ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน

    ลำดับตอนที่ #34 : อพอลโล-Apollo คณะทพวงศ์โอลิมเปียน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.55K
      17
      3 ม.ค. 65

     

                                                                  


    อพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ แสงสว่าง ดนตรี บทกวี การยิงธนู การแพทย์และการพยากรณ์ บุตรแห่งซุสกับพระนางเลโต  สัญลักษณ์ของพระองค์คือต้นลอเรล ธนู พิณไลร์ กา โลมาและหนู 


     

    สุริยเทพอพอลโลมักปรากฏในรูปของบุรุษรูปงามถือพิณไลร์ไว้ในมือ พระองค์เป็นฝาแฝดกับเทพีอาร์เทมิส อพอลโลถือเป็นเทพองค์หนึ่งที่สำคัญที่สุดในปกรณัมกรีกและโรมัน ทั้งนี้เพราะอพอลโลได้สร้างวีรกรรมไว้มากมายตั้งแต่ปราบงูร้ายไพธอน ปราบยักษ์อโลอาดีและปราบอีฟิอัลทิส-ผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ไททัน 


     

    แต่ตำนานที่โด่งดังที่สุดกล่าวไว้ว่า เลโตมารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์เทมิสรู้สึกภาคภูมิใจในตัวลูกๆทั้งสองเป็นอย่างมาก นางจึงชอบเอาเรื่องราวของลูกไปคุยโอ้อวดแก่คนอื่นๆว่าไม่มีบุตรคนใดจะดีเสมอบุตรของนางอีกแล้ว ไม่ว่าจะเปรียบเทียบในด้านรูปโฉม สติปัญญา หรือพลังอำนาจ ก็ไม่มีใครจะชนะบุตรของนางได้เลย  


     

    จนเรื่องราวดังกล่าวได้โด่งดังไปไกลจนเข้าหูนางไนโอบี-Niobe ผู้เป็นธิดาของท้าวแทนทาลัส-Tantalus เจ้ากรุงธีบส์ เมื่อนางไนโอบีได้ฟังก็กลับหัวเราะเยาะในคำพูดโอ้อวดคำนี้ และได้ลั่นวาจากล่าวสบสนางเลโตว่า ตัวนางนั้นมีลูกเพียง 2 เท่านั้น จะสู้ลูกของพระนางที่มีถึง 14 คน และเป็นชายถึง 7 ที่ล้วนแต่มีรูปกายงดงาม กำยำ และมีลูกสาวหญิงอีก 7 ที่ล้วนแต่มีหน้าตางดงามได้อย่างไร มากไปกว่านั้น นางไนโอบียังห้ามไม่ให้ชาวเมืองทุกคนของนาง ทำการบูชาเทพอพอลโลและเทพีอาร์เทมิสอีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้นยังสั่งให้ชาวเมืองทำลายรูปปั้นของเทพและเทพีคู่นี้ให้หมดสิ้นไปจากเมืองของนางอีกด้วย 


     


     

    ซากวิหารเทพอพอลโล


     

    เมื่อเรื่องนี้ไปถึงหูของนางเลโต นางก็เกิดความโกรธแค้นกับการกระทำอันแสนดูหมิ่นของนางไนโอบีเป็นอย่างมาก นางเลโตจึงได้เรียกบุตรและธิดาทั้งสองมาเข้าเฝ้า และสั่งให้ลูกๆของตนออกตามสังหารบุตรและธิดาทั้ง 14 ของนางไนโอบีให้หมดสิ้นไปเสีย เพื่อเป็นการล้างแค้น ทั้งเทพอพอลโลและเทพีอาร์เทมิสเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกโกรธ จึงได้เร่งออกตามหาบุตรและธิดาทั้ง 14 ของนางไนโอบีอย่างขมีขมัน เทพอพอลโลพบบุตรชายทั้ง 7 ที่กำลังออกล่าสัตว์ และได้ฆ่าบุตรแห่งนางไนโอบีตายทั้งหมดด้วยลูกธนู 


     

