สมุดจดศัพท์ของเราไว้ 
    เอามาท่องเวลารอเพื่อน หรือนั่งรถ ^^
    -เวลาเห็นสิ่งของรอบตัวพยายามนึกเป็นภาษาอังกฤษว่า เอออ… อันนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรยะ
    -ดูหนังภาษาอังกฤษ sub ภาษาอังกฤษ เป็นการฝึกภาษาอังกฤษอย่างดีเลย เค้าว่ามาอย่างนั้น  พี่ไม่ค่อยได้ทำเพราะโดยส่วนตัวไม่ชอบดูหนัง แหะๆ จะอาศัยฟังเพลงเสียมากกว่า

    -ฝึกทำข้อสอบ  พี่ทำ AX22 ของ Enconcept พี่ฉีกออกมาเป็น พ.ศ.เลย  เอามาจับเวลาจริง  เราจะได้ฝึกบริหารเวลาว่าเวลาสอบจริงๆเราจะทำทันมั้ย ?  เสร็จแล้วก็เอามาเฉลย ผิดตรงไหนเราก็ดูเป็นพิเศษว่าผิดยังไง  คำศัพท์ตรงไหนไม่รู้ก็หาความหมายแล้วก็จดใส่สมุดศัพท์ของเราไว้ซะ



    4. คณิตศาสตร์  

    วิชานี้ขอย้ำอีกครั้งว่าทำโจทย์เยอะๆ  ข้อสอบไม่ยากเมื่อเทียบกับ PAT1 ซึ่งยากมากๆ  O-NETคณิตศาสตร์นี้มีคนได้ 100 เต็มทุกปี : ) 
    พี่ว่าฝึกทำโจทย์ย้อนหลังซัก 5 พ.ศ. ก็น่าจะโอเคแล้วล่ะ  พยายามดูว่าโจทย์มาแนวนี้ต้องใช้สูตรอะไรเข้าแก้ ต้องแก้ปัญหายังไง  อันไหนที่เราผิดบ่อยๆก็จดทั้งโจทย์ทั้งวิธีทำใส่สมุดเราไว้เลย เอาไว้ดูเวลาว่างๆเหมือนกับ Eng ^^



    5. วิทยาศาสตร์

    ข้อสอบไม่ยากเท่า PAT2 เช่นกัน   ออกพื้นฐานๆ เพราะใช้วัดเด็กทั้งสายวิทย์และสายศิลป์
    อ่านซัก 2-3 รอบก็น่าจะok แล้ว  เสร็จแล้วก็เหมือนเดิม ทำโจทย์จ้ะ ทำโจทย์เท่านั้น : D
    หนังสือก็มีขายมากมาย เล่มไหนก็ได้  ตอนพี่อ่านพี่อ่านของ Hi-edเล่มสีน้ำเงินเพราะมีสรุปมาให้แล้วก็มีโจทยืแยกบทให้  พอทำหมดแล้วพี่จะมาทำ 5 พ.ศ. ของอีกสำนักพิมพ์นึง น่าจะ Hi-Ed หรืออะไรซักอย่าง จำไม่ค่อยได้ แหะๆ  ( สุดท้ายได้แค่อ่านกับทำโจทย์เล่มแรก และเล่มที่สองนิดนึง เพราะอ่านไม่ทัน เริ่มช้าไป T^T )



    6. สุขศึกษาและพลศึกษา
    7. ศิลปะ
    8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี


    สามวิชานี้พี่เอาโจทย์มาทำเลย  รู้สึกเฉลยจะละเอียดมากๆ ก็เลยได้ความรู้จากเฉลยเยอะมาก  อันที่จริงบางคนก็ไม่อ่าน  แต่พี่ก็ได้ยินกิตติศัพท์ว่าศิลปะกับการงานชอบออกอะไรแปลกๆ เลยอ่านไปซักหน่อยเผื่อไว้









    3.GAT
     
    GAT ก็คือข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป โดยย่อมาจาก General Aptitude Test
    ซึ่งมี 2 ส่วนคือ
    1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา ( ที่เราเรียกๆกันว่า GAT เชื่อมโยง ) 50 %
    2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ( GAT-ENG) 50 %

    โดยทั้ง GATส่วนเชื่อมโยงและ GAT-ENG นี้จะมีคะแนนเต็มส่วนละ 150 คะแนน รวมเป็น 300 คะแนน เวลาสอบวิชาละ 1.5 ชั่วโมง รวมทั้งสองวิชา 3 ชั่วโมง
    ข้อสอบ GAT นี้จะมีให้สอบเฉพาะตอน ม.6 และสอบได้สองครั้ง คือ เดือน ต.ค.  และ มี.ค.  โดยคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี   ทีนี้เรามาดูแต่ละส่วนกันดีกว่า



    GAT เชื่อมโยง

    ในข้อสอบมีอะไรบ้าง ?
    เค้าก็จะให้บทความเรามาสองบทความ บทความนึงไม่ยาวมาก ประมาณหนึ่งหน้าครึ่ง แล้วก็จะมีจำนวนข้อบทความละ 10 ข้อโดยแต่ละข้อจะเป็นคำที่มีในบทความ เช่นบทความแรกเป็นบทความชื่อเรื่องว่า “นักเรียนที่ดี ” จะมีจำนวนข้อ 10 ข้อเช่น
    1. นักเรียนที่ดี
    2. ตั้งใจเรียน
    3.เสเพล
    4.ประสบความสำเร็จ
    .
    .
    .
    10

