คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : หมดแล้วววว
http://www.english2days.com/ นู๋ได้เก่งภาษาอังกฤษมากมายจากที่นี่ แล้วจาตามไปอ่านอีกค่า
แนะนำเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อคนไทยได้เก่งอังกฤษเยอะๆๆ
(ภาค 8 : การทำข้อสอบ)
8. การทำข้อสอบ
ขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ในประเพณีวัฒนธรรมของจีนทุกท่านครับ เห็นได้ว่าเวลาที่ผ่านมาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วมาก ดังที่ภาษาอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “Time Flashes by” ซึ่งเราได้ผ่านวันขึ้นปีใหม่มาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง อีกทั้งเห็นได้ในปีนี้ คือปี พ.ศ.2552 หรือ ค.ศ.2009 ขณะเดียวกันในปีนี้ได้มีคำกล่าวของผู้รู้หลายท่านว่าปีนี้จะเป็นปีที่หนักที่สุด โดยจะมีปัญหาเข้ามารุมเร้าในทั้งระดับย่อย จนถึงระดับประเทศ ลุกลามไปถึงระดับโลก โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเราทุกคนก็ไม่ควรที่จะกังวลอยู่กับปัญหาที่จะเกิด หากแต่ควรจะพัฒนาแนวความคิดที่จะต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น อย่าท้อแท้ หาหนทางเพิ่มกำลังใจและความฮึดให้กับตัวเองให้ได้ ช่วงเวลานี้
สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษา เป็นช่วงที่กำลังเข้าใกล้ระยะเวลาแห่งการสอบ หากท่านใดเริ่มหรือเตรียมตัว ในการสอบก่อนเนิ่นๆ ย่อมจะมีความพร้อม ความมั่นใจ ในการเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการแข่งขัน ซึ่งต่างกับผู้ที่ไม่ได้เตรียมตัวมา สำหรับการสอบแล้ว ต้องเกี่ยวข้องกับเวลาที่จำกัด ดังนั้นย่อมต้องอาศัยเทคนิคการทำข้อสอบ ดังนั้นผมขอแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการทำข้อสอบภาษาอังกฤษ โดยเริ่มต้นจากเทคนิคการทำข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading) นะครับ
ข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วยเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้สอบต้องทำความเข้าใจ แล้วตอบคำถาม ซึ่งผู้สอบย่อมต้องมีทักษะหลายๆ ประการ ดังนั้น
1. รู้ศัพท์ (Vocabulary) ให้มากที่สุด
การสอบ Reading แต่ละครั้ง เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเรื่องที่จะออกมาในเรื่องใด หากเป็นเรื่องที่เรามีความคุ้นเคย ก็ถือว่าเป็นโชคดีเพราะเราอาจจะเข้าใจเนื้อเรื่องมาก่อนแล้ว การเดาศัพท์ก็ทำได้ไม่ยาก ในทางกลับกันหากเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ย่อมจะเพิ่มความลำบากให้เรามากขึ้น ดังนั้นการรู้ศัพท์เป็นจำนวนมาก หรือเข้าใจหลักการในการเดาศัพท์จากคำใกล้เคียงส่งผลให้เรามีโอกาสในการเข้าใจเรื่องนั้นๆ
2. เข้าใจในโครงสร้างหลักภาษาอังกฤษ (English Structure หรือ Grammar)
ตามหลักการเขียนภาษาอังกฤษนั้น จะเริ่มจากการนำคำศัพท์มาเรียงกันให้เกิดประโยค เมื่อประโยค
หลายๆ ประโยคมารวมกันก็จะกลายเป็นย่อหน้า และเมื่อแต่ละย่อหน้ามาประกอบกันจะได้เนื้อเรื่อง
ดังนั้นการรวมกันของศัพท์เพื่อให้ได้ประโยคย่อมต้องอาศัยหลักการโครงสร้างภาษาอังกฤษที่จะต้อง
ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก 3 ส่วนคือ
ส่วนประธาน (Subject) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักของประโยค ส่วนที่สองคือส่วนการกระทำ หรือกริยา (Verb)ซึ่งจะกำหนดการกระทำที่เกิดขึ้นของประธาน และส่วนสุดท้ายซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ คือส่วนกรรม (Object) คือส่วนรองรับการกระทำจากกริยา ด้วยเหตุนี้ผู้อ่านต้องแยกแยะแต่ละส่วนหลักของประโยคให้ได้เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึง ใครทำอะไร ส่วนคำประกอบที่เหลือก็จะเป็นส่วนขยายให้ประโยคมีความชัดเจนมากขึ้น
ดังนั้นการรู้ประเภทของคำในศัพท์ เช่น คำนาม (Noun) คำกริยา (Verb) คำสรรพนาม (Pronoun) หรือ คำอื่นๆ จะทำให้เราได้ทราบถึงตำแหน่งและหน้าที่การวางคำในประโยคตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
1.ใน 4 choice ถ้ามีข้อที่มี คำ ปฏิเสธ อยู่ 1ข้อ ข้อนั้นมักผิด (ตัดออกไปก่อน)
เช่น hardly,not,dis,un,etc.
