ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มั่วๆ

    ลำดับตอนที่ #3 : 3

    • อัปเดตล่าสุด 4 มิ.ย. 54


     

    กฎข้อที่หนึ่ง

    อย่าเดาแบบโง่ๆ จงอ่านโจทย์กับตัวเลือกทุกข้อ

    สิ่งที่บ้าที่สุดสำหรับการเดาคือการกาโดยไม่อ่านโจทย์และตัวเลือกโดยการคิดว่า ยังไงมันก็ทำไม่ได้อ่านไม่อ่านก็ไม่ต่างกัน คนที่ทำแบบนี้มันจะเป็นตัวตลกในสายตาของอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบเสมอ เรามักจะเป็นพวกที่กา ค หมดทุกข้อทั้งๆ ที่บางตอนของข้อสอบให้เลือกกาถูกข้อ ก. ผิด ข้อ ข. บ่อยๆ ดังนั้นจงจำไว้ว่าไม่ว่าทำได้หรือไม่อย่ากาโดยไม่อ่านโจทย์และตัวเลือกเด็ดขาด การเดาแบบโง่ๆ ทำให้ความน่าจะเป็นของคะแนนอยู่ที่ 25% ซึ่งคะแนนจะอยู่ประมาณ 10-35 เต็ม 100 (ส่วนใหญ่มักจะได้น้อยกว่า 25 เพราะมักจะมีตอนพิเศษแบบให้เติมตัวอักษร กาแค่ข้อ ก. ข. อะไรแบบนี้เป็นประจำ ซึ่งทำให้เราตกแน่นอน จำไว้ว่าจงอ่านให้ละเอียด

    กฎข้อที่สอง

    รู้เขารู้เราเดายังไงก็ไม่ตก

    อาจารย์ แต่ละคนมีนิสัยกวนส้นแตกต่างกันไป ถ้าเราเข้าใจนิสัยของอาจารย์จะเข้าใจแนวทางการออกข้อสอบของเขา อาจารย์บางคนชอบออกแบบข้อไหนถูกทุกข้อ ข้อนั้นจะถูก แต่บางคนก็ชอบเอาถูกทุกข้อมาไว้หลอกเด็ก ปรกติแล้วถ้าทำข้อสอบสักครึ่งนึงจะพอเดานิสัยอาจารย์ได้แล้ว เช่นว่าข้อที่ถูกทุกข้อจะถูกไหม หรือข้อที่ยาวๆ ถูกรึเปล่า ให้ดูจากข้อที่เราพอจะทำได้จะอนุมานข้ออื่นๆ ด้วยด้วย

    อีกอย่างนึงจงเข้าใจจิตใจของคนออกข้อสอบ ลองนั่งคิดว่าถ้าเราออกข้อสอบเราจะขี้เกียจไหม เป็นเราก็คงใช้ Ctrl+C Ctrl+V เหมือนกันแล้วเปลี่ยนนิดนึงล่ะน่า


    กฎข้อที่สาม

    จงขีดฆ่าข้อที่ไม่น่าจะใช่ออกไปให้มากที่สุด

    ถ้าเราตัดไปได้ข้อนึกความน่าจะเป้นที่จะถูกในข้อนั้นจะเป็น 33% และ 50% ถ้าตัดได้สองข้อ ถ้าเราทำข้อสอบได้สัก 30 ข้อจากร้อยข้อ และตัดตัวเลือกได้ 1 ตัว สัก 30 ข้อ ตัด 2 ตัวได้สัก 20 ข้อ ที่เหลือเดาไปเลย คะแนนเฉลี่ยที่น่าจะเป็นของเราของเราคือ 1*30+0.33*30+0.50*20+20*0.25 = 30+9.9+10+5 = 54.5 ก็รอดแล้ว บวกพวกข้อที่มีตัวเลือกแค่สองตัวที่โอกาสถูกมากขึ้นเข้าไปอีก ก็ผ่านสบายๆ เอาเข้าจริง ถ้าเราใช้วิจารณญาณในการเลือกตัวเลือกดีๆ ตัวเลือกที่เลือกใน 1 จาก 3 และ 1 จาก 2 จะมีโอกาสสูง เมื่อใช้รวมกับวิธีอื่นๆ ด้วยจะได้คะแนนประมาณ 60-70 คะแนน เต็มร้อย ถ้าเราพออ่าหนังสือมาบ้าง ทำได้สัก 40 ข้อ คะแนนก็จะขึ้นไปถึง 70-80 คะแนน