    ซึ่งเราต้องอ่านบทความให้เข้าใจ แล้วก็นำแต่ละข้อแต่ละคำว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?  ซึ่งแต่ละข้ออาจจะจะมีคำตอบไม่เท่ากัน  บางข้ออาจมี 1 คำตอบ 2 คำตอบ 3คำตอบ  หรืออาจจะ 4 คำตอบเลยก็ได้
    ฟังดูอาจจะดูยาก  แต่จริงๆแล้วไม่ยาก แค่ซับซ้อน
    ^^




    GAT-ENG

    ส่วนที่สอง GAT-ENG ก็เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษนี่แหละ ^^ 
    ไม่ยากมาก และก็ไม่ง่าย  พี่จำนวนข้อประมาณ 60 ข้อ
    ในข้อสอบมีอะไรบ้าง ?
    มีตั้งแต่ Sentence Completion, Error Identification, Cloze Passage, Reading Comprehension, Poems&Comic, Comversation

    ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยเข้าใจง่ายๆว่า
    - เป็นประโยคสนทนา    เอาคำที่เหมาะสมไปเติมในช่องว่างให้ประโยคนั้นสมบูรณ์
    - เป็นบทความยาวๆ มีบางช่วงเว้นช่องว่างไว้ เอาศัพท์หรือประโยคที่ถูกที่สุดไปเติม  
    -อ่านบทความแล้วถามคำศัพท์ถามว่าข้อใดถูก หรือ ข้อใดผิด ?  น้ำเสียงของผู้แต่งเป็นอย่างไร  คำศัพท์นี้มีแปลความหมายเหมือนคำศัพท์ใดในชอยส์
    -ให้กลอนหรือการ์ตูนมา หรืออาจให้รูปมาแล้วถามคำถาม 1-2 ข้อ
    -ให้ประโยคมาแล้วให้เลือกว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้ข้อใดใช้Grammarผิด ( Error )
    -ให้ประโยคภาษาอังกฤษมา 6 ประโยค   โดยสามารถนำมาเรียงเป็นเรื่องได้ แต่มีอยู่ 1 ประโยคที่ไม่เกี่ยวเราต้องตัดออก และเอา 5 ประโยคที่เหลือมาเรียงให้เป็นบทความที่สมบูรณ์

    วิธีการฝึกฝนก็เหมือนกับ O-NET วิชาภาษาอังกฤษด้านบนเลยจ้า






    4.  PAT2

     
    PAT2   ( ข้อสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ )
    ข้อสอบจะค่อนข้างยากนิดนึง ในส่วนนี้ก็จะมีฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ และ ทักษะทางวิทยาศาสตร์  คะแนนของข้อสอบในชุดนี้ =300 คะแนน  ข้อสอบชอบออกประยุกต์และให้โจทย์มายาวๆ ( ในบางข้อ ) จนขี้เกียจอ่านไปเลยล่ะ

    เมื่อข้อสอบค่อนข้างจะยาก เราก็ต้องเตรียมตัวมาดีๆ  
    การเรียนพิเศษก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งเพราะเราจะได้เรียนเน้นๆ และรู้จุด 
    ไม่ต้องสังเคราะห์เอง เพราะมีคนป้อนอยู่แล้ว
    แต่ถ้าไม่ได้ไปเรียนก็ไม่เป็นไร ปัจจุบันมีหนังสือดีๆมากมายวางขายให้เราได้เลือกอ่าน 
    ทั้งบางเล่มยังมีสอนฟรีในอินเทอร์เน็ตให้เราดูอีกด้วย   ต่อไปจะขอพูดเป็นวิชาๆนะจ๊ะ


    -ฟิสิกส์   อันนี้พี่ไม่ถนัดเอามากๆมาแต่ไหนแต่ไรและเกลียดเข้าไส้ด้วย  เหมือนเพื่อนที่เก่งฟิสิกส์บอกว่า  ให้แม่นเนื้อหาและหมั่นทำโจทย์เยอะๆ

    -เคมี  วิชานี้พี่ชอบที่สุดแล้ว  เพราะมีทั้งบรรยายและคำนวณกลมกลืนกันดี    วิธีการเรียนให้ดีก็คือพยายามเข้าใจเนื้อหาและจำสูตรให้ได้   พี่จะจดสูตรใส่กระดาษแข็งเล็กๆเอาไว้ท่อง  พยายามอ่านทีละบท จบบทหนึ่งก็ทำข้อสอบรวมของบทนั้น  ทำไปทีละบทๆจนหมด และเมื่อครบแล้วก็มาทำข้อสอบเก่าที่เป็น พ.ศ.  : D

    - ชีววิทยา  วิชานี้มีเนื้อหาล้วนๆและเหมือนต้องใช้แต่ความจำ  แต่ถ้าเราใช้ความเข้าใจจะประหยัดพื้นที่ในสมองเป็นอย่างมาก  พี่ก็พยายามจำเป็นภาพ   เวลาอ่านๆไปก็ทำสรุปไว้ เวลามาอ่านคราวหลังจะได้ไม่ต้องอ่านเยอะ  หนังสือที่แนะนำก็คือของพี่เต๊นที่เป็นรูปเต่าทองที่หน้าปก เล่มเดียวมีครบ : )






    ปอลอ ฝากเพจด้วยน้าาา
    สำหรับน้องที่สนใจคณะเภสัชฯ มช. และ ที่อื่นๆ
    อัพเดทข่าวสารและคลายปัญหาข้อสงสัย
     


    ( click ที่รูปเลยจ้าา )









     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×