2.ข้อความที่สั้นน่าเกลียดมากๆ มักผิด เช่น
1. ~~~~~~~~~~~~~~~~~
2.~~~~~~~~~~~~~~~
3.~~~~~~~~~~~~~~~~~~
4.~~~~~~
ข้อ 4 แนวโน้มผิดสูง ระวังไว้ก่อน
3.ข้อที่มีคำที่ ความหมายค่อนข้างบีบ มักผิด
เช่น
only,absolutely,completely,every,very,much,all,whole,entire,now,at
once,first,etc.
4.ข้อที่มีข้อความซ้ำกับเนื้อเรื่องหรือโจทย์มากๆมักผิด(ในDialogs
มักเป็นคำที่ใช้พูดมาแล้วก่อนหน้านี้)
เนื้อเรื่อง: ~~~~~~~~XXXXXXX~~~~~~~
กรณีไม่แน่ใจ choice 1 กับ 3
1.~~~~XX~~~~~~~~
3..~~~~XXXXXX~~~~
ตอบข้อ 1 ดีกว่า เพราะปกติคนเราไม่ชอบใช้คำซ้ำ
กรณีคนคุยกัน Dialogs Test
A: XXXX
B: YYYYY
A: ____(1.)___
ข้อความที่ A ควรตอบ สมมติแปลไม่รู้เรื่อง แต่สังเกตดู ข้อ1
มีข้อความซ้ำที่เคยพูดมาแล้ว
1.XXXX
2. ZZZZ
ควรตอบข้อ 2 เพราะ XXXX พูดไปแล้วไม่น่าพูดซ้ำอีก
5.ข้อความที่ตามหลังpreposition หรือ conjunction ใดๆ
ที่ไม่ใช่ and,but,or,not only
but (also)
มักเป็นข้อผิด เช่น เจอ choices
1.XXXXXXX
2.YYYYYY
แล้วในเนื้อเรื่องมีข้อความ ~~~~~~~but XXXXXX ~~~~~~~~because YYYYY~~~~~~~~
ควรตอบข้อ 1 เพราะเป็นข้อความที่อยู่หลัง conj. but
6.choice พวกนี้มักผิด คนออกจะหลอกให้เรางง
+ and
and +
+ but
but +
(ข้างหน้าดี แต่ ข้างหลังแย่ หรือ หน้าแย่ แต่หลังดี)
7.ใน 4 choice ถ้ามีขั้นกว่าหรือขั้นสูงสุดอยู่ข้อเดียว ข้อนั้นมักผิด
8.active voice มักถูกมากกว่า passive voice
เช่น 1.she called him. 2.she was scolded.
