งานจารย์ตั้ม จะลบไม่กี่วันนี้ - งานจารย์ตั้ม จะลบไม่กี่วันนี้ นิยาย งานจารย์ตั้ม จะลบไม่กี่วันนี้ : Dek-D.com - Writer

    งานจารย์ตั้ม จะลบไม่กี่วันนี้

    โดย Fernly 137

    ผู้เข้าชมรวม

    53

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    53

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ส.ค. 57 / 09:54 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    คอมโรงเรียนกูดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก สาสสสสสสสสส
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      วัดหน้าพระเมรุ

      วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเคยเป็นวัดที่พม่าใช้ตั้งฐานบัญชาการจึงเป็นวัดเดียว ในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มักเดินทางไปนมัสการ หลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา

      ประวัติ
      ตำนานกล่าวถึงวัดนี้ว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ รัชกาลที่ ๑๐
      แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อจุลศักราช ๘๖๔ (พ.ศ. ๒๐๔๖) ประทานนามว่า
      วัดพระเมรุราชิการรามแต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกว่า วัดพระเมรุจึงเป็นนาม
      ของวัดที่ใช้มาจนทุกวันนี้

      ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์คราวทำสัญญาสงบศึกระหว่าง
      สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีการปลูกพลับพลาเป็นที่ประทับ
      ซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดพระเมรุกับวัดหัสดาวาส (ปัจจุบันวัดหัสดาวาสเหลือเพียงซากเจดีย์)

      อีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ
      พ.ศ ๒๓๐๓ พม่า เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาส พระเจ้าอะลองพญา
      ทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามแตกต้องพระองค์
      บาดเจ็บสาหัส ประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๐๓ พม่าเลิกทัพกลับไป
      ทางเหนือหวังออกทางด่านแม่ละเมาะ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้น
      พระชนม์ระหว่างทาง

      พระอุโบสถ ยาวประมาณ ๕๐ เมตร กว้างประมาณ ๑๖ เมตร มีมุขทั้งด้านหน้า และด้านหลัง หน้าพระอุโบสถสู่ทิศใต้ หลังพระอุโบสถสู่ทิศเหนือ พระอุโบสถมี
      ส่วนยาวและกว้างมาก มีอากาศ ถ่ายเท ไม่อับ ไม่มีหน้าต่างอย่างพระอุโบสถสันนิษฐานว่าผู้สร้างคงจะสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

      หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยีบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาคล้อมรอบด้วยหมู่เทพนม (เทพชุมนุม) จำนวน ๒๖ องค์มีบังฐานและกระจัง ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี เช่นเดียวกับด้านหน้า ภายในพระอโบสถเดิมมีถาพเขียนด้วยสีโบราณเป็นรูปภิกษุณีสงฆ์ การบูรณะในขั้นต่อๆมา ถูกฉาบทาด้วยปูนเลียบขาวปรากฏดังเช่นปัจจุบันนี้
      การบูรณะส่วนอื่นๆ ของตัวพระอุโบสถได้รักษาส่วนและรูปทรงของเดิมไว้ทุกส่วน คงมีแต่ลายที่เสาและลายเขียนที่ฝาผนัง ซึ่งถูกลบเลือนสันนิษฐานว่าการบูรณะ ครั้งหลังนี้คงจะหาช่างที่มีฝีมือทัดเทียมของเดิมได้ยาก ประกอบกับจะต้องใช้ งบประมาณและเวลามากด้วย พระวิหารหลังเดิม ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ(เหนือพระอุโบสถ) เรียกชื่อกันต่อๆมาแต่โบราณว่า วิหารขาวพระประธานในวิหารขาวเป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยปูนชำรุดทั้งองค์เศียรหัก ฝาผนังวิหารชำรุดหักพังเหลือแต่ซาก เมื่อสมัยพระครูครุพุทธวิหารโศภน (เลี้ยง) เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำการบูรณะโดยวิธีเก็บอิฐที่หักพังมาก่อหุ้มพระประธานที่ชำรุด ไว้ภายในเป็นพระพุทธรูปปางพุทธลีลาไว้ด้านหน้าตรงพระอุระ นำพระพุทธรูปศิลาปางมารวิชัยที่ชำรุดมาบูรณะขึ้นใหม่ ประดิษฐานไว้ด้านหลังตรงพระปฤศฏางค์ของพระประธานองค์เดิมที่ก่อหุ้มไว้ และสร้างห้องสำหรับบำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการก่ออิฐถือปูนขึ้นใหม่จำนวน ๓ ห้อง หลังพระประธาน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘
      ทางวัดได้บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระเมรุ ณ วิหารนี้ พระวิหารหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยที่สร้างวัด ชำรุดหักพังเพราะ ธรรมชาติ มิได้มีการบูรณะ ปัจจุบันทางวัด ได้สร้างสถานที่ต่อเติมออกมาทางด้านทิศตะวันออก ใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกัมมัฏฐานของพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่มีศรัทธาจากทุกสารทิศ