    วิธีการตัดตัวที่ไม่น่าใช่มีดังนี้

    1.ทุกข้อมักจะมีข้อหมดมุกของอาจารย์ที่ออกข้อสอบเสมอ

    เช่น ใครตั้งกรุงสุโขทัย

    • ก. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
    • ข. พ่อขุนบานเมือง
    • ค. พ่อขุนรามคำแหง
    • ง. พระเจ้าตาก

    จะ เห็นว่า ง. อาจารย์หมดมุกแล้ว ในความเป็นจริงถ้าขี้เกียจน้อยหน่อยอาจารย์ก็จะเอาไปมั่วๆ ไว้ในตัวเลือกไหนก็ได้เราก็ตัดมันทิ้ง คิดซะว่าคนที่ออกข้อสอบ 100 ข้อก็ต้องมีเบลอๆ มีขี้เกียจๆ กันบ้าง

    2. ถ้าให้มาเหมือนกันให้ตัดข้อนั้นทิ้ง เว้นแต่จะมีง. ให้เลือกว่าถูกทุกข้อ หรือ 2 ข้อนั้นถูก

    เช่น จากสมการ สมบัติของค่า X เป็นอย่างไร

    • ก. x เป็นจำนวนคู่
    • ข. x หารด้วยสองลงตัว
    • ค. x เป็นจำนวนคี่
    • ง. x หาค่าไม่ได้

    จากข้อนี้ ก. กับ ข. เหมือนกัน ตัดทิ้งไปเลย

    Tip ข้อที่ตรงข้ามกับข้อหลอกที่ถูกตัดทิ้งมักจะถูกเสมอ ดังนั้นจากข้อนี้ ค น่าจะถูก บวกกับที่ ง. มันน่าตาเหมือนตัวหลอก น่าจะตอบ ค.

    กฎข้อที่สาม

    ในกรณีที่ข้อสอบเป็นข้อสอบสมการที่ซับซ้อนจงเอาตัวเลือกไปแทนในโจทย์ อย่าเสียเวลาแกะเลขยกกำลัง เช่น

    x3 - y = 100 y2 = x4

    • ก. x=2 y= 10
    • ข. x=3 y= 15
    • ค. x=5 y= 25
    • ง. x=7 y= 50

    อย่าเสียเวลาคิดเลย เอาค่าในแต่ละตัวเลือกไปแทนในโจทย์เถอะ


    กฎข้อที่สี่

    จงคำนวนความน่าจะเป็นที่เกิดจากข้อสอบที่มีตัวเลือกเดียวกันให้ดี

    บางทีจะเจอข้อสอบที่มีตัวเลือกเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมักจะมีมีตัวเลือกพอดีกับข้อ และมันจะจับคู่ข้อละ 1 ตัวเลือก แต่ก็ต้องดูนิสัยอาจารย์ด้วย

    ตัวอย่างเช่น

    1. ใครเขียนนิยายเรื่องผมกับผี
      • ก.แจกันสีฟ้า
      • ข.ซาซ่า
      • ค.เคนนี่
      • ง.หย่งเล่อ
    2. ใครเขียนนิยายเรื่องรักรสหวาน
      • ก.แจกันสีฟ้า
      • ข.ซาซ่า
      • ค.เคนนี่
      • ง.หย่งเล่อ
    3. ใครเขียนนิยายยูริ
      • ก.แจกันสีฟ้า
      • ข.ซาซ่า
      • ค.เคนนี่
      • ง.หย่งเล่อ
    4. ใครเขียนเรื่องทีนอส
      • ก.แจกันสีฟ้า
      • ข.ซาซ่า
      • ค.เคนนี่
      • ง.หย่งเล่อ