ควรตอบข้อ 1
9.ยาวกว่ามักถูก (กรณีเหลือ 2 choice ที่ไม่แน่ใจ)
1.~~~~~~~~~~~~~
2.~~~~~~~~~~~~~~
ควรตอบ 2
10.น้ำหนักข้อถูก ในข้อสอบ แบบ ตอนเดียว (ใช้กับGAT ได้แต่ Onet ไม่ได้เพราะมี
2ตอน)
เรียงดังนี้ 3>2>4>1
ใช้ในกรณีไม่สามารถตัดchoiceโดยใช้หลักที่กล่าวมาข้างต้นได้
ประมาณว่า ไม่มีอะไรจะเสีย อย่างน้อยก็ขอเดาแบบมีหลักการสักนิดเถอะ
PS.ควรใช้การตัดchoiceตามลำดับตั้งแต่ข้อแรกลงมา ไม่ควรใช้หลักข้อสุดท้ายก่อนเลย
^-^
หลักพวกนี้เป็นเพียงเครื่องมือช่วยให้การเดามีโอกาสถูกมากขึ้นเท่านั้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั่นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สอบเองในการทำคะแนนให้ได้ดีครับ
เทคนิคเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นนะครับ เอาไว้ใช้กรณีที่ ไม่รุจะตอบอย่างไร อย่างน้อยๆ เดาอย่างมีหลักการ ก็ยังดีกว่าเดาสั่วๆไปนะค่ะ
การที่เราจะทำแบบฝึกหัดหรือข้อสอบภาษาอังกฤษให้ได้คะแนนดีๆ นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ของเราเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับกลยุทธ์หรือการวางแผนการทำข้อสอบของเราด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถฝึกฝนกันได้ และเราก็ได้นำกลยุทธ์ในการทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดมาให้นำไปทดลองใช้กันด้วย ดังนี้
1.
2. แน่นอนว่าในการทำข้อสอบแต่ละครั้งนั้น มันต้องมีบางข้อที่เราตอบไม่ได้ (ยกเว้นเราจะเก่งเกินไปหรือข้อสอบมันง่ายเกินไป) ขอให้จำไว้ว่า อย่าดันทุรังหาคำตอบในข้อที่เราทำไม่ได้โดยที่ยังไม่ได้ข้ามไปดูข้อต่อไป เพราะการดันทุรังทำมันอยู่ข้อเดียวนั้นทำให้เสียเวลาที่จะเอาไว้ทำข้ออื่นซึ่งเราสามารถตอบได้ ที่สำคัญจะทำให้เราลนลานเมื่อรู้ว่าเวลากำลังจะหมดแต่ข้อสอบยังเหลืออีกหลายข้อที่ยังไม่ได้ทำ
3. ถ้าเป็นไปได้ พยายามทำข้อสอบไปเรื่อยๆ จนหมด โดยเลือกทำเฉพาะข้อที่เรามั่นใจมากๆ เสียก่อน ข้อไหนที่ยังไม่มั่นใจก็ให้เว้นเอาไว้
4. เมื่อทำข้อสอบจนหมดแล้ว จึงค่อยย้อนกลับมาทำในข้อที่เราเว้นไว้เมื่อสักครู่ และก็อีกเช่นเดิมคือ เลือกทำข้อที่พอจะทำได้จนหมดก่อน ส่วนข้อไหนที่คิดว่ายากจริงๆ ก็ให้เว้นไว้
5. หลังจากทำข้อสอบจนถึงหน้าสุดท้ายเป็นรอบที่ 2 แล้ว ทีนี้เราก็จะเหลือแต่ข้อสอบข้อที่ยากมากๆ หรือข้อที่เราทำไม่ได้จริงๆ
6. ในการตอบคำถามข้อสุดยากเหล่านี้ บางครั้งก็ต้องอาศัยการเดาเข้าช่วย แต่ถึงจะเดาอย่างไรก็ควรเดาให้มีความเป็นไปได้มากที่สุด อย่าเดาสุ่มแบบที่เรียกว่าหลับตาจิ้มเด็ดขาด ต้องอ่านคำถามแล้วเลือกคำตอบที่คิดว่าพอจะเป็นไปได้มากที่สุด และต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวพอสมควร เพราะคำตอบแรกที่นึกขึ้นได้มักจะมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกมากที่สุด เมื่อตอบแล้วจึงต้องข้ามไปเลย อย่าลังเลย้อนกลับมาแก้ไขใหม่