    ซึ่งเมื่อนางไนโอบี ทราบข่าวการตายของบุตรตัวเอง นางก็โศกเศร้าเป็นยิ่งนัก ฝ่ายพระสวามีของนางไนโอบี ก็ฆ่าตัวตายตามลูกๆทั้ง 7 คนไปด้วย ส่วนธิดาอีก 7 คน ก็ถูกเทพีอาร์เทมิสตามสังหารไปเสียหมด ซึ่งแม้ว่านางทั้ง 7 จะพยายามหนีลูกธนูของเทพีเท่าไร  รวมทั้งนางไนโอบีจะพยายามอ้อนวอนขอความเมตตาจากทวยเทพบนเขาโอลิมปัสมากเพียงใด ก็ยังไม่เป็นผล สุดท้ายธิดาของนางทั้ง 7 ก็ต้องล้มตายคาอกมารดาด้วยศรกันทั้งหมดทั้งสิ้น 


     


     

    ภาพอพอลโลและอาร์เทมิสสัหารบุตรและธิดาของนางไนโอบี โดยศิลปิน Jacopo Tintoretto (ค.ศ. 1518-1594) 


     

    นอกจากนี้ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่โด่งดังไม่แพ้กัน เล่าว่า ครั้งที่เทพอพอลโลยังเป็นหนุ่ม เขาได้ออกเที่ยวไปตามถิ่นต่างๆทางทิศเหนือของประเทศกรีซ ในแถบดินแดนของชนชาติไฮเพอร์โบเรียนและแคว้นเธสสาลี 


     

    เทพอพอลโลมักจะไปเที่ยวผูกสัมพันธ์รักกับหญิงสาวไปทั่วตามวิสัยของหนุ่มวัยรุ่นผู้มีใบหน้างดงามณ แคว้นเธสสาลี ก็มีสาวงามคนหนึ่งที่มีนามว่า โครอนนิส-Coronis ผู้เป็นธิดาของเจ้าแห่งแคว้นนั้น ซึ่งอพอลโลก็ได้ไปตกหลุมรักและร่วมรักกับนาง จนให้กำเนิดบุตรด้วยกันหนึ่งคน 


     


     

    ภาพอพอลโลและนางโครอนนิส โดยศิลปิน Hendrik Goltzius 


     

    แต่นางผู้นี้กลับได้ชื่อว่าเป็นหญิงหลายใจในภายหลังระหว่างที่นางตั้งครรภ์ อพอลโลได้ให้นกดุเหว่าซึ่งมีขนขาวปลอดตัวหนึ่งคอยเฝ้านางเอาไว้ ซึ่งนางเองก็ได้แอบไปคบชู้กับชายอื่น ทำให้นกดุเหว่าบอนไปบอกข่าวนี้แก่เทพอพอลโล เมื่อพระองค์ทราบเรื่องก็เกิดโมโหเป็นอย่างมาก และบันดาลโทสะสาปนกตัวนั้นที่บังอาจมาบอกข่าวร้ายเช่นนี้แก่ตน จนทำให้นกดุเหว่าที่เคยที่ขนสีขาวกลับกลายเป็นขนสีดำไปในทันที และนี่ก็เป็นสาเหตุให้นกดุเหว่ากลายมาเป็นนกที่มีขนสีดำตั้งแต่นั้นมา 


     

    ส่วนนางโครอนนิสก็ถูกฆ่าตายเช่นกัน แต่ตำนานไม่ปรากฏชัดว่านางนั้นตายด้วยน้ำมือของเทพอพอลโล หรือด้วยคมศรของเทพีอาร์เทมิส ในขณะที่บุตรที่อยู่ในครรภ์ของนางก็ครบกำหนดคลอดพอดี และได้นำออกจากครรภ์ของนางโครอนนิสตอนเผาศพ ทารกผู้นี้จึงรอดตายมาได้ 


     