    อย่างแรกต้องทำข้อที่ได้ก่อน ตัวเลือกนั้นก็จะตัดไปจากของข้ออื่น จากนั้นเราต้องคำนวนคะแนนที่มีว่าควรจะเดาแบบไหน เอาแบบกาทั้งสามข้อด้วยตัวเลือกเดียวกันให้ถูก 100% 1 ข้อจะดีไหม หรือว่าจะกากระจาย

    ตัวอย่างเช่น สมมติว่า เรารู้ว่าหย่งเล่อเขียนเรื่อง ผมกับผีแต่อีกสามข้อไม่รู้ จากนั้นเราอาจจะเลือกกา ก. ทั้งสามข้อที่เหลือเอา 1 คะแนนจากสามข้อ หรือจะลองเสียง 33% สามครั้งก็ตามใจ


    กฎข้อที่ห้า

    ให้ ทำข้อที่ทำได้ก่อน ทิ้งข้อที่ทำไม่ได้ไว้ค่อยมาเดาทีหลัง

    เพราะมันมักจะมีเฉลยข้อแรกๆ อยู่ในข้อต่อไปเสมอ และมีผลกับการเดาสำหรับข้อสอบของอาจารย์ที่มีนิสัยชอบเฉลี่ยให้คำตอบแต่ล่ะ ตัวเลือกเท่าๆ กัน ข้อที่ทำไม่ได้ตัดข้อที่ไม่น่าจะใช่ไว้ แล้วมาเดาที่หลัง ทำสัญลักษณ์ข้อที่เดาไว้เผื่อมาแก้ด้วย

    เรามักจะเจอคำถามทำนองว่า ใครตั้งสุโขทัย กับ ใครช่วยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตั้งสุโขทัย ก็จะได้คำตอบ

    หรือคำถามว่า ใครตั้งสุโขทัย กับ สุโขทัยถูกตั้งขึ้นโดยใคร ซึ่งเป็นคำถามเดียวกัน (สงสัยอาจารย์จะเริ่มง่วงแล้วตอนตั้งคำถาม) ให้เลือกเอาตัวเลือกที่มีเหมือนกันทั้งสองข้อ

    หรือไม่ก็ข้อสอบภาษาอังกฤษที่ให้เลือกคำที่เขียนถูก ก็อาจจะเจอคำนั้นแบบเขียนถูกอยู่ในข้อต่อไป หรือข้อสอบวิทยาศาสตร์ก็จะมีเฉลยอยู่ในข้อต่อไป หรือแทนคำตอบในโจทย์แล้วจะได้สูตรมาตอบคำถามสูตรในข้อแรกๆ ของข้อสอบคณิตศาสตร์

    สิ่งสำคัญคือเราต้องเรียนรู้จากข้อสอบให้เป็น


    กฎข้อที่หก

    ถูกทุกข้อ ไม่มีข้อใดถูก ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือตัวช่วยสำคัญ

    โดยทั่วไป ไม่มีข้อใดถูก มักจะเป็นตัวเลือกหมดมุก ถูกทุกข้อ มีโอกาศ 50:50 ถูกทั้ง ก. และ ข. หรือ ถูกทั้ง ข และ ค. อะไรทำนองนี้จะมีภาษีดีกว่าถูกทุกข้อ เว้นแต่ว่านิสัยอาจารย์จะชอบแกล้งเป็นพิเศษ

    วิธีดูว่าถูกทุกข้อถูกหรือไม่มีดังนั้น

    1. ตัวเลือกขัดกันเองไหม ถ้าขัดแสดงว่าไม่ใช่แน่ๆ และหนึ่งในตัวเลือกที่ขัดกันเองมักจะถูก
    2. ตัวเลือกสองในสามของที่เหลือเหมือนกันรึเปล่า ถ้าเหมือนกันกาถูกทุกข้อไปเลย

