ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มั่วๆ

    ลำดับตอนที่ #1 : 1

    • อัปเดตล่าสุด 4 มิ.ย. 54


    วิธีการเดาข้อสอบeng.

    เทคนิคในการเดาข้อสอบที่นิยมใช้เป็นหลักในเป็นการช่อยตัดสินใจมีดังต่อไปนี้
    1.จงระลึกอยู่เสมอว่า คำตอบแรกที่นึกขึ้นได้ มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องก่อนเสมอข้อนี้มักเป็นพื้นฐานในการเดาข้อสอบอยู่เสมอ
    2.สังเกตเปรียบเทียบจากคำตอบและคำถามจากข้ออื่นๆเข้าประกอบตัดสินใจ บางครั้งมีคำตอบในข้อที่ต้องเดา อาจจะซ่อนอยู่ข้ออื่นๆก็ได้
    3.คำตอบที่ไม่มีในข้อนี้ อาจจะมีในข้ออื่นๆ แม้บางครั้งคำตอบในข้ออื่นนั้นอาจจะไม่ใช่ข้อที่ถูกต้องที่สุดในข้อนั้น แต่ก็ต้องเปรียบเทียบดูก่อนที่จะตอบลงไป
    4.การสลับข้อสอบแบบเรียง เช่น เมื่อข้ออื่นๆ มีคำตอบข้อ ก.ข.ค.ง.แล้วเริ่มต่อด้วย ข้อ ก.ข.ค. ใหม่ คำตอบต่อไปก็น่าจะเป็นไปได้ว่า เป็นข้อ ง. ข้อนี้ไม่ควรจะจริงจังจนเกินไป แต่ในความเป็นจริงก็มีบางวิชาที่อาจารย์บางท่านที่ชอบออกข้อสอบแล้วมีคำตอบต่างๆ ที่ทดสอบทักษะการสังเกตของนักเรียน หรือบางท่านที่ต้องการความสวยงามและง่ายในการตรวจ โดยเฉพาะข้อสอบแบบปรนัย (โดยปกติอาจารย์จะเจาะกระดาษคำตอบเป็นช่องๆ แล้วเอาทาบตรงกระดาษของนักเรียนแล้วตรวจตามนั้น แต่บางครั้งก็ตรวจโดยการใช้คอมพิวเตอร์)เพราะฉะนั้นนอกขากการเดาข้อสอบแล้ว ก็ต้องเดา(ทาย) ใจอาจารย์เจ้าของวิชาด้วย
    5.การตอบแบบบรรยาย แบบน้ำท่วมทุ่ง (กรณีข้อสอบเป็นอัตนัย) ก็ช่อยแก้สถานการณ์ที่วิกฤตได้ หากไม่ตอบอาจจะได้ศูนย์คะแนน แต่บางครั้งอาจารย์จะให้คะแนนสงสารหรือค่าน้ำหมึก แม้ได้คะแนนน้อยแต่ก็มีผลไปเพิ่มคะแนนรวมในข้ออื่นๆได้
    6.ให้นึกถึงการบรรยายที่ผ่านมาว่ามีอะไรลางๆ ที่พอจะเป็นเค้าในการเดาข้อสอบ มีข้อไหนที่ทำให้สะกิดใจเมื่อเห็นว่าควรจะเห็นไปได้ให้รีบเขียนลงในกระดาษคำถามทันที ก่อนที่คำตอบนั้นจะเลือนหายไปเสียก่อน
    7.เมื่อเริ่มทำข้อสอบให้ทำตำหนิไว้ก่อน (ในข้อจำเป็นต้องอาศัยการเดา) เมื่อทำเสร็จหมดแล้วให้กลับมาทบทวนอีกครั้ง เพราะบางครั้งข้อสอบที่ทำไปอาจมีคำตอบในข้อนี้ อย่ารีบร้อนส่ง ควรอ่านให้ดีจนเวลาใกล้หมดจึงส่งกระดาษคำตอบนั้น
    8.สรุปข้อสอบ ในทุกข้อที่มีแล้วหาคำตอบว่าเกี่ยวโยงหรือมีความคล้ายคลึงพอที่จะเป็นคำตอบได้หรือไม่ หรือนั่งรอในห้องสอบจนวินาทีสุดท้าย ไม่ควรเร่งรีบออกจากห้องสอบแม้รู้ตัวว่าทำไม่ได้ก็ตาม ก็ควรนึกตรึกตรองข้อสอบที่ใกล้เคียงที่สุด แล้วค่อยกาข้อสอบลงไปในวินาทีสุดท้ายของชั่วโมงสอบ ดีกว่าเอาปากกาหมุน ๆ จ่มพึมพำ ๆ แล้วกะจิ้มๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×