ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน

    ลำดับตอนที่ #22 : แอตลาส-Atlas เทพไททัน

    • อัปเดตล่าสุด 19 เม.ย. 61






    จริงแล้วไททันไม่ได้มีแค่คณะเทพไททันเสียเมื่อไหร่ละ เอาละทีนี้ผมจะแถมประวัติและตำนานของเทพไททันองค์อื่นๆด้วยละกันครับ แอตลาส เป็นหนึ่งในเหล่าไททันที่ก่อกบฏในสงครามไททัน หลังจากที่พ่ายแพ้ต่อเหล่าเทพโอลิมเปียนแล้ว แอตลาสก็ถูกลงโทษให้เป็นผู้แบกท้องฟ้า (บางตำนานว่าเป็นโลก) ไว้บนบ่า เพื่อเป็นการไถ่บาป แอตลาสจึงเป็นผู้ช่วยให้เฮอร์คิวลิส สามารถทำภารกิจสำเร็จหนึ่งภารกิจ นั่นคือการไปนำแอปเปิลทองคำของเฮสเพริดีสมาให้กษัตริย์ เพราะแอตลาสเป็นบิดาของพวกเฮสเพริดีส และเป็นเพียงผู้เดียวที่จะสามารถไปนำแอปเปิลทองคำเหล่านั้นมาได้ เฮอร์คิวลีสได้อาสาแบกท้องฟ้า ไว้จนกว่าแอตลาสจะนำแอปเปิลมาได้



    แอตลาสและเฮเพริเดส ดยนักร้องซาร์เจนท์, จอห์น (1925)    


    เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชื่อของ แอตลาสอสูรผู้พ่ายแพ้ที่เก่าแก่ ได้เลือนหาย สาบสูญไปจากความทรงจำ ของอารยธรรมมนุษย์ แต่โชคดีที่มีนักปรัชญา นักคิดภูมิศาสตร์ชาวเบลเยียม นาม เกอราดุส เมอร์คาเทอร์-Gerardus Mercator ได้นำ ชื่อ” เทพผู้แบกสวรรค์ มาใส่ไว้บนหน้าปกหนังสือ   นับเป็นหนังสือ แผนที่โลก" ที่มีทันสมัย ก้าวหน้าในยุคศตวรรษที่ 16 เขาได้วางรูปเทพแอตลาส ที่กำลังแบกสวรรค์ (ลูกโลก) ไว้บนหน้าแรกเคียงคู่กับชื่อหนังสือ เพื่อเป็นการสดุดีและด้วยเหตุผลนี้ ชื่อของ แอตลาส” จึงได้กลายมาเป็นชื่อหนังสือ แผนที่โลก” เป็น แบบแผน” ที่ผู้คนในรุ่นหลังจะเรียกหนังสือประเภทนี้ว่า แอตลาส” สืบต่อมาจนถึงในทุกวันนี้ครับ !!! และด้วยอิทธิพลของหนังสือแผนที่โลก ที่มีที่มาจากเรื่องราวตำนานแห่งเทพผู้แบกสวรรค์ไว้บนบ่า นามของเทพ แอตลาส ก็ได้กลายมาเป็น  ชื่อ กระดูกสันหลังของมนุษย์ ตรงข้อต่อแรก ช่วงต่อระหว่างคอกับบ่าของมนุษย์ ในวงการแพทย์อีกด้วย



    เกอราดุส เมอร์คาเทอร์


    ส่วนรูปลักษณ์งานศิลปกรรมในยุคคลาสลิค เฮเลนิสติค”  (Hellenistic)  ก็มักจะนิยมสร้างเป็นรูปบุคคลเสมือนจริงทำท่าแบก โลกกลม” ที่แทนความหมายถึง สรวงสวรรค์” และในยุคกลางของยุโรป รูป ลูกโลก” บางแห่งก็จะเปลี่ยนไปเป็น รูป เสาค้ำโลกา” แทนลูกกลม ซึ่งทั้งหลายก็ล้วนแต่ แทนความหมายของ แอตลาส” อสูรไททันผู้พ่ายแพ้ ...ทั้งสิ้น !!!


    ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก:http://www.cmxseed.com/cmxseedforumn/index.php?topic=61252.0

     




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×