คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย
กำเนิดเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูป พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย
ลักษณะทางที่ตั้งภูมิศาสตร์
• ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย
• ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
คือ ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน ได้แก่
- ชาวสุเมเรียน (Sumerian)
- ชาวอมอไรต์ (Amorites)
- ชาวแอสซีเรียน (Assyrian)
- ชาวคาลเดียน (Chaldeans)
แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้ เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกเอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้
กลุ่มคนที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
ชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำ ไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ได้พัฒนาขึ้นเป็น เมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว
ส่วนใหญ่ใช้ของมีคมกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายาก จึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด เครื่องมือที่ใช้คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า “คูนิฟอร์ม” หรือตัวอักษรรูปลิ่ม การประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นประโยชน์ต่อศาสนกิจและการบันทึกของพวกพระ เช่น บัญชีรับจ่าย บทบัญญัติทางศาสนา
สถาปัตยกรรม
“ซิกกูแรท” เป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
มหากาพย์กิลกาเมช
มหากาพย์กิลกาเมช เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12
หลังจากพวกสุเมเรียนเสื่อมอำนาจลง พวกอามอไรต์ได้รวบรวมอาณาจักรทั้งหลายเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน เรียกว่าอาณาจักรบาบิโลเนีย มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่กรุงบาบิโลน เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองแบบรวมศูนย์ มีการเก็บภาษีอากรและเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าอย่างใกล้ชิด
พระเจ้าฮัมมูราบีเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปกครอง พระองค์ได้จัดระบบกฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้ปกครองประเทศ
ได้ทรงประกาศให้ชาวเมืองยึดถือมหาเทพมาร์ดุค เป็นมหาเทพประจำเมือง ผู้ทรงมองอำนาจสิทธิในการปกครองประเทศให้กับพระองค์ เพราะฉะนั้น พระมหากษัตริย์จึงมี ลักษณะเป็นแบบสมมติเทวราช
ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี
เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมาย ต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบีราชาแห่งบาบิโลเนีย เป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์
กฎหมายดังกล่าวยึดหลัก "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น แต่ จะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด
สถาปัตยกรรม
ในยุคบาบิโลนนิยมสร้าง ซุ้มประตูขนาดใหญ่ และที่มีชื่อเสียง ก็คือ ประตูอีสตาร์ (Ishtar) ซึ่งในการก่อสร้างจะนำเอาเครื่อง เคลือบดินเผามาตกแต่งทั้งหมด
ประติมากรรม
งานประติมากรรมที่สำคัญคือ ศิลาจารึกของพระเจ้าฮัมมูราบีโดยแกะบนแผ่นหินสีดำรูปสี่เหลี่ยม มีอักษรลิ่มจารึกเป็นประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี ตอนบนของแผ่นหินเป็นภาพพระเจ้าฮัมมูราบีกำลังยืนยกมือแสดงคารวะต่อเทพเจ้าชามาส เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังประทานกฎหมายให้แก่พระเจ้าฮัมมูราบี
ต่อมาหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าฮัมมูราบีแล้วอาณาจักรบาบิโลนถูกทำลายลง โดยพวกแคสไซต์ ความเจริญทั้งหลายจึงย้ายมารุ่งเรืองในอาณาจักรอัสซีเรีย อย่างไรก็ตามอาณาจักรบาบิโลนก็เป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมของโลกในยุคนั้น
ชาวแอสสิเรียน
ชาวแอสสิเรียน เป็นนักรบที่กล้าหาญ มีวินัย ใช้อาวุธทำด้วยเหล็กซึ่งมีประสิทธิภาพ ได้เข้ายึดกรุงบาบิโลน และได้สถาปนาจักรวรรดิอัสซีเรีย ขึ้นมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมือง นิเนเวห์ และมีอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมด
สวนลอยแห่งบาบิโลน
ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้น โดยคำ บัญชาของกษัตริย์เนบูคัสเนซซาร์ เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย
สถาปัตยกรรม
นิยมก่อสร้างด้วยอิฐ อาคารส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะทึบตัน แต่จะมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าชาวซูเมอร์ และบาบิโลเนีย มีการสร้างประตูรูปโค้งขนาดใหญ่หน้าทางเข้าพระราชวัง นำกระเบื้องเคลือบสีมาใช้ในการตกแต่ง ตามทางเข้านิยมแกะสลักเป็นรูปวัวหน้าเป็นคนมีหนวดเครา ข้างลำตัวมีปีก ยืนเป็นยามรักษาการอยู่ทั้งสองข้าง
ประติมากรรม
งานประติมากรรมของแอสสิเรียส่วนใหญ่ จะเป็นงานแกะสลักแบบนูนสูงและนูนต่ำ เรื่องราวที่แสดงออกมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับสงครามการต่อสู้และการล่าสัตว์ ซึ่งงานเหล่านี้บ่งบอกถึงนิสัยที่ดุร้ายของชาวแอสสิเรีย รูปแบบการแกะสลัก จะเป็นรูปคนปนสัตว์
ชาวคาลเดีย
พวกคาลเดียน เป็นชนเผ่าเซไมต์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของแม่น้ำไทกรีส- ยูเฟรทีสได้เข้ายึดครองกรุงนิเนเวห์ และได้สถาปนาอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ขึ้นมา อาณาจักรใหม่นี้มีความเจริญมาก ในสมัยพระเจ้า พวกแอสสิเรียน มีความเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็นตัวแทนของเทวราช และมีศักดิ์ศรีสูงกว่ากษัตริย์พวกสุเมเรียน ดังนั้นพวกแอสสิเรียนนิยมสร้างวัง ให้มีขนาดใหญ่โตมโหฬารกว่าศาสนสถาน
วัฒนธรรมของแอสสิเรียนเจริญถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้า แอสซูรบาปาล มีการรวบรวมงานเขียนที่เป็นแผนจารึกต่างๆไว้ในห้องสมุดที่เมืองนิเนเวห์ ซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ในเวลานั้น
แท่งด้วยกัน ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย
ชาวอามอไรต์
ความคิดเห็น