7. จำไว้ว่าถ้าเป็นข้อสอบแบบอัตนัย (บรรยาย) อย่าเว้นช่องคำตอบให้ว่าง เขียนอะไรก็ได้ที่พอจะเกี่ยวข้องหรือพอจะนึกได้ลงไป อย่างน้อยถ้าโชคดีไปเจอคนตรวจข้อสอบใจดีก็อาจจะได้คะแนนค่าน้ำหมึกมาบ้างก็ยังดีกว่าไม่ได้คะแนนเลย ส่วนถ้าเป็นข้อสอบแบบปรนัย (ตัวเลือก) ยิ่งห้ามเว้นว่างเด็ดขาด เพราะถึงจะมั่วขนาดไหน แต่เราก็มีโอกาสตอบถูกถึง 1 ใน 4 หรือ 25% เลยทีเดียว
8. พยายามสังเกตเวลาแต่อย่าแตกตื่นกับเวลา สังเกตเวลาเพื่อนำมาคำนวณกับจำนวนข้อสอบที่เหลือให้เหมาะสม แต่ถ้ามันเหลือเวลาน้อยเกินไปก็อย่าตกใจ ให้เลือกทำข้อที่ทำได้ไปก่อน แล้วสุดท้ายค่อยเดาคำตอบข้อที่เหลือ
9. ห้ามโกงโดยเด็ดขาด เพราะการทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดให้อะไรกับเราได้มากมาย ถ้าเราโกง มันก็จะไม่ได้ช่วยอะไรเราเลยในระยะยาว
ข้อควรจำ
1. ถ้าเราไม่รู้คำตอบก็อย่าไปกังวล เพราะการกังวลกับสิ่งที่เราไม่รู้มากเกินไปนั้น มันจะบั่นทอนจิตใจและความมั่นใจของเราจนทำให้เราไม่สามารถแสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมาได้
2. จำไว้ว่าการทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดนั้นไม่ใช่แค่การทดสอบความสามารถของเราเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้รู้ว่าเราจำเป็นที่จะต้องใช้ความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราอีกสักแค่ไหน
3. ถ้ายังไม่เข้าใจว่าเราตอบคำถามผิดอย่างไร ต้องกล้าที่จะถามครูหรือผู้รู้ การมัวแต่อายในความผิดพลาดไม่ได้ช่วยให้คุณพัฒนาขึ้นได้เลย ดังนั้น จงถาม!
เมื่อได้ทริปแล้ว ก็ลองนำไปใช้ดูนะ ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาภาษาอังกฤษหรอก วิชาอะไรก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
กฎข้อที่หนึ่ง
อย่าเดาแบบโง่ๆ จงอ่านโจทย์กับตัวเลือกทุกข้อ
สิ่งที่บ้าที่สุดสำหรับการเดาคือการกาโดยไม่อ่านโจทย์และตัวเลือกโดยการคิดว่า ยังไงมันก็ทำไม่ได้อ่านไม่อ่านก็ไม่ต่างกัน คนที่ทำแบบนี้มันจะเป็นตัวตลกในสายตาของอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบเสมอ เรามักจะเป็นพวกที่กา ค หมดทุกข้อทั้งๆ ที่บางตอนของข้อสอบให้เลือกกาถูกข้อ ก. ผิด ข้อ ข. บ่อยๆ ดังนั้นจงจำไว้ว่าไม่ว่าทำได้หรือไม่อย่ากาโดยไม่อ่านโจทย์และตัวเลือกเด็ดขาด การเดาแบบโง่ๆ ทำให้ความน่าจะเป็นของคะแนนอยู่ที่ 25% ซึ่งคะแนนจะอยู่ประมาณ 10-35 เต็ม 100 (ส่วนใหญ่มักจะได้น้อยกว่า 25 เพราะมักจะมีตอนพิเศษแบบให้เติมตัวอักษร กาแค่ข้อ ก. ข. อะไรแบบนี้เป็นประจำ ซึ่งทำให้เราตกแน่นอน จำไว้ว่าจงอ่านให้ละเอียด