    เทพอพอลโลได้มอบทารกให้ ไครอน-Chiron ผู้มีชาติเป็นอมนุษย์ เซนทอร์เป็นผู้ดูแลแทนตนบุตรของเทพอพอลโลกับนางโครอนนิส ที่อาจารย์ไครอนรับเลี้ยงไว้ มีชื่อว่า แอสคุลาพิอัส-Aesculapius เขาผู้นี้เป็นเด็กฉลาด มีความเข้าใจในวิชาการอย่างแตกฉาน และยังเป็นที่รักของอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง   แอสคุลาพิอัสชอบวิชาโรคศิลป์เป็นที่สุด ทำให้เมื่อเขาเติบใหญ่ขี้น เขาจึงกลายเป็นแพทย์ผู้บำบัดโรคที่มีความเก่งกาจสามารถมากที่สุดคนหนึ่ง ว่ากันว่าความสามารถในการบำบัดโรคของแอสคุลาพิอัสนั้นเก่งกาจเกินกว่าอาจารย์ของเขาเป็นอย่างมาก 


     


     

    แอสคุราพิอัส


     

    แอสคุลาพิอัสสามารถรักษาโรคและความเจ็บป่วยได้ทุกชีวิต จนทำให้ชื่อเสียงของแอสคุลาพิอัสโด่งดังเลื่องลือไปไกลทั่วแคว้น ไม่ว่าใครที่ป่วยไข้แบบหนักหนาสาหัส หรือแบบเล็กๆน้อยๆ หากได้รับการรักษาจากเขาไปแล้ว อาการป่วยที่เคยมีก็จะทุเลาหายไปอย่างรวดเร็ว หรือดีอาการดีวันดีคืนโดยตลอด  ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่มีอาการเจ็บป่วยจึงพากันเดินทางมาหา และไปขอรับการรักษาโรคที่สำนักของเขาทั้งสิ้น 


     

    ไม่เพียงเท่านั้น ความสามารถของแอสคุลาพิอัสยังเลื่องลือมากขึ้น เมื่อเขาสามารถทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้อีกครั้ง ซึ่งความดีครั้งนี้กลับเป็นเหตุให้มหาเทพซุสกับเทพฮาเดส ผู้เป็นเจ้าแห่งดินแดนคนตายเกิดความเดือดร้อน สุดท้ายมหาเทพซุสจึงตัดสินใจประหารแอสคุลาพิอัสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก 


     

    เทพอพอลโลโกรธมากที่บุตรของตนต้องมาเสียชีวิตลง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปล้างแค้นกับเทพบิดาได้อย่างไร จึงหันไปเล่นงานช่างสร้างอสนีบาตถวายซุสซึ่งคือยักษ์ไซคลอปส์ 


     

    อพอลโลใช้คันธนูเงินเพื่อหวังจะยิงธนูสังหารยักษ์ไซคลอปส์เพื่อเป็นการแก้แค้น แต่ซุสก็ไม่ยอมให้อพอลโลได้ทำเช่นนั้น แถมยังเนรเทศเทพอพอลโลให้ตกสวรรค์และลงมาอยู่บนโลกมนุษย์ เพื่อตกเป็นข้ารับใช้แก่มนุษย์นานเป็นเวลา 1 ปี จึงจะพ้นโทษครั้งนี้ 


     


     

    อพอลโลปลุกปล้ำกับเฮอร์คิวลิส


     

    อย่างไรก็ตาม มีเพียงครั้งเดียวที่เทพอพอลโลไม่อาจจะเอาชนะมนุษย์คนหนึ่งได้ เรื่องราวครั้งนี้ร้อนถึงเทพซูสที่จะต้องออกมาช่วยประนีประนอมจนสำเร็จ ซึ่งมนุษย์ผู้นี้ก็มีชื่อว่า เฮอร์คิวลิส หรือ เฮลาคลิส นั่นเอง เหตุการณ์ครั้งนี้เริ่มขึ้นเนื่องจาก เฮอร์คิวลิสได้ไปขอคำทำนายที่วิหารเดลฟี 


     

    ซึ่งเมื่อเขาได้รับทราบคำทำนายแล้วก็รู้สึกไม่ถูกใจ จึงบันดาลโทษะล้มโต๊ะพิธีในวิหารนั้นเสีย อีกทั้งยังขโมยกระถางธูปหลบหนีไปด้วย ทำให้เทพอพอลโลจำเป็นต้องรีบตามไปเพื่อหวังจะนำกระถางธูปกลับคืน 