      พระวิหารสรรเพชญ์ (ประชาชนเรียกชื่อว่าพระวิหารคันธารราฐ)เป็นที่ประทับของพระพุทธรูปพระนามว่า คันธารราฐและเรียกชื่อว่า วิหารเขียนเพราะมีลายเขียนในพระวิหารและมีชื่อเรียกกันอีกว่า วิหารน้อยเพราะมีขนาดน้อยด้วยยาวประมาณ ๑๖ เมตร กว้างประมาณ ๖ เมตร มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
      ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ ๒ เมตรเศษพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษากรุงในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สร้างในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ผู้สร้างได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลา (ศิลาเขียว)ประทับนั่งห้อยพระบาท พระนามว่า พระคันธารราฐ” ย้ายมาจากวัดมหาธาตุในเกาะเมือง ข้างวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดร้างในยุคนั้นมาประดิษฐานในวิหารน้อยที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ผู้สร้างได้จารึกไว้ในศิลาติดตั้งไว้ที่ฝาผนังเมื่อ พ.ศ. ที่สร้าง พระอุบาลีซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม นำมาจากประเทศลังกา ในคราวที่ท่านเป็นสมณฑูต พร้อมด้วย พระสงฆ์สยามวงศ์ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศลังกา
      นักโบราณคดีมีความเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สร้างระหว่างพ.ศ. ๑๐๐๐ ๑๒๐๐ และสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำมาไว้ที่วัดมหาธาตุในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมอยู่ที่วัดพระเมรุราชิการาม จังหวัดนครปฐม เนื่องจากทางราชการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด สันนิษฐานว่าเป็นเรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้

      มณฑปนาคปรก
      ตั้งอยู่หน้าพระวิหารน้อย ห่างจากพระวิหารประมาณ ๒๕ เมตร พระยาไชยวิชิต(เผือก)สร้างในปีที่สร้างพระวิหารน้อย (ปี พ.ศ. ๒๓๘๑) อัญเชิญพระพุทธรูปศิลานาคปรกซึ่งย้ายมาจากวัดมหาธาตุกับพระคันธารราฐประดิษฐานในมณฑปนาคปรก เมื่อปี 2474วัดหน้าพระเมรุว่างจากเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์อยู่เฝ้ารักษาวัดเพียงรูปเดียวทางราชการกรมศิลปากรจึงนำพระพุทธรูปศิลานาคปรกในมณฑปนี้ไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติกรุงเทพพร้อมกับได้นำพระพุทธรูปอุ้มบาตรที่ประดิษฐานณ บุษบกบัญชรหน้าพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลานาคปรกหน้าพระวิหารสรรเพชญ์ จำนวน 2 องค์ พระพุทธรูปศิลายืนที่หลังพระวิหารน้อย 1 องค์ รอยพระพุทธบาทหล่อด้วยโลหะที่มณฑปพระบาท ตั้งอยู่หน้าพระวิหารน้อย ทางวัดก่อฐานตั้งศิวลึงค์ไว้แทนมณฑปไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

             
        http://watboran.files.wordpress.com/2007/02/042.jpg?w=510
          http://watboran.files.wordpress.com/2007/02/041.jpg?w=510
       

       

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×