[แก้ไข]กฎข้อที่สอง
รู้เขารู้เราเดายังไงก็ไม่ตก
อาจารย์ แต่ละคนมีนิสัยกวนส้นแตกต่างกันไป ถ้าเราเข้าใจนิสัยของอาจารย์จะเข้าใจแนวทางการออกข้อสอบของเขา อาจารย์บางคนชอบออกแบบข้อไหนถูกทุกข้อ ข้อนั้นจะถูก แต่บางคนก็ชอบเอาถูกทุกข้อมาไว้หลอกเด็ก ปรกติแล้วถ้าทำข้อสอบสักครึ่งนึงจะพอเดานิสัยอาจารย์ได้แล้ว เช่นว่าข้อที่ถูกทุกข้อจะถูกไหม หรือข้อที่ยาวๆ ถูกรึเปล่า ให้ดูจากข้อที่เราพอจะทำได้จะอนุมานข้ออื่นๆ ด้วยด้วย
อีกอย่างนึงจงเข้าใจจิตใจของคนออกข้อสอบ ลองนั่งคิดว่าถ้าเราออกข้อสอบเราจะขี้เกียจไหม เป็นเราก็คงใช้ Ctrl+C Ctrl+V เหมือนกันแล้วเปลี่ยนนิดนึงล่ะน่า
[แก้ไข]กฎข้อที่สาม
จงขีดฆ่าข้อที่ไม่น่าจะใช่ออกไปให้มากที่สุด
ถ้าเราตัดไปได้ข้อนึกความน่าจะเป้นที่จะถูกในข้อนั้นจะเป็น 33% และ 50% ถ้าตัดได้สองข้อ ถ้าเราทำข้อสอบได้สัก 30 ข้อจากร้อยข้อ และตัดตัวเลือกได้ 1 ตัว สัก 30 ข้อ ตัด 2 ตัวได้สัก 20 ข้อ ที่เหลือเดาไปเลย คะแนนเฉลี่ยที่น่าจะเป็นของเราของเราคือ 1*30+0.33*30+0.50*20+20*0.25 = 30+9.9+10+5 = 54.5 ก็รอดแล้ว บวกพวกข้อที่มีตัวเลือกแค่สองตัวที่โอกาสถูกมากขึ้นเข้าไปอีก ก็ผ่านสบายๆ เอาเข้าจริง ถ้าเราใช้วิจารณญาณในการเลือกตัวเลือกดีๆ ตัวเลือกที่เลือกใน 1 จาก 3 และ 1 จาก 2 จะมีโอกาสสูง เมื่อใช้รวมกับวิธีอื่นๆ ด้วยจะได้คะแนนประมาณ 60-70 คะแนน เต็มร้อย ถ้าเราพออ่าหนังสือมาบ้าง ทำได้สัก 40 ข้อ คะแนนก็จะขึ้นไปถึง 70-80 คะแนน
วิธีการตัดตัวที่ไม่น่าใช่มีดังนี้
1.ทุกข้อมักจะมีข้อหมดมุกของอาจารย์ที่ออกข้อสอบเสมอ
เช่น ใครตั้งกรุงสุโขทัย
ก. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ข. พ่อขุนบานเมือง
ค. พ่อขุนรามคำแหง
ง. พระเจ้าตาก
จะ เห็นว่า ง. อาจารย์หมดมุกแล้ว ในความเป็นจริงถ้าขี้เกียจน้อยหน่อยอาจารย์ก็จะเอาไปมั่วๆ ไว้ในตัวเลือกไหนก็ได้เราก็ตัดมันทิ้ง คิดซะว่าคนที่ออกข้อสอบ 100 ข้อก็ต้องมีเบลอๆ มีขี้เกียจๆ กันบ้าง
2. ถ้าให้มาเหมือนกันให้ตัดข้อนั้นทิ้ง เว้นแต่จะมีง. ให้เลือกว่าถูกทุกข้อ หรือ 2 ข้อนั้นถูก
เช่น จากสมการ สมบัติของค่า X เป็นอย่างไร
ก. x เป็นจำนวนคู่
ข. x หารด้วยสองลงตัว
ค. x เป็นจำนวนคี่
ง. x หาค่าไม่ได้
จากข้อนี้ ก. กับ ข. เหมือนกัน ตัดทิ้งไปเลย
Tip ข้อที่ตรงข้ามกับข้อหลอกที่ถูกตัดทิ้งมักจะถูกเสมอ ดังนั้นจากข้อนี้ ค น่าจะถูก บวกกับที่ ง. มันน่าตาเหมือนตัวหลอก น่าจะตอบ ค.
