ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ประจำจังหวัดเมืองเหนือ

    ลำดับตอนที่ #3 : ต้นทองกวาว จังหวัด เชียงใหม่ และ ลำพูน

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 58






     ต้นทองกวาว 

        

    ชื่อวิทยาศาสตร์

    Butea monosperma O. Ktze.

    วงศ์

    LEGUMINOSAE

    ชื่อสามัญ 

    Flame of the forest.

    ชื่ออื่น 

        จอมทอง (ภาคเหนือ), ทองกวาวต้น (ภาคกลาง), กวาวก้าว (พายัพ) ทองพรมชาติ, ทองธรรมชาติ, จาน(ภาคอีสาน), ทองต้น (ราชบุรี), จ้า (เขมร)

    ถิ่นกำเนิด  

          เอเชียใต้ จากประเทศปากีสถาน, อินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, และทางตะวันตกของอินโดนีเซีย

    ลักษณะทั่วไป

    ต้น : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ถั่ว ที่มีทั้งขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 6-12 เมตร

    ลักษณะของเปลือกลำต้นเป็นปมเป็นปุ่ม ไม่เรียบเกลี้ยง ผิวมีสีน้ำตาลหม่น ๆ

    ใบ : ใบเป็นสีเขียว พื้นผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ใบออกเป็นก้านยาว ก้านหนึ่งมี ใบย่อยอยู่ 3 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ใบกว้างราว 2.5-9 นิ้ว ยาวราว3.4-10.5 นิ้วลักษณะคล้ายกับใบทองหลาง

     ใบมน

    ดอก : ดอกออกเป็นช่อ รูปลักษณะของดอกเป็นสีแดง ขนาดใหญ่

    ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแข็ง เปลือกนอกมีสีเป็นสีน้ำตาลอ่อนภายในฝักมีเมล็ด ขนาดเล็ก เป็นสีน้ำตาลแก่

    การขยายพันธุ์

    เพาะเมล็ด

    ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

     

    ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ

    ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิยาง แก้ท้องร่วง

    เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ

    เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน

    ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร

    ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

    ความเชื่อของไทย

     

     ไม้มงคล คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ ควรปลูกต้นทองกวาวไว้ทางทิศใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์

                  ทองกวาวเป็นพืชที่มีความสำคัญในศาสนาฮินดู ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ไม้ทองกวาวใช้เป็นฟืนเผาศพ ถือเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์

    ดอกไม้ประจำจังหวัด

    เชียงใหม่ และ ลำพูน

    อ้างอิงจาก

    http://www.panmai.com/PvFlower/fl_15.shtml

     




    ตราประจำจังหวัดเชียงใหม่



    ตราประจำจังหวัดลำพูน




     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×