ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือปีศาจและศาสตร์มืด

    ลำดับตอนที่ #12 : กุญแจย่อยของโซโลมอน-Lesser Key of Solomon

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.56K
      53
      24 ก.ย. 66




    กุญแจย่อยของโซโลมอน-Lesser Key of Solomon หรือ คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส-Clavicula Salomonis เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็นตำราเวทย์ซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดในปิศาจวิทยา รวมถึงยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอีกชื่อคือ เลเมเกทัน-Lemegeton



    โซโลมอนอัญเชิญปีศาจ โดย เจเซฟ เฮช. ปีเตอร์สัน (1999) 


    ประวัติ

    กุญแจย่อยของโซโลมอนปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่เนื้อหาภายในนั้นส่วนใหญ่เคยปรากฏในข้อเขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ของโยฮัน เวเยอร์ และตำราเวทย์ในยุคกลางเล่มอื่นๆ บางส่วนของเนื้อหาเช่นการเรียกปิศาจนั้นมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14

     

    ในหนังสืออ้างว่าประพันธ์โดยโซโลมอน แต่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าเป็นความเท็จเนื่องจากยศที่ใช้กับปิศาจ เช่น มาควิส หรือ เอิร์ล นั้นยังไม่ปรากฏในสมัยของโซโลมอน นอกจากนั้นยังมีคำสวดถึงพระเยซูและพระตรีเอกานุภาพปรากฏในหนังสือด้วย

     

    กุญแจย่อยของโซโลมอนมีรายละเอียดของภูตและการอัญเชิญเพื่อใช้งาน ซึ่งรายละเอียดนี้รวมถึงตราพิทักษ์และพิธีกรรมซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการควบคุมและป้องกันตัวจากภูต ในตำราที่พบเดิมนั้นรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในหลายๆฉบับ


    เนื้อหาในหนังสือ

     

         ใน Lesser Key of Solomon จะแบ่งเป็นทั้งหมด 5 บทนะครับ คือ

     

    1. Ars Goetia อาร์สโกเอเทีย

         บทแรก กล่าวถึง ปิศาจทั้ง 72 ตนที่โซโลมอนเคยเรียกขึ้นมาใช้งานโดยขังไว้ในภาชนะทองเหลืองที่ผนึกด้วยตราเวท อาร์สโกเอเทียบรรยายถึงการสร้างภาชนะแบบเดียวกันและใช้เวทมนตร์เรียกปิศาจ โดยระบุถึงยศของปิศาจแต่ละตนในนรกและดวงตราผนึกที่ใช้ควบคุม (ยศเรียงจาก King > Marquis > President > Duke > Prince > Count)



    2. Ars Theurgia Goetia อาร์สทิวร์เกียโกเอเทีย

    เป็นบทที่สอง อธิบายถึงชื่อ ลักษณะ และผนึกของภูตอากาศ 31 ตน (แต่ละตนมียศเป็น หัวหน้า, จักรพรรดิ, ราชา และ เจ้าชาย) ซึ่งโซโลมอนเคยเรียกและควบคุม วิธีการป้องกันตัวจากภูติ ชื่อของภูติรับใช้ พิธีอัญเชิญและใช้งาน ภูติเหล่านี้มีทั้งดีและเลว ภูติเหล่านี้สามารถใช้ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ เปิดเผยความลับของบุคคล และขนย้ายวัตถุใดๆได้ตราบที่ถูกควบคุมไว้ด้วยธาตุทั้งสี่ ภูติเหล่านี้ถูกระบุถึงด้วยลำดับที่ซับซ้อนในหนังสือ

     

    3. Ars Paulina อาร์สพอลลินา

         ศาสตร์แห่งพอลเป็นบทที่สาม ซึ่งในตำนานนั้นเป็นศาสตร์ที่นักบุญพอลเป็นผู้ค้นพบ แต่ในหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเป็น "ศาสตร์พอลไลน์ของโซโลมอน " แบ่งเป็นสองบทย่อย