     

    ทั้งสองได้ต่อสู้กันด้วยการเล่นมวยปล้ำ แต่ด้วยพละกำลังที่มากมายไม่แพ้กัน จึงต้องปล้ำกันอยู่และไม่อาจรู้แพ้รู้ชนะได้ ท่านซูสเห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้นาน เทพอพอลโลอาจจะเสียท่าพ่ายแพ้แก่มนุษย์ผู้นี้เข้าได้ และคงนำความขายหน้ามาให้แก่วงศ์เทพด้วยแน่ ว่าแล้วเทพซูสจึงเสด็จลงไปห้าม และขอให้เฮอร์คิวลิสช่วยคืนกระถางธูปใบนั้นแก่ท่านอพอลโล ทำให้เรื่องราวการต่อสู้ครั้งนี้ลงเอยได้ด้วยดี


     

    ในด้านความรักของเทพอพอลโล เมื่อครั้งที่พระองค์หลงรักนางซีบิล ก็ยังยืนกรานจะให้พรนางหนึ่งข้อแม้ว่าจะถูกปฏิเสธความรักก็ตาม ซีบิล ก็ขอให้นาง มีอายุยืนเท่ากับ จำนวนเมล็ดทรายที่นางกอบขึ้นมา แต่ว่านางลืมขอความสาวให้คงกระพันไปด้วย นางจึงแก่ หง่อม และ ตัวเล็ก ลงเรื่อยๆ ตามวันเวลาที่ล่วงเลย มันให้ความทุกข์ทรมานกับเธอมากกว่าความสุข จะตายก็ตายไม่ได้เพราะ พรศักดิ์สิทธิ์ นางจึงเบี่ยงเบนความสนใจไปทางการทำนายทายทัก ซึ่งการทำนาย ของนางแม่นยำเป็อย่างมาก ไม่มีคำทำนายไหนของนางที่ผิดพลาดเลย

     

    เทพอพอลโลและนางซีบิล


     

    อย่างไรก็ดีตำนานความรักที่ดังที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่วิ่งไล่นางไม้ดาฟเน่ ธิดาของพีเนอุส เทพเจ้าแห่งแม่น้ำ เรื่องมีอยู่ว่า อพอลโล ลงจากเขาโอลิมปุส ไปเดินเล่นในป่า ก็ไปพบนางไม้คนสวยที่ชื่อดาฟเน่เข้า อพอลโลหลงรักนางทันที และพยายามจะเข้าไปพูดคุยด้วย 


     

    แต่ดาฟเน่ก็รู้ชื่อเสียง ด้านความมากรักของอพอลโลดี จึงไม่ตกลงปลงใจกับเขา และยังพยายามจะรีบไปให้ไกลจากเทพหนุ่มเสียนี่ อพอลโลก็เริ่มจะหมดความอดทนเกี้ยวพาราสีเสียแล้ว เทพหนุ่มจะก็ใช้กำลังบังคับนางซะ 


     

    แต่ดาฟเน่ที่ระวังตัวอยู่แล้วก็รีบวิ่งหนี อพอลโลวิ่งไล่ตามดาฟเน่สุดฝีเท้า จนจะตามทันอยู่แล้ว แต่ดาฟเน่ได้ร้องขอให้บิดาของนางช่วยนางให้พ้นจากมือของอพอลโลไปตลอดทาง พีเนอุสจึงร่ายเวทย์ ไปยังร่างของบุตรสาว เท้าของนางแข็งทื่อดังถูกตรึงไว้กับพื้น เสื้อผ้าอาภรณ์ได้กลายเป็นเปลือกไม้ ห่อหุ้ม ร่างอันสันเทา ของนางพราย ใบไม้สีเขียวขจีก็แตกแขนง ออกจากร่างกายที่กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากสำหรับอพอลโล จนถึงขนาดที่เอากิ่งชัยพฤกษ์มาทำเป็นมงกุฎสวมศรีษะตลอดเวลา


     

     


     

    เทพอพอลโลและนางดาฟเน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×