[แก้ไข]กฎข้อที่สาม
ในกรณีที่ข้อสอบเป็นข้อสอบสมการที่ซับซ้อนจงเอาตัวเลือกไปแทนในโจทย์ อย่าเสียเวลาแกะเลขยกกำลัง เช่น
x3 - y = 100 y2 = x4
ก. x=2 y= 10
ข. x=3 y= 15
ค. x=5 y= 25
ง. x=7 y= 50
อย่าเสียเวลาคิดเลย เอาค่าในแต่ละตัวเลือกไปแทนในโจทย์เถอะ
[แก้ไข]กฎข้อที่สี่
จงคำนวนความน่าจะเป็นที่เกิดจากข้อสอบที่มีตัวเลือกเดียวกันให้ดี
บางทีจะเจอข้อสอบที่มีตัวเลือกเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมักจะมีมีตัวเลือกพอดีกับข้อ และมันจะจับคู่ข้อละ 1 ตัวเลือก แต่ก็ต้องดูนิสัยอาจารย์ด้วย
ตัวอย่างเช่น
1. ใครเขียนนิยายเรื่องผมกับผี
ก.แจกันสีฟ้า
ข.ซาซ่า
ค.เคนนี่
ง.หย่งเล่อ
2. ใครเขียนนิยายเรื่องรักรสหวาน
ก.แจกันสีฟ้า
ข.ซาซ่า
ค.เคนนี่
ง.หย่งเล่อ
3. ใครเขียนนิยายยูริ
ก.แจกันสีฟ้า
ข.ซาซ่า
ค.เคนนี่
ง.หย่งเล่อ
4. ใครเขียนเรื่องทีนอส
ก.แจกันสีฟ้า
ข.ซาซ่า
ค.เคนนี่
ง.หย่งเล่อ
อย่างแรกต้องทำข้อที่ได้ก่อน ตัวเลือกนั้นก็จะตัดไปจากของข้ออื่น จากนั้นเราต้องคำนวนคะแนนที่มีว่าควรจะเดาแบบไหน เอาแบบกาทั้งสามข้อด้วยตัวเลือกเดียวกันให้ถูก 100% 1 ข้อจะดีไหม หรือว่าจะกากระจาย
ตัวอย่างเช่น สมมติว่า เรารู้ว่าหย่งเล่อเขียนเรื่อง ผมกับผีแต่อีกสามข้อไม่รู้ จากนั้นเราอาจจะเลือกกา ก. ทั้งสามข้อที่เหลือเอา 1 คะแนนจากสามข้อ หรือจะลองเสียง 33% สามครั้งก็ตามใจ
[แก้ไข]กฎข้อที่ห้า
ให้ ทำข้อที่ทำได้ก่อน ทิ้งข้อที่ทำไม่ได้ไว้ค่อยมาเดาทีหลัง
เพราะมันมักจะมีเฉลยข้อแรกๆ อยู่ในข้อต่อไปเสมอ และมีผลกับการเดาสำหรับข้อสอบของอาจารย์ที่มีนิสัยชอบเฉลี่ยให้คำตอบแต่ล่ะ ตัวเลือกเท่าๆ กัน ข้อที่ทำไม่ได้ตัดข้อที่ไม่น่าจะใช่ไว้ แล้วมาเดาที่หลัง ทำสัญลักษณ์ข้อที่เดาไว้เผื่อมาแก้ด้วย
เรามักจะเจอคำถามทำนองว่า ใครตั้งสุโขทัย กับ ใครช่วยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตั้งสุโขทัย ก็จะได้คำตอบ
หรือคำถามว่า ใครตั้งสุโขทัย กับ สุโขทัยถูกตั้งขึ้นโดยใคร ซึ่งเป็นคำถามเดียวกัน (สงสัยอาจารย์จะเริ่มง่วงแล้วตอนตั้งคำถาม) ให้เลือกเอาตัวเลือกที่มีเหมือนกันทั้งสองข้อ
หรือไม่ก็ข้อสอบภาษาอังกฤษที่ให้เลือกคำที่เขียนถูก ก็อาจจะเจอคำนั้นแบบเขียนถูกอยู่ในข้อต่อไป หรือข้อสอบวิทยาศาสตร์ก็จะมีเฉลยอยู่ในข้อต่อไป หรือแทนคำตอบในโจทย์แล้วจะได้สูตรมาตอบคำถามสูตรในข้อแรกๆ ของข้อสอบคณิตศาสตร์
สิ่งสำคัญคือเราต้องเรียนรู้จากข้อสอบให้เป็น
[แก้ไข]กฎข้อที่หก
ถูกทุกข้อ ไม่มีข้อใดถูก ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือตัวช่วยสำคัญ