     

              -โดยบทแรกอธิบายถึงเทวทูตในช่วงเวลาต่างๆของวันและคืน ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเรื่องผนึก พฤติกรรม ผู้รับใช้ (เรียกว่าดุ๊ค) ความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดที่รู้จักในขณะนั้น ตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสม รายชื่อ และวิธีการอัญเชิญเทวทูตเหล่านั้น

     

              -ส่วนบทย่อยที่สองกล่าวถึงเทวทูตผู้ปกครองจักรราศี ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ความสัมพันธ์กับธาตุทั้งสี่ ชื่อ และผนึก เทวทูตเหล่านี้เรียกว่าเทวทูตแห่งมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั้งมวลล้วนแต่เกิดภายใต้จักรราศีทั้งสิบสอง

     

    4. Ars Almadel อาร์สอัลมาเดล

         ศาสตร์แห่งอัลมาเดล เป็นบทที่สี่ ว่าด้วยการทำ อัลมาเดล ซึ่งเป็นแผ่นขี้ผึ้งที่มีตราพิทักษ์เขียนไว้และตั้งเทียนไขไว้สี่เล่ม บทนี้กล่าวถึงการเลือกสี วัสดุ และพิธีกรรมที่ใช้ในการทำอัลมาเดลและเทียนไข

         อาร์สอัลมาเดลยังกล่าวถึงเทวทูตที่จะเรียกมาพร้อมอธิบายวิธีอัญเชิญ ทั้งยังระบุว่าผู้อัญเชิญสามารถขอให้เทวทูตช่วยได้แต่สิ่งที่สมเหตุผลและ เป็นธรรมเท่านั้น บทนี้ยังระบุเรื่องผู้ปกครองทั้งสิบสองของเทวทูต นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดของวันและตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสมกับการอัญเชิญแต่ก็ไม่ยาวนัก

     

    5. Ars Notoria อาร์สนอทอเรีย

         ศาสตร์อันโดดเด่น เป็นบทที่ห้า เป็นตำราเวทย์ซึ่งรู้จักกันตั้งแต่สมัยกลาง หนังสือเล่มนี้อ้างว่าศาสตร์นี้พระเจ้าได้เผยให้แก่โซโลมอนผ่านเทวทูต บทนี้รวบรวมมนตร์ต่างๆผสมด้วยแคบบาลาห์และ เวทมนตร์ในภาษาต่างๆ วิธีการสวดมนต์เหล่านี้ และความสัมพันธ์ของพิธีกรรมเหล่านี้กับการเข้าใจศาสตร์ต่างๆ ในบทนี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กับผู้สวดมนต์และระบุว่ามนตร์ เหล่านี้เป็นการเรียกเทวทูต อาร์สนอทอเรียอ้างว่าเมื่อสวดมนต์เหล่านี้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจ ศาสตร์แขนงที่สัมพันธ์กันและยังทำให้จิตใจมั่นคง ความทรงจำดี

         ในบทนี้ยังกล่าวถึงการที่โซโลมอนได้รับวิวรณ์จากเทวทูตอีกด้วย


    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม


    - วิวรณ์-Revelation

     

    วิวรณ์ หมายถึง การที่สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยความจริงหรือความรู้สำคัญบางประการแก่มนุษย์

     

    หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร  ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า "ศรุติ" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า

     

    ในศาสนาอับราฮัม วิวรณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงและพระญาณสอดส่องของพระเจ้าต่อมนุษย์[4] ในพันธสัญญาใหม่มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "หนังสือวิวรณ์" เป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงวันสิ้นโลกและการพิพากษาครั้งสุดท้าย



    ยอห์นแห่งปัทมอสกำลังเขียนหนังสือวิวรณ์ตามที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า ภาพวาดโดยเฮียโรนิมัส บอส



     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×