ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน

    ลำดับตอนที่ #74 : เจนัส-Janus เทพเจ้าแห่งประตู

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.ย. 66




    เจนัส เทพแห่งการเริ่มต้น จุดจบ(ของความขัดแย้ง)และประตู เป็นเทพของชาวโรมัน ภาพลักษณ์ของเทพเจนัสมักปรากฏในลักษณะเทพที่มีสองใบหน้า หน้าหนึ่งสามารถมองเห็นอนาคต และอีกหน้าหนึ่งสามารถมองอดีตที่ผ่านมา ชื่อของท่านมีความหมายว่า 'ทางเข้าสู่ประตู'


    พระองค์เป็นบุตรแห่งเทพอพอลโล-เทพแห่งดวงอาทิตย์   เวลาทำศึกสงคราม (ซึ่งโรมันชอบทำศึกมากกว่ากรีก) จะบูชาเทพองค์นี้ก่อนจะออกรบ นอกจากนี้เทพองค์นี้เป็นเทพแห่งประตู (เป็นบานประตูซึ่งมีบานเดียวแต่สองฝั่ง) เพราะการจะก้าวออกจากประตูเมืองนั้นก็ถือเป็นเรื่องสำคัญของชาวโรมันเช่นกัน จึงได้รับการสักการะจากกองทัพทหารโรมันไม่แพ้เทพมาร์สเลย 


    มีการกล่าวกันว่าการบูชาเทพเจนัสมีมาตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนการสถาปนากรุงโรม ซึ่งถือได้ว่ามีความเก่าแก่มากๆ เมื่อจะมีการทำพิธีสักการะ เทพเจนัสมักจะเป็นเทพที่ถูกบูชาก่อนเทพองค์อื่นๆ โดยไม่ถือเรื่องยศศักดิ์เพราะถือว่าการบูชาเทพเจนัสก็เสมือนเป็นการเปิดประตูเพื่อเบิกทาง ในส่วนนี้เลออนฮาร์ด ชมิทซ์-Leonhard Schmitz ซึ่งเป็นนักวิชาการและนักเขียนแห่งปรัสเซีย อธิบายว่า เทพเจนัส เป็นเทพองค์สำคัญสูงสุดของวิหารแพนธีออน(เทวสถานสำหรับเทพต่างๆ ของโรมันโบราณ) และเมื่อจะมีการทำพิธีบูชามหาเทพอย่างจูปิเตอร์ก็จะต้องมีการบูชาเทพเจนัสควบคู่กันไปด้วย


    และถึงแม้พระองค์จะไม่มีภาคกรีกอย่างที่เทพเจ้าองค์อื่นๆ หลายองค์มี ( เช่น เทพจูปิเตอร์ของโรมันเทียบเท่ากับซุสของกรีก หรือ เทพีจูโนของโรมันที่ถ้าเทียบเป็นภาคกรีกแล้วก็คือเทพีเฮร่านั่นเอง) ทว่า ก็ได้มีการเชื่อมโยงท่านเข้ากับเทพคัลซันส์-Culsans ซึ่งเป็นเทพผู้พิทักษ์ประตูของชาวอิทรัสคัน-Etruscan เช่นกัน 


    นอกจากนี้ ในหนังสือกุญแจย่อยแห่งโซโลมอน-The Lesser Key of Solomon มีการเทียบเทพเจนัสว่าเท่ากับปีศาจไบฟรอนส์-Bifrons ซึ่งในส่วนนี้มีการสันนิษฐานว่าเป็นเพราะไบฟรอนส์เป็นปีศาจที่เกี่ยวข้องกับศพซึ่งเป็นจุดจบของมนุษย์จึงสามารถเชื่อมโยงกับเจนัสซึ่งเป็นเทพแห่งจุดจบเช่นกัน 



    รูปปั้นเทพเจนัสที่หอศิลป์คาเมรอน-Cameron Gallery เมืองซาร์สโคเย เซโล-Tsarskoye Selo ประเทศรัสเซีย ภาพโดย อิวอนน่า โนวิคก้า-Ivonna Nowicka

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×