    ส่วนใหญ่ เรื่องของถูกทุกข้อจะขึ้นอยู่กับนิสัยของอาจารย์ ในข้อสอบของอาจารย์ 80% ของอาจารย์ทั้งหมด ทุกข้อที่กาถูกทุกข้อจะได้คะแนนเกิน 80% และถูกสองข้อจะได้คะแนน 90%

    กฎข้อที่เจ็ด

    เรื่องของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ตอบข้อที่ดีงาม สรรเสริญ ยืดยาวที่สุด

    ถ้าข้อสอบแบบธรรมดาจะทำนองนี้ เว้นแต่จะถามทำนองว่า พระองค์ใดเป็นสาวกเบื้องขวา วิริยะคืออะไร ทำนองนั้น


    กฎข้อที่แปด

    ข้อสอบบรรยายที่เป็นตอนสองจะมีเฉลยหรือตัวช่วยอยู่ในข้อกาเสมอ

    และเวลาทำจงทำตัวเหมือนรู้เรื่องแล้วก็แถๆ ไป เขียนให้ดูดีเข้าไว้ พูดเรื่องที่เรารู้เรื่องแล้วโยงไปหาสิ่งที่เราไม่รู้เรื่อง

    สมมติว่าถามว่า ปัญหาโลกร้อนส่งผลต่อประเทศปาปัวนิวกีนีอย่างไรบ้าง

    ถ้าเราไม่รู้จักปาปัวนิวกีนีเลยก็เปิดกลับไปอ่านข้อสอบปรนัย มันจะมีเรื่องเกี่ยวกับโลกร้อนและอาจจะมีพูดถึงปาปัวนิวกีนีอยู่ในนั้น ถ้าไม่มีจริงๆ ให้เขียนเกี่ยวกับโลกร้อน คำนำไปว่าทุกวันนี้โลกร้อนได้รับความสนใจยังไง แล้วมันสงผลต่อโลก ต่อป่า ต่อคนยังไง แล้วก็โยงไปถึงปาปัวนิวกีนี (เอาเป็นว่ามันส่งผลต่อโลกยังไง ปาปัวก็โดนล่ะฟะ) อย่าปล่อยไก่ทำนองว่า "ทำให้ป่าไม้ที่มีอยู่มากที่สุดในปาปัวเสียหาย" เพราะเราไม่รู้ว่ามันมีป่าเยอะไหม หรือทำนองว่า "ทำให้เกิดน้ำท่วม" เพราะเราไม่รู้ว่ามันท่วมในปาปัวนิวกีนีจริงรึเปล่า ให้ตอบกลางๆ ทำนอง "มีโอกาสเกิดน้ำท่วมมากขึ้น" อะไรก็ว่าไป

    สำคัญคึอย่อหน้าสวยๆ คำเขียนถูก ฟังดูดี มีความรู้ (ในเรื่องที่เรารู้) อย่างปล่อยไก่ในเรื่องที่เราไม่รู้ ให้พูดถึงข้อเท็จจริง แล้วก็สรุปเยี่ยมๆ แค่นี้ก็รอดแล้ว

    กฎข้อที่เก้า

    อา~ คิดไม่ออกจริงๆ มันมีเยอะกว่านี้อยู่แต่มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ จงจำไว้ว่าไม่ว่าไม่รู้เรื่องแค่ไหนก็จงอย่าสิ้นหวัง พูดตามตรงว่าข้อสอบบางวิชาเราเข้าไปทำโดยไม่มีความรู้เรื่องนั้นอยู่ในหัวเลย ดังนั้นไม่ว่ามันจะถามยากหรือไม่ยาก มันก็ครือๆ กันสำหรับเรา แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ทุกครั้ง พอส่งกระดาษคำตอบอาจารย์ก็จะงงว่ามันทดเลขคำนวนอะไรหลังกระดาษฟะ มีคำนวนเลขด้วยเหรอ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×