โดยทั่วไป ไม่มีข้อใดถูก มักจะเป็นตัวเลือกหมดมุก ถูกทุกข้อ มีโอกาศ 50:50 ถูกทั้ง ก. และ ข. หรือ ถูกทั้ง ข และ ค. อะไรทำนองนี้จะมีภาษีดีกว่าถูกทุกข้อ เว้นแต่ว่านิสัยอาจารย์จะชอบแกล้งเป็นพิเศษ
วิธีดูว่าถูกทุกข้อถูกหรือไม่มีดังนั้น
1. ตัวเลือกขัดกันเองไหม ถ้าขัดแสดงว่าไม่ใช่แน่ๆ และหนึ่งในตัวเลือกที่ขัดกันเองมักจะถูก
2. ตัวเลือกสองในสามของที่เหลือเหมือนกันรึเปล่า ถ้าเหมือนกันกาถูกทุกข้อไปเลย
ส่วนใหญ่ เรื่องของถูกทุกข้อจะขึ้นอยู่กับนิสัยของอาจารย์ ในข้อสอบของอาจารย์ 80% ของอาจารย์ทั้งหมด ทุกข้อที่กาถูกทุกข้อจะได้คะแนนเกิน 80% และถูกสองข้อจะได้คะแนน 90%
[แก้ไข]กฎข้อที่เจ็ด
เรื่องของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ตอบข้อที่ดีงาม สรรเสริญ ยืดยาวที่สุด
ถ้าข้อสอบแบบธรรมดาจะทำนองนี้ เว้นแต่จะถามทำนองว่า พระองค์ใดเป็นสาวกเบื้องขวา วิริยะคืออะไร ทำนองนั้น
[แก้ไข]กฎข้อที่แปด
ข้อสอบบรรยายที่เป็นตอนสองจะมีเฉลยหรือตัวช่วยอยู่ในข้อกาเสมอ
และเวลาทำจงทำตัวเหมือนรู้เรื่องแล้วก็แถๆ ไป เขียนให้ดูดีเข้าไว้ พูดเรื่องที่เรารู้เรื่องแล้วโยงไปหาสิ่งที่เราไม่รู้เรื่อง
สมมติว่าถามว่า ปัญหาโลกร้อนส่งผลต่อประเทศปาปัวนิวกีนีอย่างไรบ้าง
ถ้าเราไม่รู้จักปาปัวนิวกีนีเลยก็เปิดกลับไปอ่านข้อสอบปรนัย มันจะมีเรื่องเกี่ยวกับโลกร้อนและอาจจะมีพูดถึงปาปัวนิวกีนีอยู่ในนั้น ถ้าไม่มีจริงๆ ให้เขียนเกี่ยวกับโลกร้อน คำนำไปว่าทุกวันนี้โลกร้อนได้รับความสนใจยังไง แล้วมันสงผลต่อโลก ต่อป่า ต่อคนยังไง แล้วก็โยงไปถึงปาปัวนิวกีนี (เอาเป็นว่ามันส่งผลต่อโลกยังไง ปาปัวก็โดนล่ะฟะ) อย่าปล่อยไก่ทำนองว่า "ทำให้ป่าไม้ที่มีอยู่มากที่สุดในปาปัวเสียหาย" เพราะเราไม่รู้ว่ามันมีป่าเยอะไหม หรือทำนองว่า "ทำให้เกิดน้ำท่วม" เพราะเราไม่รู้ว่ามันท่วมในปาปัวนิวกีนีจริงรึเปล่า ให้ตอบกลางๆ ทำนอง "มีโอกาสเกิดน้ำท่วมมากขึ้น" อะไรก็ว่าไป
สำคัญคึอย่อหน้าสวยๆ คำเขียนถูก ฟังดูดี มีความรู้ (ในเรื่องที่เรารู้) อย่างปล่อยไก่ในเรื่องที่เราไม่รู้ ให้พูดถึงข้อเท็จจริง แล้วก็สรุปเยี่ยมๆ แค่นี้ก็รอดแล้ว
[แก้ไข]กฎข้อที่เก้า
อา~ คิดไม่ออกจริงๆ มันมีเยอะกว่านี้อยู่แต่มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ จงจำไว้ว่าไม่ว่าไม่รู้เรื่องแค่ไหนก็จงอย่าสิ้นหวัง พูดตามตรงว่าข้อสอบบางวิชาเราเข้าไปทำโดยไม่มีความรู้เรื่องนั้นอยู่ในหัวเลย ดังนั้นไม่ว่ามันจะถามยากหรือไม่ยาก มันก็ครือๆ กันสำหรับเรา แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ทุกครั้ง พอส่งกระดาษคำตอบอาจารย์ก็จะงงว่ามันทดเลขคำนวนอะไรหลังกระดาษฟะ มีคำนวนเลขด้วยเหรอ
ความคิดเห็น